ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ชินานาฏ จิตตารมย์, ศิริพร วีรเกียรติ, อรสา เรืองสวัสดิ์, เยาวลักษณ์ พนิตอังกูร.

ชื่อเรื่อง/Title: โครงการให้คำปรึกษาครอบครัวประยุกต์ตามทฤษฎีซะเทียร์ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 2, เรื่อง เรียนรู้เพื่อการบำบัดโรคซึมเศร้าและการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย, วันที่ 25-28 กรกฎาคม 2550 ณ. โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย, หน้า 161.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล การให้คำปรึกษาครอบครัว เป็นการรวมบุคคลที่มีความผูกพันในฐานะเป็นสมาชิกของครอบครัว ให้มีส่วนรับผิดชอบต่อปัญหาร่วมกัน ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าการให้คำปรึกษาครอบครัวเป็นวิธีการที่ได้ผลดีและแก้ปัญหาได้หลายประการ อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาสุขภาพจิตได้ด้วย โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคทางจิตเวช ซึ่งการปรับตัวที่ไม่ดีของสมาชิกในครอบครัวจะทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตเวชรุนแรงขึ้นถึงแม้จะรักษาด้วยยาแล้วก็ตาม (Whisman 2000 อ้างใน อุมาพร ตรังคสมบัติ 2545:68) วัตถุประสงค์ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยจิตเวชและครอบครัวเรียนรู้ การแสดงอารมณ์ที่เหมาะสม มีทักษะใน การสื่อสาร การแก้ปัญหา ตลอดจนเผชิญปัญหาได้อย่างเหมาะสม วิธีการศึกษา ให้คำปรึกษาครอบครัวในผู้ป่วยนอกที่มีปัญหาครอบครัว และผู้ป่วยในที่แพทย์ประเมินแล้วพบว่ามีปัญหาในครอบครัว ผลของการศึกษา จำนวนผู้รับบริการในปี 2548, 2549 และ 2550 เรียงลำดับดังนี้ 56 ครอบครัว / 85 ราย, 69 ครอบครัว / 120 ราย และ 69 ครอบครัว / 120 ราย สรุปผลการศึกษา ตัวชี้วัดด้านกระบวนการ 1.) การยึดหลักการให้คำปรึกษาครอบครัวแบบองค์รวม ประเมินผู้ป่วยและครอบครัวด้วย Iceberg ทุกครั้งก่อนให้คำปรึกษาครอบครัว 2.) การพิทักษ์สิทธิ์ผู้ป่วยและครอบครัว โดยมีระบบการดำเนินงานที่แยกเป็นสัดส่วน 3.) การทบทวนการดูแล โดยมีการทำ KM ตัวชี้วัดด้านผลลัพธ์ 1.) ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการให้คำปรึกษาครอบครัวทุกรายจะต้องไม่ฆ่าตัวตายภายใน 24 ชั่วโมงหลังการให้คำปรึกษา 2.) ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับบริการที่มีความปลอดภัยและปราศจากภาวะแทรกซ้อน 3.) ผู้ป่วยที่มารับบริการติดต่อกันตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปสามารถมองเห็นคุณค่าในตนเองมากขึ้น 4.) ผู้ป่วยที่มารับบริการติดต่อกันตั้งแต่ 5 ครั้งขึ้นไป มีทักษะในการสื่อสารในครอบครัวมากขึ้น ข้อเสนอแนะ จัดระบบการติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และควรมีการฝึกอบรมผู้ให้คำปรึกษาครอบครัวตามทฤษฎีของซะเทียร์ให้แพร่หลายมากขึ้น เพื่อให้บริการได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง

Keywords: การให้คำปรึกษา, ครอบครัว, ทฤษฎีซะเทียร์, ทักษะการสื่อสาร, ให้การปรึกษาครอบครัว, ผู้ป่วยจิตเวช, จิตเวช, โรคทางจิตเวช, iceberg, satir model

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: โรงพยาบาลสวนสราญรมย์.

Code: 2007000228

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 2

Download: