ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: จิดารัตน์ พิมพ์ดีด, เยาวภาท ไตรพฤกษชาติ, สาคร บุบผาเฮ้า และคณะ.

ชื่อเรื่อง/Title: ผลของการฝึกทักษะการสื่อสารต่อพฤติกรรมการสื่อสารของผู้ป่วยจิตเภทชายโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6, เรื่องสุขภาพจิต : ชีวิตชาวเมือง วันที่ 1-3 สิงหาคม 2550 ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร หน้า 177.

รายละเอียด / Details:

ความสำคัญ โรคจิตเภทเป็นโรคที่มีความผิดปกติของความคิด การรับรู้ อารมณ์ และพฤติกรรมต่างๆ เป็นโรคเรื้อรังอันส่งผลต่อความบกพร่องในการดูแลตนเอง การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง แยกตัวเองจากสังคม หากขาดการฟื้นฟูสมรรถภาพในด้านที่ผู้ป่วยมีความเสื่อมถอยและบกพร่อง ยิ่งทำให้ผู้ป่วยเป็นภาระแก่ครอบครัว จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยีด้านการฝึกทักษะการสื่อสาร เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในครอบครัวและชุมชนได้ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกทักษะการสื่อสารต่อพฤติกรรมการสื่อสารของผู้ป่วยจิตเภท วิธีการศึกษา การวิจัยกึ่งทดลอง มีกลุ่มทดลองและควบคุมกลุ่มละ 11 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการประเมินโดยใช้แบบประเมินเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคมสำหรับผู้ป่วยจิตเวชในด้านทักษะการสื่อสารและแพทย์ให้การวินิจฉัยเป็นโรคจิตเภท มีอายุ ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป มีอาการทางจิตสงบ สุ่มตัวอย่างแบบง่าย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภทชาย เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2549-ธันวาคม 2549 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้ มีการแจกแจงความถี่ ร้อยละ Mann-whitney U test และ Wilcoxon Matched pair Signed rank test ผลการศึกษา พบว่า 1) ค่ามัธยฐานของคะแนนทักษะการสื่อสารก่อนการทดลองของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ค่ามัธยฐานของคะแนนทักษะการสื่อสารและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ค่ามัธยฐานคะแนนทักษะการสื่อสารก่อนและหลังทดลอง ในกลุ่มทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนค่ามัธยฐาน คะแนนทักษะการสื่อสารก่อนและหลังทดลองในกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการศึกษา ผู้ป่วยจิตเภทชายที่มีความบกพร่องในด้านทักษะการสื่อสาร เมื่อได้รับการฝึกทักษะด้านนี้มีพฤติกรรมการสื่อสารดีขึ้น ข้อเสนอแนะ เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยจิตเภท มีความเสื่อมถอยไปมากกว่านี้ เนื่องจากโรคจิตเภทเป็นโรคเรื้อรัง จึงมีความจำเป็นที่บุคลากรสาธารณสุข ควรแนะนำญาติให้กระตุ้นผู้ป่วยในทักษะนี้อย่างต่อเนื่อง เมื่อผู้ป่วยกลับสู่ชุมชน

Keywords: การสื่อสาร, พฤติกรรมการสื่อสาร, ผู้ป่วยจิตเภท, ทักษะการสื่อสาร, โรคจิตเภท, โรคจิตเวช, สื่อสาร, จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์.

Code: 2007000165

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6

Download: