ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: วรางรัตน์ ทะมังกลาง, ณัฐิกา ราชบุตร, กาญจน์กนก สุรินทร์ชมพู และคณะ.

ชื่อเรื่อง/Title: การรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6, เรื่อง สุขภาพจิต : ชีวิตชาวเมือง วันที่ 1-3 สิงหาคม 2550 ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร หน้า 121.

รายละเอียด / Details:

ความสำคัญ ความสามารถของพยาบาลวิชาชีพมีหลายด้านและมีปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหลายประการ การศึกษาถึงการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ เป็นเรื่องจำเป็นเพื่อจะได้ทราบว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและส่งผลให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น วัตถุประสงค์ ศึกษาการรับรู้ความสามารถและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ วิธีการศึกษา การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 81 คน ในโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ใช้แบบสอบถามแรงจูงใจ และการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไช-สแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา การรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ เพื่อนร่วมงานของพยาบาลวิชาชีพ และผู้บังคับบัญชาระดับผู้บริหารและพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ ประเมินตรงกันว่า พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน มีระดับการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานด้านบริหาร บริการ วิชาการ และด้านวิจัย อยู่ในระดับสูง แต่พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาล คือ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ส่วนปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (V=0‹3,P-Value 0.01) สรุปผลการศึกษา พบว่า จากการประเมินของพยาบาลวิชาชีพ เพื่อนร่วมงาน และผู้บังคับบัญชาระดับผู้บริหาร พบว่าส่วนใหญ่มีความสามารถในการปฏิบัติงานในระดับสูงทุกด้าน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ข้อเสนอแนะ พบว่าแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความสามารถ ดังนั้น ผู้บริหารควรมีนโยบายที่จะสร้างแรงจูงใจในการทำงานที่ชัดเจน และควรส่งเสริมให้มีการทำงานเป็นทีม และให้มีโอกาสในการพัฒนาตนเอง

Keywords: พยาบาลวิชาชีพ, แรงจูงใจ, ความสัมพันธ์, ปฏิ่บัติการพยาบาล, การรับรู้

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์.

Code: 2007000141

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6

Download: