ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ทุเรียน เพชรปราณี, นาตยา แย้มทอง.

ชื่อเรื่อง/Title: โครงการป้องกันและส่งเสริมปัญหาสุขภาพจิตในโรงเรียนและครอบครัวอำเภอทับคล้อ.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 2, เรื่อง เรียนรู้เพื่อการบำบัดโรคซึมเศร้าและการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย, วันที่ 25-28 กรกฎาคม 2550 ณ. โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย, หน้า 95.

รายละเอียด / Details:

ความสำคัญ จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและจิตใจของผู้คน และครอบครัวในสังคมไทยเป็นอย่างมาก ปัญหาความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตเกิดขึ้นมากมายโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น ในเขตอำเภอทับคล้อ พบว่าตั้งแต่ปี 2545-2548 มีเด็กวัยรุ่นพยายามฆ่าตัวตายมารับการรักษาที่โรงพยาบาลไม่ต่ำกว่าปีละ 5 คน และในปี 2547 มีเด็กนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 2 ยังมีปัญหาฆ่าตัวตาย จำนวน 1 ราย โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสัมพันธภาพในครอบครัว ดังนั้นกลุ่มเยาวชนจึงเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า ซึ่งจะนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีระบบในการดูแลช่วยเหลือ โรงเรียน ครอบครัว และโรงพยาบาล ซึ่งจะต้องประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต เพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยทางจิตที่รุนแรงและเสียชีวิตได้ วัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างเครือข่ายคัดกรอง และดูแลช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพจิตในโรงเรียนและชุมชน 2) เพื่อส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว กลุ่มเป้าหมาย 1) โรงเรียนมัธยมขยายโอกาส จำนวน 8 แห่ง และโรงเรียนประถม 7 แห่ง ในเขตอำเภอทับคล้อ 2) ครอบครัวในเขตอำเภอทับคล้อ จำนวน 120 ครอบครัว กิจกรรมการดำเนินการ 1) ประชุมครูแนะแนวของโรงเรียนนำร่องทั้ง 15 แห่ง เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาแนวทางการแก้ไขและจัดระบบการคัดกรอง ดูแลช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหา 2) จัดอบรมเรื่องการคัดกรองและช่วยเหลือเด็กนักเรียนเบื้องต้น 3) การจัดทำกลุ่มบำบัดที่โรงเรียนในเด็กที่มีปัญหาซึมเศร้า จำนวน 4 ครั้ง 4) จัดกิจกรรมครอบครัวคุณธรรมใน 4 ตำบล ตำบลละอย่างน้อย 30 ครอบครัว ผลการดำเนินงาน พบเด็กที่มีปัญหาสุขภาพจิตในโรงเรียนจำนวน 16 ราย มีจำนวน 1 ราย ที่ต้องเข้ารับการบำบัดทางจิต และรับประทานยาต้านเศร้า ผลการทำกลุ่มบำบัดในโรงเรียนเด็กที่มีภาวะซึมเศร้ามีอาการดีขึ้นสามารถสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน และตั้งใจเป็นมากขึ้น ส่วนกิจกรรมครอบครัวคุณธรรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจ และสามารถแนะนำครอบครัวที่มีปัญหาติดสุราให้เข้ารับการบำบัดรักษาที่โรงพยาบาลทับคล้อ ได้จำนวน 3 ครอบครัว

Keywords: สุขภาพจิต, โรงเรียน, ครอบครัว, ความเครียด, เด็ก, เยาวชน, การฆ่าตัวตาย, โรคซึมเศร้า, สารเสพติด, เครือข่ายคัดกรอง, ภาวะซึมเศร้า

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: ศูนย์บำบัด โรงพยาบาลทับคล้อ.

Code: 2007000198

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 2

Download: