ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: วรารัตน์ ว่องอภิวัฒน์กุล, ผุสดี เลขะกุล.

ชื่อเรื่อง/Title: พิธีกรรมโนราโรงครู กับ การเยียวยาทางจิตใจ.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 2, เรื่อง เรียนรู้เพื่อการบำบัดโรคซึมเศร้าและการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย, วันที่ 25-28 กรกฎาคม 2550 ณ. โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย, หน้า 155.

รายละเอียด / Details:

ความสำคัญ ในสังคมไทยมักจะพบว่าเมื่อใดก็ตามที่มีปัญหาทั้งทางกายและทางจิตใจที่มาสามารถหาสาเหตุได้แน่ชัดหรือหาแนวทางการรักษาไม่ได้ ก็มักจะมีการเชื่อมโยงไปสู่การเยียวยากับสิ่งเหนือธรรมชาติพิธีกรรมโนราโรงครูแก้บนเป็นภูมิปัญญาที่สะท้อนความเชื่อ ความศรัทธาของคนท้องถิ่นภาคใต้ เกี่ยวกับครูหมอโนราว่ามีความผูกพันกับหลานที่มีเชื้อสายโนราถ้าลูกหลานเพิกเฉยไม่นับถืออาจทำให้ป่วยเรียกว่าครูหมออย่างมักมีอาการซูบผอม ไม่ยอมรับประทานอาหาร ถามไม่ค่อยตอบหรือตอบจับใจความไม่ได้ ซึ่งจะเยียวยาอย่างไรก็ไม่หาย ต้องบนบานต่อครูหมอให้มาช่วยปัดเป่าอาการให้หายไป เมื่ออาการหายแล้วต้องแก้บนโดยพิธีรำโนราโรงครู เชื่อว่าหากบนแล้วไม่แก้ ผู้บนจะรู้สึกผิด ไม่สบายใจ อยู่ตลอดเวลา ผู้ศึกษาจึงคาดว่าพิธีกรรมโนราโรงครูน่าจะมีผลการเยียวยาด้านจิตใจ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้โนราโรงครูเยียวยาทางจิตใจ ใน 3 ด้าน คือ ด้านผู้แก้บน ด้านครอบครัวและด้านชุมชน วิธีการศึกษา ศึกษารายกรณี โดยการสัมภาษณ์ผู้แก้บนก่อนพิธีกรรม และหลังพิธีกรรม การสังเกตการมีส่วนร่วมขณะกระทำพิธีกรรม ที่ อ. หาดใหญ่ จ. สงขลา ผลการศึกษา ศึกษาผู้แก้บนเป็นชาย อายุ 76 ปี มีอาการปวดเมื่อย ปวดหลัง เดินไม่ได้ เป็นมา 2 เดือน เนื่องจากหกล้มโดยเชื่อว่าหกล้มเพราะถูกตายายโนราหลัก หรือทัก เพราะเวลาทำบุญแล้วไม่นึกถึง ไม่เอ่ยชื่อบรรพบุรุษ จึงบนบานตายายให้ช่วยโดย อธิษฐานว่าถ้าหายจะรับโนรามาแก้บนซึ่งเชื่อว่าเป็นการเซ่นไหว้ครูหมอ โดยผ่านร่างทรงประจำตระกูล เมื่ออาการดีขึ้น จึงแก้บนตามที่สัญญาไว้ ถ้าหากผู้บนหายแล้วไม่แก้บน จะเกิดความรู้สึกไม่สบายใจ รู้สึกผิด ค้างคาใจผู้บนตลอดเวลาจนกว่าได้แก้บนตามที่สัญญาไว้ สรุปผลการศึกษา มีผลกระทบ 3 ด้าน ด้านผู้บนได้รับโนรามาแก้บนแล้วบอกว่ารู้สึกสบายใจไม่กังวล ปู่ ย่า ตายายจะไม่มารบกวน เพราะได้ทำพิธีตัดเหมยในพิธีแล้ว ด้านครอบครัว ภรรยา ลูกและญาติๆ ที่เข้าร่มพิธีรู้สึกดีใจ โล่งใจ ด้านชุมชน เพื่อบ้าน ได้เป็นสักขีพยานในพิธีและมีส่วนร่วมในงานเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน ข้อเสนอแนะ การเข้าใจและยอมรับพิธีกรรมโนราโรงครู จะทำให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้สืบทอดได้อย่างสง่างาม ไม่ถูกตราว่า ล้าหลัง เชย งมงาย และน่าจะมีการศึกษาในภาคอื่นๆ ด้วย

Keywords: สุขภาพจิต, การเยียวยาทางจิตใจ, พิธีกรรมโนราโรงครู, แก้บน, ภูมปัญญาท้องถิ่น, ความเชื่อ, โนรา, พิธีกรรม, ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: โรงพยาบาลสวนสราญรมย์, โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์.

Code: 2007000222

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 2

Download: