ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ภาวินี ธนบดีธรรมจารี, สุภาวดี บุญชูและทีมตึกเฟื่องฟ้า.

ชื่อเรื่อง/Title: การพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยเหลือคนไข้ในการสังเกตเห็นและรายงานอาการข้างเคียงของยาในผู้ป่วยจิตเวช ตึกเฟื่องฟ้า.

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 182.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล จากการเยี่ยมสำรวจของสถาบัน พรพ. ทางตึกได้มีการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรม ป้ายชื่อผู้ป่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเขียนอักษรย่อชื่อยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drug : HAD) ลงในป้ายชื่อของผู้ป่วยที่ได้รับยาตัวนั้น ประกอบกับผู้ช่วยเหลือคนไข้ขาดความรู้และทักษะเบื้องต้นในการสังเกตประเมินอาการข้างเคียงของยา และยาจิตเวชบางตัวเป็นยาที่มีความเสี่ยงสูงพบฤทธิ์ข้างเคียงได้บ่อย อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงงถึงกับชีวิตได้ ทีมตึกเฟื่องฟ้า ตระหนักเห็นความสำคัญจึงได้ต่อยอดกิจกรรมโดยจัดทำโครงการ เรื่อง "การพัฒนาสมรรถนะ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ (ผชล) ในการสังเกตเห็นและรายงานอาการข้างเคียงของยาในผู้ป่วยจิตเวช" เป็นการสื่อสารให้ทีมตึกเฟื่องฟ้าและทีมสหวิชาชีพได้ทราบว่าผู้ป่วยได้รับยา HAD เพื่อป้องกันอันตรายในระยะเริ่มแรก (Early Detection) ช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทกรซ้อนจากยา จำนวนวันนอนที่อยู่โรงพยาบาลลดลงและประหยัดค่าใช้จ่าย วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้ช่วยเหลือคนไข้ (ผชล) ในการสังเกตและรายงานอาการข้างเคียงจากยา HAD ในผู้ป่วยจิตเวช ขอบเขตการวิจัย ผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับยา HAD ในตึกเฟื่องฟ้า สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ระเบียบวิธีวิจัย เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ช่วยเหลือคนไข้ จำนวน 12 คน และผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับยา HAD (Carbamazepine, Clozapine, CPZ, Halop‹ Lico3 และ Perphenazine) จำนวน 352 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับอาการข้างเคียงจากยา HAD และแบบบันทึกการสังเกตเห็นและรายงานอาการข้างเคียงจากยาของ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ (ผชล) เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 ถึงเดือนพฤษภาคม 2549 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ความถี่ ร้อยละและ wilcoxon Signed Ranks Test สรุปผลการวิจัย ระดับความรู้ของผู้ช่วยเหลือคนไข้ (ผชล) หลังได้รับการอบรม มีค่าเฉลี่ยของคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.002) จากจำนวนผูป่วยเฉลี่ยที่ได้รับยา HAD 58.7 คนต่อเดือน จำนวนผู้ป่วยเกิดอาการข้างเคียงจากยา 448 ราย จำนวนผู้ป่วยที่ผู้ช่วยเหลือคนไข้ (ผชล) สามารถสังเกตเห็นและรายงานอาการข้างเคียงจากยา 358 ราย คิดเป็นร้อยละ 79.9 เป็นผลให้ผู้ช่วยเหลือคนไข้ (ผชล) สามารถให้การดูแลช่วยเหลือและให้คำแนะนำเมื่อพบผู้ป่วยเกิดอาการข้างเคียงจากยาในเบื้องต้น ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงที ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนของยา HAD ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและใช้ระยะเวลาอยู่โรงพยาบาลสั้นลง ข้อเสนอแนะ ได้วางแผนต่อยอดยาจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงให้ครอบคลุมทั้งหมด เพื่อเป็นการพัฒนา Specific Competency ที่จำเป็นแก่ผู้ช่วยเหลือคนไข้ (ผชล) ในหน่วยงาน ช่วยให้สามารถประเมินให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงทีจากภาวะแทรกซ้อนของยา อีกทั้งเป็นการเฝ้าระวังความเสี่ยงทางคลินิกเชิงรุกในโรงพยาบาลจิตเวชให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Keywords: ผู้ป่วยจิตเวช, อาการข้างเคียงจากยาจิตเวช, ยารักษาโรคจิต, ยาต้านโรคจิต, ตึกเฟื้องฟ้า, ระบบคุณภาพ, บริการจิตเวช, บุคลากรจิตเวช, HAD, การพัฒนาสมรรถนะ, ทักษะ, ความรู้, ผู้ช่วยเหลือคนไข้, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

Code: 200600088

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -