ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: พญ.สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาลและคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาความถูกต้องแบบคัดกรองการเจ็บป่วยทางจิตในชุมชนประชากรไทย

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, ปีที่ 51, ฉบับที่ 2, เมษายน-มิถุนายน 2549, หน้า 22.

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเครื่องคัดกรองการเจ็บป่วยทางจิตสำหรับใช้วิจัยในชุมชนไทยและทดสอบความถูกต้องของเครื่องมือนี้โดยเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยโรคจากจิตแพทย์โดยใช้ M.I.N.I.5.0.0 ไทย วิธีการศึกษา แบ่งเป็นระยะที่ 1 คือพัฒนาเครื่องมือคัดกรองโดยเลือกข้อคำถามที่ครอบคลุมภาวะซึมเศร้า วิตกกังวลและโรคจิตด้วยวิธี Nominal group technique (modified) จากแบบสอบถาม GHQ, MHI, THMO, Psychosis screening test ตรวจสอบความตรงในเนื้อหาจากการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญจิตเวช 10 ท่าน แล้วนำมาปรับปรุงออกแบบข้อคำถามให้อยู่ในรูปของการสัมภาษณ์และออกแบบแผ่นคำตอบที่เข้าใจง่าย ระยะที่ 2 นำเครื่องมือมาทดสอบความถูกต้องโดยเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยโรค ของจิตแพทย์โดยใช้M.I.N.I.5.0.0 ฉบับภาษาไทย ผลการศึกษา ได้เครื่องมือคัดกรองเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง (Structured interview questionnaire ใช้เวลาสัมภาษณ์เฉลี่ย 6.88 (SD 4.15) นาที มีคำถาม 34 ข้อ แบ่งเป็นหมวดที่ 1 คัดกรองอาการซึมเศร้าและวิตกกังวล 17 ข้อ ใช้แผ่นคำตอบ 6 แผ่น ซึ่งแสดงเป็นมาตรวัด 4 ระดับ (0 คือไม่มี 3 คือ รุนแรง) ได้ค่า Cronbach's Alpha 0.915 หมวดที่ 2 คัดกรองอาการโรคจิต 7 ข้อ มี 2 ตัวเลือก (0 คือ ไม่เคย 1 คือ เคย) ได้ค่า Cronbach's Alpha 0.629 เมื่อนำแบบคัดกรองมาใช้กับกลุ่มตัวอย่างคนไทยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในชุมชนทั้ง 4 ภาค รวม 405 คน อายุเฉลี่ย 44.2 (SD 14.2) ปี คิดค่าคะแนนสองหมวดรวมกันมี cut-off point ในผู้ชายคือ ≥6 ค่าความไว 83.3% (95%CI, 72.3-94.4) ความจำเพาะ 57.9% (95%CI, 43.3-72.5) ในผู้หญิง คือ ≥8 ค่า Sensitivity 88.6% (95%CI, 85.1-92.1) Specificity 64.8 (95% CI, 66-86.1) Specificity 70.5% (95% CI, 59.7-81.2) ในผู้หญิงคือ ≥6 ค่า Sensitivity 72.7% (95% CI, 68-77.5) Specificity 88.5 (95% CI, 85.1-91.4) สรุปผลการศึกษา เครื่องมือคัดกรองการเจ็บป่วยทางจิตในชุมชนคนไทยเพิ่งพัฒนาใช้ครั้งแรก มีความสะดวกและใช้ง่าย ควรมีการทำวิจัยต่อไปเพื่อหาความเที่ยงตรงของเครื่องมือในเพศชาย คนหนุ่มสาวเพื่อพัฒนาเป็นเครื่องมือคัดกรองที่สมบูรณ์ใช้ในอนาคตสำหรับทำวิจัยหาความชุกของโรคจิตในชุมชน

Keywords: แบบคัดกรอง, reliability, sensitivity, specificity, validity study, โรคจิตเวช, จิตแพทย์, การวินิจฉัยโรค, ซึมเศร้า, วิตกกังวล, แบบสัมภาษณ์, จิตเวชชุมชน, ประชากรไทย, M.I.N.I.5.0.0 ไทย

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Code: 20070002

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ วารสารวิชาการ

Download: