ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: เยาวลักษณ์ พนิตอังกูร.

ชื่อเรื่อง/Title: การประยุกต์การจัดการความรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยจิตเวช.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6, เรื่องสุขภาพจิต : ชีวิตชาวเมือง วันที่ 1-3 สิงหาคม 2550 ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร หน้า 142.

รายละเอียด / Details:

ความสำคัญ จากการประเมินตนเองของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ พบว่ามีโอกาสพัฒนาด้านความเสี่ยงทางคลินิก โดยศึกษาจากตัวชี้วัดที่สำคัญหลายตัว เช่น การจัดการกับผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง การป้องกันผู้ป่วยหลบหนี จึงได้ใช้กระบวนการจัดการความรู้ตามรูปแบบแนวคิดของ Thai-UNAids Model (TUNA Model) มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยจิตเวช วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยจิตเวช โดยการประยุกต์ใช้การจัดการความรู้ วิธีการศึกษา 1.คัดเลือกประเด็นที่ต้องการจัดการความรู้ โดยการเลือกตัวชี้วัดที่เป็นปัญหาเร่งด่วนที่สุด 2.ดำเนินการตั้งชุมชนนักปฏิบัติ สกัดขุมความรู้ จัดหมวดหมู่เป็นแก่นความรู้โดยผ่านความเห็นชอบของผู้วิพากษ์ และจัดทำรูปเล่มแจกจ่ายกลับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปฏิบัติ 3.ติดตามผลการนำความรู้ไปใช้ ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม และติดตามตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา ด้านปริมาณ มีชุมชนนักปฏิบัติทั้งสิ้น 5 ชุมชน คู่มือความรู้การดูแลผู้ป่วย จำนวน 5 เรื่อง ผู้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้ 162 ราย และมีการนำความรู้ไปปฏิบัติในหอผู้ป่วยโดยเฉลี่ยร้อยละ 65 สำหรับผลตัวชี้วัดของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้ป่วยในที่เป็นปัญหานั้นมีแนวโน้มดีขึ้น เช่นอัตราผู้ป่วยจิตเวชหลบหนีลดลงจากร้อยละ 0.1 เป็นร้อยละ 0.07 และอัตราผู้ป่วยมีพฤติกรรมรุนแรงทำร้ายผู้อื่นลดลงจาก ร้อยละ 1.44 เป็นร้อยละ 0.72 และบุคลากรมีความพึงพอใจในความรู้ที่ได้รับ ร้อยละ 87 ด้านคุณภาพ พบว่าบุคลากรมีความรู้เรื่องพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยจิตเวช และการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาคุณภาพมากขึ้น มีทัศนคติที่ดีต่อกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพ และเกิดแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย สรุปผลการศึกษา การจัดการความรู้สามารถเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการประยุกต์ใช้กับการพัฒนางานคุณภาพเพื่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ ทัศนคติที่ดีต่อการดูแลผู้ป่วย และการพัฒนาคุณภาพ ตลอดจนมีแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยซึ่งได้จากประสบการณ์การปฏิบัติจริง ข้อเสนอแนะ ความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยมาจากหลายปัจจัย แต่การจัดการความรู้เป็นเครื่องมืออีกตัวหนึ่งที่ทรงพลัง จึงควรขยายผลการนำวิธีการจัดการความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการ พัฒนางานคุณภาพการดูแลผู้ป่วยในเรื่องอื่นๆ และทีมพัฒนาคุณภาพต่างๆ ตลอดจนขยายเป็นกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist) หรือเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking)ต่อไปด้วย

Keywords: การพัฒนาคุณภาพผู้ป่วย, พฤติกรรมก้าวร้าว, ความรุนแรง, หลบหนี, ผู้ป่วยจิตเวช, การจัดการความรู้, ความเสี่ยง, TUNA Model

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: โรงพยาบาลสวนสราญรมย์

Code: 2007000160

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6

Download: