ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: กรรณิการ์ เลื่อมใส.

ชื่อเรื่อง/Title: การรับรู้การดูแลของผู้ป่วยจิตเวชในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จังหวัดน่าน.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6, เรื่องสุขภาพจิต : ชีวิตชาวเมือง วันที่ 1-3 สิงหาคม 2550 ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร หน้า 214.

รายละเอียด / Details:

การรับรู้การดูแลของผู้ป่วยจิตเวชเป็นการสะท้อนประสบการณ์ที่ผู้ป่วยได้รับจากการดูแลขณะรับการรักษาในโรงพยาบาล การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้การดูแลของผู้ป่วยจิตเวชในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จังหวัดน่าน ประชากรคือ ผู้ป่วยจิตเวชที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว พ.ศ. 2549 จำนวน 87 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามการรับรู้การดูแลฉบับแปลเป็นภาษาไทยและดัดแปลงโดย ต๊ะปินตา และคณะ (2544) โดยมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.93 และผู้ศึกษาหาค่าความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ 0.92 ข้อมูลวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าประชากรมีการรับรู้การดูแลโดยรวมต่อการดูแลของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัวอยู่ในระดับ ดี โดยการรับรู้การดูแลรายข้อ พบประชากรมีการรับรู้การดูแลในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัวในระดับ ดีมาก 4 ข้อ คือ ความสุภาพอ่อนโยน และความเป็นมิตรของเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 41.10 ความมั่นใจและความไว้วางใจที่รู้สึกต่อเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 39.10 การให้คำแนะนำก่อนกลับบ้าน ร้อยละ 35.60 และเจ้าหน้าที่ให้เกียรติและยอมรับในศักดิ์ศรีของท่าน ร้อยละ 34.50 การรับรู้การดูแลรายข้อที่มีการรับรู้การดูแลระดับไม่ค่อยดี 7 ข้อ โดยมี 3 ข้อ ที่คิดเป็นร้อยละ 3.40 เท่ากัน คือ การได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิผู้ป่วย ข้อมูลที่ได้รับชัดเจน สมบูรณ์เกี่ยวกับการตรวจต่างๆ การรักษา สิ่งที่คาดหวัง และการยอมรับฟังความคิดเห็น การถามความคิดเห็นให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสเลือก ส่วนอีก 4 ข้อ มีร้อยละ 2.30 เท่ากัน คือ ความสะดวก ที่จะได้รับข้อมูล เจ้าหน้าที่มีความตั้งใจที่จะตอบคำถาม ข้อมูลที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ที่มีความสม่ำเสมอ การให้คำแนะนำก่อนกลับบ้านการให้ความร่วมมือหลังจากท่านออกจากโรงพยาบาล การรับรู้การดูแลของผู้ป่วยจิตเวชในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว ของประชากรโดยรวมแม้จะอยู่ในระดับดี แต่ก็ยังสามารถพัฒนาให้อยู่ในระดับดีมากต่อไป ดังนั้นควรมีการพัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่องในทุกข้อ ส่วนข้อที่อยู่ในระดับดีมากตอ่ไป ดังนั้นควรมีการพัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่องในทุกข้อ ส่วนข้อที่อยู่ในระดับไม่ค่อยดีก็ควรได้รับการพัฒนาแม้จะมีผู้ตอบไม่มาก ได้แก่ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิผู้ป่วย ข้อมูลที่ได้รับชัดเจน สมบูรณ์เกี่ยวกับการตรวจต่างๆ การรักษา สิ่งที่คาดหวัง การยอมรับฟังความคิดเห็น การถามความคิดเห็นให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสเลือก ความสะดวกที่จะได้รับข้อมูลเจ้าหน้าที่มีความตั้งใจที่จะตอบคำถาม ข้อมูลที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่มีความสม่ำเสมอ การให้คำแนะนำก่อนกลับบ้าน การให้ความร่วมมือหลังจากท่านออกจากโรงพยาบาล ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพของการดูแลที่ดีที่สุด

Keywords: ผู้ป่วยจิตเวช, การดูแลผู้ป่วย, การพัฒนาคุณภาพบริการ, การรับรู้, ระบบคุณภาพ, โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน.

Code: 2007000191

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6

Download: