ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ประเสริฐ ไพบูลย์รุ่งโรจน์.

ชื่อเรื่อง/Title: การดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6, เรื่องสุขภาพจิต : ชีวิตชาวเมือง วันที่ 1-3 สิงหาคม 2550 ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร หน้า 183.

รายละเอียด / Details:

ความสำคัญ จากการศึกษาทัศนคติของพยาบาลในโรงพยาบาลจิตเวชภาคใต้ต่อการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช โดยใช้แบบสอบถามทัศนคติของพยาบาล ที่สร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม พบว่าทัศนคติโดยรวมต่อการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในทางบวก (X=3.60, S.D.=0.35) ทั้งด้านการปฏิบัติตามหลักศาสนาและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา (X=3.79, S.D.=0.44) ด้านการใช้ยาแผนโบราณ (X=3.57, S.D.=0.39) และด้านพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อที่ผิดธรรมชาติ หรืออำนาจเหนือธรรมชาติ (X=3.44, S.D.=0.41) จึงได้จัดทำวิธีการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่หอผู้ป่วยที่มีความเจ็บป่วยทั้งด้านทางกายและจิต โดยวิธีการทางภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการผสมผสานการปฏิบัติการพยาบาลให้เข้ากับรูปแบบการดูแลตนเองตามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์ เพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วยที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับวัฒนธรรม ความเชื่อของผู้รับบริการ วิธีการศึกษา โดยการนำวิธีการทางภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปฏิบัติ ได้แก่ การสวดมนต์ไหว้พระ การไปทำบุญที่วัด การให้ฟังเทปเพลงหรือทำนองการสวดของพระ การทำกลุ่มนั่งสมาธิ การใช้น้ำมะขามเป็นยาระบายในผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย การใช้กระเทียมทาแก้เชื้อราที่เกิดขึ้นตามร่างกาย การใช้กลิ่น ของใบเตยมาบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่นขึ้น และการจัดสถานที่ในการประกอบพิธีต่างๆ ตามความเชื่อและการให้ความรู้ทางภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช โดยการใช้ขบวนการกลุ่มเกี่ยวกับการรักษาทางแพทย์แผนปัจจุบันและแผนโบราณ ผลการศึกษา ประเมินจากแบบสอบถามพบว่าผู้ป่วยมีความพึงพอใจ รู้สึกสบายใจมากขึ้น และมีความรู้เพิ่มขึ้น 80% ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการเจ็บป่วยทางจิตใจและทางกายลดลง สรุปผลการศึกษา การสนับสนุนให้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงพยาบาลและมีแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องและชัดเจน จะทำให้พยาบาลยอมรับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยและญาติ สามารถผสมผสานการปฏิบัติการพยาบาลให้เข้ากับรูปแบบการดูแลตนเองตามวัฒนธรรมได้อย่างสอดคล้องกับวัฒนธรรม อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยและญาติยอมรับการรักษาและสามารถดูแลตนเองได้ ข้อเสนอแนะ การนำวิธีการทางภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ควรมีการศึกษาองค์ความรู้ หรือมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์แล้ว เพื่อป้องกันผลเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ หรือผลการดูแลอาจขัดกับการรักษาแผนปัจจุบันได้

Keywords: ผู้ป่วยจิตเวช, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ความเชื่อ, วัฒนธรรม, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, ปฏิบัติการพยาบาล, การพยาบาลจิตเวช, พฤติกรรม

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: โรงพยาบาลสวนสราญรมย์.

Code: 2007000171

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6

Download: