ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุดารัตน์ พรหมกัณฑ์ และคณะ.

ชื่อเรื่อง/Title: การเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์เด็ก 9-11 ปี โดยใช้กิจกรรมการเล่น.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6, เรื่อง สุขภาพจิต : ชีวิตชาวเมือง วันที่ 1-3 สิงหาคม 2550 ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร หน้า 97.

รายละเอียด / Details:

บทนำและวัตถุประสงค์ ความฉลาดทางอารมณ์มีด้วยกัน 3 ด้าน คือ ด้านดี เก่งและสุข โดยเฉพาะเด็กที่ติดเกมมีความฉลาดทางอารมณ์ไม่เหมาะสมกับวัยหากไม่ได้รับการส่งเสริมจากบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือครู ก็จะส่งผลให้เด็กมีการปรับตัวที่ไม่เหมาะสมกับวัย จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กที่มีความฉลาดทางอารมณ์ไม่เหมาะสมกับวัย เพื่อให้เด็กมีความฉลาดทางอารมณ์ที่เหมาะสมกับวัย วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมการเล่นในการเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กอายุ 9-11 ปี วิธีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กติดเกมที่มีอายุ 9-11 ปี จากโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินโครงการ คือ แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็กอายุ 6-11 ปี สำหรับครูของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินโครงการ 22 มิถุนายน 2548-10 สิงหาคม 2548 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ยร้อยละ และเปรียบเทียบค่าคะแนนรวมก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ ผลการศึกษาพบว่า 1. เด็กที่เข้าร่วมโครงการเป็นเพศชายคิดเป็นร้อยละ 76.29 เพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 23.08 อายุ 0-10 คิดเป็นร้อยละ 96.15 อายุ 11-20 ปี คิดเป็นร้อยละ 3.85 2. เด็กเพศชายมีคะแนนรวมเพิ่มขึ้นจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 42.31 เด็กเพศหญิงมีคะแนนรวมเพิ่มขึ้นจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 15.38 3. เด็กที่ร่วมโครงการจำนวน 26 คน มีพัฒนาการด้านความฉลาดทางอารมณ์เพิ่มขึ้น จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 57.69 4. เด็กมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านดี เก่งและด้านสุข ในด้านสุขเรื่องการพอใจในตนเองคิดเป็นร้อยละ 57.69 ด้านเก่งในเรื่อง การกล้าแสดงออกคิดเป็นร้อยละ 50 และด้านดีในเรื่องยอมรับถูกผิดคิดเป็นร้อยละ 50 5. ก่อนเข้าร่วมโครงการมีเด็กที่มีคะแนนรวมต่ำกว่า 40 คะแนน จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 46.15 หลังร่วมโครงการพบว่ามีจำนวนลดลงเหลือ 6 คน คิดเป็นร้อยละ 23.07 6. เด็กมีระดับความพึงพอใจในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งในเรื่อง หนูรู้สึกสบายใจเมื่อได้ฝึกกิจกรรมนี้ คิดเป็นร้อยละ 92.31. สรุปผลและข้อเสนอแนะ เด็กที่มีความฉลาดทางอารมณ์ไม่เหมาะสมกับวัยเมื่อได้รับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ โดยการใช้กิจกรรมการเล่นทำให้เด็กมีความฉลาดทางอารมณ์เพิ่มขึ้นทั้งในด้านดี เก่ง และสุข เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการด้านความฉลาดทางอารมณ์ที่เหมาะสมกับวัยควรส่งเสริมให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการเล่นแทนการเล่นเกมคอมพิวเตอร์

Keywords: ความฉลาดทางอารมณ์, เด็กติดเกมส์, กิจกรรมการเล่น, เด็ก, สุขภาพจิตเด็ก, พัฒนาการเด็ก

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น.

Code: 2007000101

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6

Download: