ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ผ่อง อนันตริยเวช.

ชื่อเรื่อง/Title: ชุมชนจำลอง : เส้นทางสู่ชีวิตใหม่ของผู้ป่วยจิตเวช.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6, เรื่องสุขภาพจิต : ชีวิตชาวเมือง วันที่ 1-3 สิงหาคม 2550 ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร หน้า 188.189.

รายละเอียด / Details:

จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยจิตเวชส่วนใหญ่ได้รับการบำบัดรักษาจนมีอาการทางจิตทุเลา กลับไปอยู่บ้านได้ในช่วงระยะเวลาสั้นก็จะเกิอาการทางจิตกำเริบต้องกลับมารักษาอยู่บ่อยครั้ง สาเหตุเนื่องมาจากขณะรับการบำบัดรักษาอยู่ในโรงพยาบาลผู้ป่วยจะอยู่ในความดูแลของทีมสุขภาพ ตลอด 24 ชั่วโมง ทีมสุขภาพจะกำหนดและควบคุมให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่างๆ แต่เมื่อผู้ป่วยกลับไปอยู่บ้านญาติไม่ให้ความสนใจและไม่มีเวลาดูแลกำกับ อันเป็นผลให้ผู้ป่วยไม่ยอมทำกิจกรรมต่างๆ และรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการชุมชนจำลองโดยพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพ แบบกลุ่มบ้าน (group home) ร่วมกับทฤษฎี A model of human occupation ให้มีการดำรงชีวิตอย่างอิสระตามหลัก Normalization เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเข้มแข็ง และมีความพร้อมที่จะออกไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคม และประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ในชุมชน วิธีดำเนินงาน 1) รับผู้ป่วยจิตเวชชาย ระดับ 3-4 (ระดับ 3 ผู้ที่ช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ระดับ 4 ผู้ที่ช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ สามารถรับจ้างทำงานได้) 2) ให้การฟื้นฟูสมรรถภาพทั้ง 4 ด้าน โดยการฝึกทักษะจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต 6 ทักษะ 3) ประเมินระดับความสามารถและทักษะที่บกพร่อง 4) นำผู้ป่วยเข้าโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพ 5) ประเมินความพร้อมเพื่อออกสู่ชุมชน 6) จำหน่ายผู้ป่วยออกสู่ชุมชน ผลการศึกษา 1) ผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้าร่วมโครงการ 117 คน 2) ผู้ป่วยที่ได้รับการปรับระดับความสามารถ จากระดับ 3 เป็น 4 = 146 ราย 3) ผู้ป่วยที่ได้รับการปรับระดับความสามารถ จากระดับ 4 เป็น 5 = 108 ราย 4) ผู้ป่วยที่ได้รับการจ้างงานในโรงพยาบาล 11 คน 5) ผู้ป่วยที่ได้รับการจ้างงานนอกโรงพยาบาล 22 คน 6) ผู้ป่วยที่จำหน่ายกลับชุมชนเดิม (กลับบ้าน) 63 คน 7) ผู้ป่วยที่จำหน่ายในชุมชนเครือข่าย (วัด, สถานประกอบการ) 30 คน จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการจ้างงานในสถานประกอบการที่สามารถทำงานเลี้ยงตนเองได้ในชุมชนมี 6 คน (เส้นทางสู่ชีวิตใหม่) บทสรุปการเรียนรู้ ผู้ป่วยที่ได้รับการฝึกทักษะโดยใช้รูปแบบชุมชนจำลองทำให้ระดับความสามารถดีขึ้น มีการพัฒนาคุณภาพชีวิต ไดรับโอกาส การยอมรับจากสังคมมากขึ้น สามารถพึ่งพาและประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ตลอดจนปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นในชุมชนได้ และที่สำคัญมีแบบแผนสุขภาพที่อยู่ในระดับปกติ วิธีการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยจิตเวชใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างยั่งยืนไม่ป่วยซ้ำ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องตระหนัก เมื่อผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นผลสำเร็จของโครงการ อาจมีผลกระทบบ้างในเรื่องการอยู่อย่างอิสระ ขาดที่ปรึกษา จะมีโอกาสเสี่ยงในการถูกชักจูงให้มีพฤติกรรมในทางที่ไม่ดี จากสิ่งแวดล้อม เช่น ดื่มสุรา เสพสารเสพติด คบเพื่อนต่างเพศ และมีครอบครัวทั้งที่ยังไม่พร้อม ซึ่งคณะทำงานมีแผนการที่จะให้การดูแลช่วยเหลือต่อเนื่องต่อไป

Keywords: การฟื้นฟูสมรรถภาพ, ชุมชนจำลอง, ผู้ป่วยจิตเวช, อาชีพ, การดำเนินชีวิต, พฤติกรรม, กลุ่มบ้าน, การฟื้นฟูสมรรถภาพ, ทักษะชีวิต, group home

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: โรงพยาบาลศรีธัญญา.

Code: 2007000175

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6

Download: