ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: มัลลิฑา พูนสวัสดิ์.

ชื่อเรื่อง/Title: การให้การปรึกษาแนวคิดเซทเทียร์แก่ผู้รอดชีวิตจากการฆ่าตัวตาย: กรณีศึกษา.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 2, เรื่อง เรียนรู้เพื่อการบำบัดโรคซึมเศร้าและการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย, วันที่ 25-28 กรกฎาคม 2550 ณ. โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย, หน้า 165.

รายละเอียด / Details:

ความสำคัญ การให้การปรึกษาแนวคิดเซทเทียร์เป็นการทำจิตบำบัดแบบสั้นมีระบบ เน้นให้เกิดความเชื่อมั่นความภูมิใจเห็นคุณค่าในตนเอง จะช่วยให้ผู้รับบริการเข้าใจและเปลี่ยนแปลงตนเอง และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้ปราศจากความคิดฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะในกลุ่มอารมณ์ซึมเศร้า วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการให้การปรึกษาแนวคิดเซทเทียร์แก่ผู้รอดชีวิตจากการฆ่าตัวตาย วิธีการดำเนินการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยในที่เข้ารับการรักษาในระหว่างเดือน มค.-มิย. 2549 มีคุณสมบัติอาการทางจิตสงบสามารถสื่อสารเข้าใจได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคซึมเศร้าอย่างเดียวหรือร่วมกับโรคอื่นมีประวัติพยาบาลฆ่าตัวตาย และสมัครใจให้ความร่วมมือตามนัดทุกครั้งติดตามผลในระยะ 2 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าและฆ่าตัวตายแบบประเมินระดับคุณค่าในตนเองของคูเปอร์สมิธ (Coopersmith 1984) เก็บรวบรวมข้อมูลใช้กรอบแนวคิดกระบวนการให้การปรึกษาแนวคิดเซทเทียร์ ประกอบด้วยการจัดการประสบการณ์ที่เกิดขึ้น 11 ขั้นตอนคือ การเตรียมตัวผู้บำบัด การสัมผัสกับผู้รับบริการ การกำหนดเป้าหมาย รับฟังปัญหา การสำรวจภายในจิตใจ การสร้างพันธะสัญญา การเปลี่ยนแปลง การตอกย้ำ การทบทวน การยุติการบำบัด และการให้การบ้าน ดำเนินการปฏิบัติแบ่งออกเป็น 6 ครั้ง ครั้งละ 1-1.30 ช.ม. วิเคราะห์ข้อมูล โดยการถอดเทปข้อมูล และวิเคราะห์รายละเอียดในกระบวนการให้การปรึกษา เนื้อหาในภาพรวม ผลการดำเนินงาน พบว่า ผู้ป่วยเข้ารับการปรึกษาจำนวน 3 ราย เพศหญิง 2 ราย เพศชาย 1 ราย คัดกรองภาวะซึมเศร้า/ฆ่าตัวตาย และประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองในภาพรวมคะแนนดีขึ้นหลังให้การปรึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงคือ เข้าใจ รัก และให้อภัยตนเอง ไม่เรียกร้องและโหยหาความรักจากผู้อื่นต้องการการยอมรับจากคนอื่นมากเกินไป และพร้อมที่เผชิญปัญหา หลังติดตามเยี่ยม 2 เดือนพบว่า ผู้ป่วยไม่มีความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตาย ข้อเสนอแนะ การให้การปรึกษาแนวคิดเซทเทียร์วสามารถนำมาใช้ได้ทุกกลุ่มที่มีปัญหาทั้งผู้ป่วยในและคลินิกผู้ป่วยนอก แม้มีข้อจำกัดในพยาธิสภาพ และการดำเนินของโรคอาจต้องใช้ระยะการบำบัด 6-12 ครั้ง หรือมากขึ้นไป

Keywords: เซทเทียร์, การให้คำปรึกษา, การฆ่าตัวตาย, สุขภาพจิต, โรคซึมเศร้า, จิตบำบัดแบบสั้น, ให้การปรีกษา, ซึมเศร้า, จิตเวช, กระบวนการให้การปรึกษา, satir model

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์.

Code: 2007000232

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 2

Download: