ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: เจษฎา จงไพบูลย์พัฒนะ, ปัปปณ สัมปทณรักษ์, เมธินี ก้อนแก้ว, ดวงตา ยอแสงรัตน์, อิงอร ตราหยก, เรืองสิทธิ์ เนตรนวลใย

ชื่อเรื่อง/Title: ประโยชน์ทีได้ในการรักษาเชิงป้องกันสำหรับผู้ป่วยถอนพิษแอลกอฮอล์.

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 148.

รายละเอียด / Details:

ประชาชนมักได้รับทราบข่าวอยู่บ่อยครั้งในเรื่องเกี่ยวกับผู้ป่วยแสพสุรา มีอาการประสาทหลอน หลงผิดแล้วกระโดดตึกตาย ทำร้ายผู้อื่น ทำร้ายตนเอง ทั้งในเคหะสถานและสถานพยาบาลต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยได้ ทั้งที่ระมัดระวังอย่างมากแล้วก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าวก็อาจเกิดขึ้นได้ โดยตัวผู้รักษาเองที่รักษาโรคทางกายของผู้ป่วยมักไม่ทราบ หรือไม่ได้ใส่ใจในปัญหาการติดสุราหรือแอลกอฮอล์ของผู้ป่วย ทำให้ไม่รู้ล่วงหน้าถึงภาวะเพ้อคลั่งของคนไข้ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะหลังจากหยุดสุรามา 2-3 วันขึ้นไป ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ต้องระมัดระวังที่สุด ในการรักษาผู้ป่วยเสพติดแอลกอฮอล์เรื้อรังล่วงหน้า จะช่วยป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ดีแค่ไหน เป็นเรื่องที่ผู้ศึกษาได้ปฏิบัติงานมาอย่างต่อเนื่อง และได้นำข้อมูลมานำเสนอในการประชุมวิชาการครั้งนี้ ปัญหาภาวะเพ้อคลั่งจากการติดสุราและมีอาการถอนพิษสุราจนเกิดอาการชัก สับสน ประสาทหลอน หูแว่ว หลงผิด หรือบางครั้งมีภาวะสมองเสื่อมร่วมด้วย เป็นปัญหาที่สำคัญของจิตเวชฉุกเฉิน ทั้งยังจะซับซ้อนกว่านี้ได้อีก หากมีภาวะความเจ็บป่วยหรือผิดปกติทางร่างกาย ประวัติเคยเสพสารเสพติดอื่น หรือภาวะป่วยแทรกซ้อนขณะที่อยู่ในโรงพยาบาล ทำให้ยากต่อการจัดการแก้ไขปัญหาอาการสับสนผู้ป่วยเหล่านี้ การมองการแก้ไขปัญหาในเชิงป้องกัน โดยการให้การรักษาล่วงหน้า จะเป็นประโยชน์กับคนไข้ได้หรือไม่ การรักษาอาการต่างๆ โดยการให้ยาชนิดใดที่เหมาะสม มีแนวคิดหรือวิธีรักษาใหม่ๆ ใดๆ หรือไม่ ที่สามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ข้อควรระวังและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการรักษามีอะไรบ้าง ประสิทธิภาพและพยากรณ์โรคเป็นอย่างไร กรณีศึกษารวบรวมข้อมูลผู้ป่วยในที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลในปี 2547-2549 ที่มีภาวะเสพติดสุราร่วมด้วย โดยศึกษาเกี่ยวกับอาการต่างๆ ที่นำมา ภาวะการป่วยทางกายที่มีร่วมด้วย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษา (อดีต ปัจจุบัน อนาคต) วันที่ให้การรักษาหลังหยุดสุราหรือ admit การให้ยารักษาภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ประสิทธิภาพ และพยากรณ์โรค

Keywords: แอลกอฮอล์, ประสาทหลอน, การติดสุรา, สมองเสื่อม, สารเสพติด, ยาเสพติด, ถอนพิษยา, ติดสุราเรื้องรัง, อาการถอนพิษสุรา, หูแว่ว, ประสาทหลอน, จิตเวชฉุกเฉิน,

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: กลุ่มงานจิตเวชโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

Code: 200600067

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -