ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ครุณี พัฒนขจร

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาเปรียบเทียบบุคลิกภาพของนักเรียนที่มีอาการและไม่มีอาการอุปทานกลุ่ม

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 2, สุขภาพจิตกับยาเสพติด ปี 2546, หน้า 161-162. (วันที่ 19-21 สิงหาคม 2546 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร)

รายละเอียด / Details:

อุปทานกลุ่มหรืออุปทานระบาด เป็นการเจ็บป่วยเป็นกลุ่มอันเนื่องมาจากภาวะของจิตใจจัดเป็นอาการในกลุ่มจิตเวชฉุกเฉินอย่างหนึ่ง ซึ่งหากไม่มีการดำเนินการแก้ไขหรือควบคุมการระบาดของอาการ อาจมีผลกระทบต่อชุมชน ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2544 มีการเกิดโรคอุปทานกลุ่ม 2 กรณี คือ กรณีแรกเกิดขึ้นที่โงเรียนแห่งหนึ่งที่อำเภอหนองบุนนาก กรณีที่สองที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มีนักเรียนมีอาการ 32 คน ดังนั้นโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ โดยกลุ่มงานจิตวิทยา มีความสนใจศึกษาเปรียบเทียบบุคลิกาภพของนักเรียนที่มีอาการและไม่มีอาการอุปทานกลุ่ม ทั้งนี้เพื่อหาแนวทางการช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาลักษณะบุคลิกภาพของนักเรียนที่มีและไม่มีอาการอุปทานกลุ่ม 1 ปัจจัยทางบุคลิกภาพที่มีผลต่อการเกิดอุปทานกลุ่มของนักเรียน ขอบเขตการวิจัย นักเรียนที่มีอุปทานกลุ่มและนักเรียนที่ไม่มีอุปทานกลุ่มกรณีโรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอหยองบุนนาก และอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ที่เกิดอุปทานกลุ่ม ระหว่างเดือนมกราคม 2542-มกราคม 2544 เป็นนักเรียนที่มีอาการอุปทานกลุ่มจำนวน 32 คน และนักเรียนที่ไม่มีอาการอุปทานกลุ่ม 32 คน การสุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ข้อมูลทั่วไป ลักษณะบุคลิกภาพและอัตราการเกิดอาการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นและแบบทดสอบบุคลิกภาพ 16 PF การเก้บรวบรวมข้อมุลโดยการสอบถามความยินยอมที่จะเป็นตัวอย่างในการศึกษาและตอบแบบสอบถามรวมทั้งทำแบบทดสอบ 16 PF การวิเคราะห์ข้อมุลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ใช้ค่าสถิติ SD, t-test และ Simple Regression สรุปผลการวิจัย จากากรศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างนักเรียนที่มีอาการอุปทานกลุ่ม ร้อยละ 90.6 เป็นเพศหญิง ส่นใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 13-15 ปี โดยมีค่าเฉลี่ยของอายุเท่ากับ 14.59 ปี ส่วนใหญ่เรียนอยู่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คิดเป็นร้อยละ 93.8 ส่วนกลุ่มตัวอย่างนักเรียนที่ไม่มีอาการอุปทานกลุ่ม พบว่าร้อยละ 90.6 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 13-15 ปี โดยมีค่าเฉลี่ยของอายุเท่ากับ 14.72 ปี ส่วนใหญ่เรียนอยู่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คิดเป็นร้อยละ 93.8 ส่วนลักษณะบุคลิกภาพของกลุ่มตัวอย่างพบว่าลักษณะบุคลิกภาพของนักเรียนที่มีอาการและไม่มีอาการอุปทานกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและพบว่าปัจจัยทางบุคลิกภาพบางประการมีผลต่ออัตราการเกิดอาการอุปทานกลุ่มของนักเรียนที่มีอาการ ได้แก่ ความสามรถในการควบคุมตนเอง (Control) ข้อเสนอแนะ 1. ใช้ในการวางแผนป้องกันการเกิดอาการอุปทานกลุ่มในนักเรียน โดยการส่งเสริมลักษณะบุคลิกภาพที่ทำให้เกิดความสามารถในการควบคุมตนเองให้มากขึ้น 2. ใช้ในการควบคุมโรคอุปทานกลุ่มโดยเสริมสร้างให้เกิดลักษณะบุคลิกภาพ ที่ก่อให้เกิดความสามารถในการควบคุมตนเองแก่นักเรียนที่มีอาการอุปทานกลุ่มเพื่อลดความรุนแรงได้ทางหนึ่ง

Keywords: อุปทาน, อุปทานกลุ่ม, ระบาดวิทยา, จิตเวชฉุกเฉิน, นักเรียน, ปัญหาทางจิตเวช, mass hysteria, epidemic, epidemiology

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: กลุ่มงานจิตวิทยา โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต

Code: 00000058

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -