ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ผ่องใส กันทเสน และคณะ.

ชื่อเรื่อง/Title: โครงการเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้เพื่อครอบครัวเข้มแข็ง.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 2, เรื่อง เรียนรู้เพื่อการบำบัดโรคซึมเศร้าและการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย, วันที่ 25-28 กรกฎาคม 2550 ณ. โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย, หน้า 89.

รายละเอียด / Details:

โครงการเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้เพื่อครอบครัวเข้มแข็ง เป็นการดำเนินกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันครอบครัวรักลูก และมูลนิธิฮักเมืองน่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนรู้ให้แก่สมาชิกในครอบครัว สมาชิกมีเวลาให้กัน พูดคุยอย่างสร้างสรรค์ ทำกิจกรรมร่วมกัน ดำเนินชีวิตใช้หลักความพอเพียง รู้เท่าทันกระแสสังคมบริโภคนิยม และอยู่ในสิ่งแวดล้อมแก่งความเอื้อเฟื้อสืบทอดภูมิปัญญา มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ตั้งแต่ดือนมกราคม 2549 ถึง เดือนธันวาคม 2549 กลุ่มเป้าหมายคือ สมาชิกในหมู่บ้านคือกลุ่มเด็กและเยาวชน พ่อบ้าน แม่บ้าน และผู้สูงอายุ ในที่บ้านเก็ตหมู่ที่ 2 ต.วรนคร อ.ปัว น่าน จำนวน 240 คน ที่เข้าร่วมเวทีโดยความสมัครใจ มีกิจกรรมคือ การสร้างทีมงาน โดยคัดเลือกแกนนำในหมู่บ้าน 7 คน เข้ารับการอบรมแนวคิด หลักการและมาจัดเวทีการเรียนรู้ในชุมชน 4 ครั้ง ในห้วข้อ ทุกข์ สุขของครอบครัว, การสื่อสารในครอบครัว, เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ ใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์เชิงลึกของนายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ผลการดำเนินงาน พบว่าประชาชนมีความสนใจ ตื่นตัวในเรื่องของครอบครัว ได้รับความรู้และทักษะในการอยู่ร่วมกันของครอบครัว มีความสัมพันธ์ที่ดีเพิ่มขึ้น พูดคุยกันและมีกิจกรรมร่วมกันของสมาชิก ให้ความร่วมมือกิจกรรมของหมู่บ้านมากขึ้น จนได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของตำบล วรนครและของอำเภอปัว เยาวชนมีจิตสำนึกในหน้าที่ของตน ช่วยงานของครอบครัวดีขึ้น มีจิตอาสาทำงานเพื่อสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทน ชุมชนเกิดโครงการต่อเนื่อง และมีกลุ่มสร้างสุขภาพ และขยายผลสู่ตำบลอื่นอีก 3 ตำบล และเป็นตำบลนำร่องในการสร้างศูนย์การเรียนรู้เพื่อครอบครัวของตำบล ข้อเสนอแนะ ควรมีการดำเนินการต่อเนื่อง และจัดเวทีย่อยหลายเวทีขึ้น เพราะเรื่องของครอบครัวไม่มีวันหยุด และกลุ่มที่เข้าร่วมเวทีควรเป็นสมาชิกทุกคนในครอบครัวเข้าร่วมพร้อมกันในแต่ละครั้ง จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรม มีการขยายเครือข่ายออกไปในชุมชนใกล้เคียง และมีงบประมาณสนับสนุนอย่างพอเพียง เพื่อผลักดันให้เป็นนโยบายสาธารณะเรื่องครอบครัว โดยการมีส่วนร่วมจากทุกองค์กรในชุมชนแบบบูรณาการ ในที่สุดก็จะพบคำตอบของทุกปัญหาของสังคมปัจจุบัน

Keywords: การเรียนรู้, ครอบครัวเข้มแข็ง, จัดการเรียนรู้, แกนนำหมู่บ้าน, ทักษะชีวิต, สุขภาพจิต

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: -

Code: 2007000197

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 2

Download: