ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: มณีวรรณ พัทมินทร์.

ชื่อเรื่อง/Title: ประสิทธิภาพรถเข็นไฟฟ้าต่อผู้ที่บกพร่องด้านการเคลื่อนไหว.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6, เรื่องสุขภาพจิต : ชีวิตชาวเมือง วันที่ 1-3 สิงหาคม 2550 ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร หน้า 211-212.

รายละเอียด / Details:

จากการสำรวจความพิการและการทุพพลภาพของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2544 พบว่าประชากร 63 ล้านคน เป็นคนพิการประมาณ 1.1 ล้านคน หรือร้อยละ 1.8 ของประชากรทั้งหมด บุคลเหล่านี้ได้รับความทุกข์ทรมาน แต่ถ้าหากได้รับการฟื้นฟูสภาพเพื่อลดความพิการ และภาวะแทรกซ้อน รถนั่งคนพิการเป็นอุปกรณ์ส่วนตัวที่จำเป็นในการเคลื่อนที่ไปได้สะดวก เพื่อช่วยให้ผู้พิการซึ่งปกติจะอยู่ท่านอนให้มีโอกาสอยู่ในท่านั่ง เดิมมีรถเข็นนั่งธรรมดา เดือนมกราคาม 2550 ประยกุต์ใช้รถเข็นนั่งไฟฟ้า วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อได้ข้อมูลพื้นฐานของการประยุกต์ใช้รถเข็นนั่งไฟฟ้า แนวโน้มการใช้งาน ข้อดี และข้อจำกัดของรถเข็นนั่งไฟฟ้า ประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยตึกฟื้นฟูใช้รถเข็นธรรมดาและระเข็นนั่งไฟฟ้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้ศึกษาให้ผู้ดูแลตอบแบบสอบถามและสัมภาษณ์โดยรวบรวมผลสรุปแต่ละส่วน ผลของการศึกษาข้อมูลรายละเอียด มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 18 คน โดยเป็นผู้ดูแลภายในตึกฟื้นฟู 5 เรื่องความเหมาะสมของรถเข็นนั่งไฟฟ้ากับรถเข็นนั่งธรรมดา พบว่ามีความเหมาะสม ร้อยละ 83 ข้อเสนอแนะของการปรับปรุงรถเข็นนั่งไฟฟ้า พบว่า ส่วนที่ควรได้รับการปรับปรุง คือ ที่รัดช่วงเอว เนื่องจากผู้พิการทรงตัวนั่งเองไม่ได้ อาจคะมำมาข้างหน้าได้ ชั่วโมงการใช้งานของแบตเตอรี่ประมาณ 72 ชั่วโมงใช้งาน จากนั้นต้องชาร์จแบตเตอรี่ ถ้าประยุกต์ใช้อาจติอตั้งด้วยแบตเตอรี่แห้งซึ่งราคาสูงกว่า การขับเคลื่อนผู้ดูแลต้องอัตราความเร็วประมาณ 10-30 กม./ชม. อัตราคงที่ งบประมาณการประกอบติดตั้ง ราคา 4,500 บาท โดยประยุกต์จากรถเข็นนั่งธรรมดา พบว่าเมื่อนำมาประกอบติดตั้งเองมีประสิทธิภาพ ใช้งานได้ดี ประหยัดรายจ่าย การศึกษารถเข็นไฟฟ้าที่ผลิตเองนี้ คาดหวังว่าผู้สนใจนวัตกรรมนี้จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) ได้ข้อมูลพื้นฐานของผู้ใช้รถเข็นนั่งธรรมดา และรถเข็นนั่งไฟฟ้า 2) ได้แนวโน้มการใช้งาน ข้อดี และข้อจำกัดของรถเข็นนั่ง 2 ชนิด 3) ได้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแบบรถเข็นนั่งไฟฟ้า ประชากรที่ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ดูแลผู้ป่วยตึกฟื้นฟู ใช้รถเข็นธรรมดา และรถเข็นนั่งไฟฟ้า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลของการใช้รถเข็นนั่งคนพิการ และความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้พิการ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ศึกษาให้ผู้ดูแลตอบแบบสอบถามและสัมภาษณ์โดยเก็บแบบสอบถาม รวบรวมผลสรุปแต่ละส่วน 1) ผู้ศึกษาส่งแบบสอบถามให้แก่ผู้ดูแลที่ใช้รถเข็นนั่ง ทั้ง 2 แบบ จำนวน 18 คน จากผู้พิการที่ใช้รถเข็นนั่ง 6 คน 2) ผู้ศึกษาสัมภาษณ์ผู้ดูแลผู้พิการ ที่ใช้รถเข็นนั่ง 2 แบบ 3) ผู้ศึกษาเก็บแบบสอบถาม รวบรวมผลสรุปในแต่ละส่วน และนำเสนอเป็นร้อยละ บทสรุปการเรียนรู้ เมื่อศึกษาการใช้งานรถเข็นนั่งไฟฟ้า พบว่าผู้ดูแลเสนอแนะว่าเมื่อใช้งานกับผู้ป่วยให้ใช้อัตราความเร็วต่ำ และให้ใช้ผ้าคาดเอว ผู้ป่วยไว้ เนื่องจากเป็นผู้ป่วยพิการที่มีกล้ามเนื้อลีบ ข้อติด ทรงตัวไม่ดี 4 ใน 6 คน รถเข็นนั่งไฟฟ้า เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่มีการรับรู้ดี และมีความพิการมาก มีปัญหาการทรงตัว ให้ฝึกเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อของลำตัว ฝึกการทรงตัวในท่านั่ง ฝึกเคลื่อนย้ายตัวเองจากเตียงไปรถเข็น ปรับเตียงให้หมาะสมมีความสูงเท่ารถเข็น ปรับสิ่งแวดล้อม เช่นประตูห้องน้ำใช้กว้างอย่างนอ้ย 90 เซนติเมตร เพื่อให้รถเข็นเข้าไปได้ ทำทางลาดเข้าห้องน้ำ ผู้ศึกษามีความเห็นว่า รถเข็นนั่งไฟฟ้าผลิตขึ้นเองมีราคาถูกกว่าราคาตลาดมาก ควรได้รับการสนับสนุนเรื่องงบประมาณ วิธีการจัดหา และการผลิตใช้ขึ้นเอง โดยฝ่ายสนับสนุนที่เกี่ยวข้องให้เผยแพร่ออกไป และพัฒนารูปแบบของรถในอนาคต

Keywords: ฟื้นฟูสรรมภาพทางจิตเวช, ผู้ป่วยจิตเวช, ตึกฟื้นฟู 5, นวัตกรรม, ความพิการ, การทุพพลภาพ, รถเข็น, รถเข็นไฟฟ้า, บกพร่องด้านการเคลื่อนไหว

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: โรงพยาบาลศรีธัญญา.

Code: 2007000189

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6

Download: