ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ยงยุทธ วงษ์ประชุม, ปวีณา แก้วเจริญ, สุพัฒน์ แหวะสอน, อัครเดช ศิลาขจิ.

ชื่อเรื่อง/Title: ป้ายชื่อรีไซเคิล Recycling identity card : New innovation for psychiatric ward.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6, เรื่องสุขภาพจิต : ชีวิตชาวเมือง วันที่ 1-3 สิงหาคม 2550 ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร หน้า 215.

รายละเอียด / Details:

ความสำคัญ การพัฒนาคุณภาพเพื่อนำโรงพยาบาลเข้าสู่โรงพยาบาลคุณภาพ มีข้อกำหนดหนึ่งกล่าวว่า ผู้รับบริการที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลจะต้องมีข้อบ่งชี้ที่ถูกต้อง สามารถตรวจสอบได้ โดยผู้ป่วยจะมีป้ายบ่งชี้ป้ายชื่อ-สกุล ตลอด 24 ชม. ตั้งแต่รับผู้ป่วยไว้รักษาในตึกผู้ป่วยจนกระทั่งจำหน่าย จากการสำรวจผู้ป่วยหญิงตึกศรีตรัง ระหว่างเดือน มค.-กพ. 2549 ร้อยละ 30 ไม่สามารถมีป้ายชื่อบ่งชี้ชื่อ-สกุลได้ สาเหตุเนื่องจากด้านผู้ป่วยดึงประกาศป้ายชื่อ/ฉีกทิ้ง ทำให้เปียกน้ำหรือสะสมกระดาษคลิปติดป้ายชื่อคอเสื้อทำให้รำคาญ/ระคายเคือง บางรายนำมาดัดแปลงเป็นเครื่องประดับตุ้มหู หรือนำมายืดให้ยาวเป็นอาวุธปลายแหลมทำร้ายตนเอง ซองป้ายชื่อมีตัวหนีบ สามารถทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ ด้านเจ้าหน้าที่ไม่เห็นความสำคัญติดป้าย ชื่อ-สกุล ผู้ป่วยทุกคน การมอบหมายงานไม่ชัดเจน ด้านอุปกรณ์ ไม่เพียงพอ ไม่เหมาะสม รูปแบบการใช้อุปกรณ์ไม่เป็นไปในทางเดียวกัน เช่น กระดาษสี อ่อน/บางไม่เหมือนกัน การใช้สีปากกา เขียนชื่อ-สกุลแตกต่างกัน ผู้ดำเนินโครงการตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการป้ายชื่อรีไซเคิล วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ป่วยมีป้ายชื่อบ่งชี้ชื่อสกุลถูกต้อง ผู้ป่วยพึงพอใจและลดค่าใช้จ่าย วิธีดำเนินการ แบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 ทบทวนระดมสมอง ออกแบบป้ายชื่อโดยให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วม ระยะที่ 2 ลงมือปฏิบัติโดยแบ่งความรับผิดชอบให้ผู้ช่วยเหลือ ตรวจเช็คป้ายชื่อให้มีในผู้ป่วยทุกรายทุกเวร เวรบ่ายตรวจเช็ค/เตรียมอุปกรณ์พร้อมใช้ เวรเช้าหลังผู้ป่วยจำหน่ายนำป้ายชื่อทำความสะอาดตากให้แห้งเพื่อนำกลับมาใช้ได้ใหม่ ระยะที่ 3 ประเมินผล ผลการดำเนินการ ผู้ป่วยหญิงมีป้ายบ่งชี้ชื่อ-สกุล ร้อยละ 100 สามารถลดต้นทุนค่าใช้/สิ้นเปลืองจากราคา 7 บาท เหลือ 1.50 บาท มองดูสวยงามระเบียบเรียบร้อย มีการปฏิบัติงานเป็นทีมสามารถตรวจสอบได้ ทั้งผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ที่มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด ข้อเสนอแนะ ป้ายชื่อรีไซเคิลสามารถนำไปขยายผลในตึกผู้ป่วยในอื่นๆ และเชื่อมโยงการคัดกรองเฝ้าระวัง ป้องกันความเสี่ยงในผู้ป่วยจิตเวชกับกลุ่มงานผู้ป่วยนอก รวมทั้งเป็นพื้นฐานแนวคิดในการใช้อุปกรณ์อื่นๆ มารีไซเคิลได้

Keywords: ป้ายชื่อรีไซเคิล, ระบบคุณภาพ, คุณภาพ, การพัฒนาคุณภาพ, ป้ายชื่อผู้ป่วย, ผู้ป่วยจิตเวช, หอผู้ป่วยจิตเวช

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์.

Code: 2007000192

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6

Download: