ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: นิตยา วัชรมุสิก, พชรพร สุวิชาเชิดชู และคณะ.

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาการใช้โมเดลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการงดสูบบุหรี่ของพระภิกษุวัดในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์สาธารณสุขชุมชนคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว จังหวัดนครราชสีมา (กรณีศึกษา).

แหล่งที่มา/Source: บทคัดย่อผลงานวิชาการ กระทรวงสาธาณสุขประจำปี 2550, ณ.โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่, วันที่ 29-31 สิงหาคม 2550, หน้า 50.

รายละเอียด / Details:

บทนำ การสูบบุหรี่ก่อให้เกิดปัญหาทั้งต่อสุขภาพ และปัญหาต่างๆ ตามมาอีกมากมาย โดยเฉพาะในพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นตัวแทนของศาสนาที่ประชากรกราบไหว้ให้ความเคารพนับถือ ถ้าพระภิษุสงฆ์ยังคงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ย่อมส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีงามของศาสนา วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีส่วนสนับสนุนในการสูบหรือ/และเลิกสูบบุหรี่ 2. เพื่อศึกษาถึงผลการนำโมเดลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (The trans theoretical model of behavior change) มาใช้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ จำนวน 8 รูป เลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรม ประเมินระยะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ ปัจจัยที่สนับสนุนในการเลิกสูบบุหรี่ เพื่อนำไปสู่การจัดกิจกรรมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของกลุ่มที่ศึกษา ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มศึกษาทั้งหมดสูบบุหรี่มามากกว่า 1 ปี สาเหตุที่ทำให้สูบบุหรี่จาก 1) มีความเคยชิน 2) เคยพยายามเลิกสูบบุหรี่แต่ไม่สำเร็จ 3) มีเวลามาก 4) บุหรี่ซื้อหาได้ง่าย สะดวก ส่วนปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนในการเลิกสูบบุหรี่ จาก 1) กฎหมายหรือข้อบังคับจากทางวัด 2) สุขภาพไม่แข็งแรง 3) กิจกรรมการรณรงค์ของภาครัฐ และของศูนย์สุขภาพชุมชนคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวผลจากการใช้โมเดล การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมพบว่า กลุ่มที่ศึกษาอยู่ในระยะยังไม่ตระหนักที่จะเปลี่ยนแปลง (Precontemplation) ใน 6 เดือนข้างหน้า 1 รูป และมีการต่อต้านมองการเปลี่ยนแปลงเป็นลบอยู่ในระยะคิดที่จะเปลี่ยนแปลง (Contemplation) ตั้งใจจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใน 6 เดือนข้างหน้า 2 รูป อยู่ในระยะที่มีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง (Preparation) ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใน 30 วันข้างหน้า จำนวน 4 รูป และอยู่ในระยะเริ่มการเปลี่ยนแปลง (Action) มีการแสดงออกอย่างชัดเจน มุ่งมั่นต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ 1 รูป ส่วนในระยะที่ 5 ระยะพฤติกรรมยั่งยืน (Maintainance) ยังประเมินไม่พบ สรุปผลการศึกษา ชี้ให้เห็นว่าในการจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ควรมีการประเมินความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยใช้โมเดลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนทุกครั้งเพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดทำโปรแกรมที่ถูกต้องเหมาะสมกับกลุ่มที่ศึกษาต่อไป

Keywords: บุหรี่, การสูบบุหรี่, พฤติกรรม, พฤติกรรมการสูบบุหรี่, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, พระภิกษุสงฆ์, โมเดลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, พระ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: -

Code: 2007000236

ISSN/ISBN: 978-974-8102-25-2

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2550

Download: