ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุชาดา หุณฑสาร.

ชื่อเรื่อง/Title: ผลการดูแลผู้ป่วยจิตเภทด้วยระบบเครือข่ายฯ ในกรุงเทพมหานคร ปี 2548-2549.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6, เรื่อง สุขภาพจิต : ชีวิตชาวเมือง วันที่ 1-3 สิงหาคม 2550 ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร หน้า 59.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล ผู้ป่วยส่วนใหญ่ของสถาบันจิตเวชศาสตร์ สมเด็จเจ้าพระยาเป็นผู้ป่วยจิตเภทซึ่งเป็นโรคที่เรื้อรังจึงต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการกำเริบของโรค ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลและปัญหาทางทัศนคติของชุมชนได้ ดังนั้นการตรึงผู้ป่วยให้ใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนนานที่สุดโดยมีอาการสงบ มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นภาระต่อผู้ดูแลน้อยที่สุดจึงเป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยจิตเภทดังกล่าว โดยผ่านทางระบบเครือข่ายฯ ในที่นี้คือพยาบาลเยี่ยมบ้านของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพในด้านความรู้และทักษะการดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการดูแลผู้ป่วยจิตเภทด้วยระบบเครือข่ายฯ วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาผู้ป่วยจิตเภทที่จำหน่ายออกจากสถาบันจิตเวชศาสตร์ สมเด็จเจ้าพระยาตั้งแต่ พ.ศ. 2546-2550 อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นกลุ่มผู้ป่วย First episode schizophrenia Readmit ภายใน 28 วัน และกลุ่มที่ Readmit ตั้งแต่ 3 ครั้ง/ปีขึ้นไป จำนวน 106 คน โดยสถาบันฯ จะส่งข้อมูลผู้ป่วยให้แก่ศูนย์บริการสาธารณสุข และนับวันเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านร่วมกัน โดยจะทำ Pre และ Post conference ทุกราย เมื่อผู้ป่วยไม่มีอาการยุ่งยากซับซ้อนสถาบันฯ จะส่งต่อผู้ป่วยให้ศูนย์บริการสาธารณสุขดูแลหลังจากนั้นสถาบันฯ จะติดตามข้อมูลทุก 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบวัดระดับความรุนแรงของอาการโรคจิต แบบวัดความรู้สึกเป็นภาระของญาติและแบบวัดคุณภาพชีวิต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS. และใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยไม่ Readmit 70 คน (คิดเป็น 66.04%) ในกลุ่มที่ Re-admit ภายใน 3 เดือน มีวันเฉลี่ยของการอยู่บ้านได้ก่อนเข้าสู่ระบบเครือข่ายฯ 74.33 วัน และหลังเข้าสู่ระบบเครือข่ายฯ 149.83 วัน พบว่าอยู่บ้านได้นานขึ้นเท่าตัว โดยมีคะแนนระดับความรุนแรงของอาการอยู่ในระดับปกติ (‹36) มีค่าเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง (>60) และมีค่าเฉลี่ยของความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลของญาติอยู่ในระดับปานกลาง(<60) ข้อเสนอแนะ 1.) ควรมีการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลในระยะยาวต่อไป เกี่ยวกับความแตกต่างและความคล้ายคลึงของกลุ่มผู้ป่วยจิตเภททั้ง 3 กลุ่ม 2.) ควรมีการศึกษาต่อถึงขอบเขตความสามารถของพยาบาลเยี่ยมบ้านของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยจิตเภทให้มากขึ้น

Keywords: ผู้ป่วยจิตเภท, คุณภาพชีวิต, ทัศนคติ, ทักษะการดูแลผู้ป่วย, ระบบเครือข่าย, กรุงเทพ, ชุมชน, จิตเวชชุมชน, เยี่ยมบ้าน, ผู้ป่วยโรคจิต, จิตเวช

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา.

Code: 2007000122

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6

Download: