ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: อัญชุลี เตมียะประดิษฐ์, กันตวรรณ มากวิจิต.

ชื่อเรื่อง/Title: สารเสพติดกับภาวะซึมเศร้า.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6, เรื่องสุขภาพจิต : ชีวิตชาวเมือง วันที่ 1-3 สิงหาคม 2550 ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร หน้า 197.

รายละเอียด / Details:

ภาวะซึมเศร้า เครียดวิตกกังวลเพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศไทย ภาวะซึมเศร้าจะเป็นปัญหาที่มี Dalys สูงเป็นอันดับ 2 ของโลกในปี ค.ศ. 2020 comorbidity ของการใช้สารเสพติดและโรคทางจิตเวช ได้รับความสนใจในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยจิตเวชมักใช้สารเสพติดด้วยตนเองโดยเหตุผลเพื่อลดความเครียด กังวล แสวงหาความสุขสบายใจ รพ.จิตเวชสงขลาราชนครินทร์ เป็นหน่วยงานของกรมสุขภาพจิตที่ดูแลจิตใจของประชาชนภาคใต้ตอนล่างดำเนินการค้นหารวบรวมข้อมูลภาวะซึมเศร้าโดยรวบรวมปัจจัยทางจิตสังคมด้วย วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของการใช้สารเสพติดในภาวะซึมเศร้า วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Description) ศึกษาในผู้ป่วยที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกและในของโรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ช่วงเวลา มิ.ย. 2548 ถึง 30 เม.ย. 2550 มีช่วงอายุระหว่าง 18-70 ปี โดยใช้แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า, ฆ่าตัวตายของกรมสุขภาพจิตกับผู้ป่วย จำนวน 398 ราย ที่มาด้วยพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตาย/ทำร้ายตนเอง ผู้ป่วยที่มีเพิ่งมีประวัติการสูญเสีย มีโรคทางกายเรื้อรังหรือที่ผ่านการค้นหาสาเหตุแต่ไม่พบ นอนไม่หลับเรื้อรัง เมื่อคัดกรองพบว่ามีภาวะซึมเศร้าจึงใช้แบบเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าและทำร้ายตนเองประเมินต่อ (รง. 506 DS) พบภาวะซึมเศร้ารวมทั้งสิ้น 105 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า เพศชายร้อยละ 64.8 เพศหญิง ร้อยละ 35.2 มีอายุระหว่าง 21-40 ปี ร้อยละ 48.6 และมีอายุระหว่าง 41-60 ปี ร้อยละ 33.3 สถานภาพสมรส คู่ ร้อยละ 44.8 รองลงมาเป็นสภานภาพโสด ร้อยละ 41.0 อาชีพ เกษตรกรรม ร้อยละ 29.5 รองลงมาอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 19.0 พบภาวะซึมเศร้าร้อยละ 49.5 ภาวะซึมเศร้าร่วมกับความคิดฆ่าตัวตาย ร้อยละ 29.5 พฤติกรรมการฆ่าตัวตายโดยที่ไม่มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 21.0 พบพฤติกรรมส่วนบุคคลของผู้มีภาวะซึมเศร้าที่ใช้สารเสพติดสูงถึงร้อยละ 44 บุหรี่เป็นสารเสพติดที่ใช้มากเป็นอันดับแรก ร้อยละ 32 รองลงมาคือ สุรา ร้อยละ 22 ส่วนสารเสพติดอื่นๆ เช่น กัญชา ยาบ้า ร้อยละ 18 สรุปและข้อเสนอแนะ ผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าที่ใช้สารเสพติดพบในกลุ่มวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นเป็นเพศชายมากกว่า การศึกษานี้สามารถนำไปพัฒนาระบบเฝ้าระวังคัดกรองและค้นหาภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้ที่ใช้สารเสพติด ซึ่งเป็นวัยศึกษาและวัยทำงานจะนำมาสู่การดูแลรักษาที่เหมาะสม ทำให้ไม่สูญเสียโอกาสในการเรียนการทำงาน ควรมีการพัฒนาแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าและภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่และศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเสพติดในผู้ป่วยกลุ่มนี้

Keywords: ภาวะซึมเศร้า, สารเสพติด, ความเครียด, ความวิตกกังวล, โรคทางจิตเวช, โรคซึมเศร้า, ฆ่าตัวตาย, บุหรี่, วัยรุ่น, จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์.

Code: 2007000180

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6

Download: