ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: พิมพ์กุล กำจาย และคณะ.

ชื่อเรื่อง/Title: สายใยรักจากชุมชน: กรณีศึกษาการฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเภทไร้บ้าน ไร้อาชีพ โดยกลยุทธ์ ชุมชน เพื่อชุมชน.

แหล่งที่มา/Source: บทคัดย่อผลงานวิชาการ กระทรวงสาธาณสุขประจำปี 2550, ณ.โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่, วันที่ 29-31 สิงหาคม 2550, หน้า 51.

รายละเอียด / Details:

ผู้ป่วยจิตเภทที่ชุมชนรังเกียจ หากมีแนวทางการสื่อสารกับชุมชน จนชุมชนมีทัศนคติเชิงบวกและรู้สึกถึงความรับผิดชอบร่วมกัน ในฐานะสมาชิกชุมชน สามารถฟื้นฟูจนกลับสู่ชุมชนได้ อย่างมีศักดิ์ศรี โดยใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชน ทำให้ผู้ป่วยมีที่อยู่และมีอาชีพที่ชุมชนต้องการ ศึกษารูปแบบการสื่อสารกับชุมชนเพื่อสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อผู้ป่วย ศึกษารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ สังคม และทางจิตใจโดยชุมชนเพื่อสมาชิกที่เจ็บป่วยศึกษาการแก้ปัญหาทางจิตสังคมที่ชุมชนออกแบบกันเอง ศึกษาอาชีพในชุมชนที่จะเป็นแรงผลักดันในการสร้างงานและรายได้แก่ผู้ป่วย พัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชนเพื่อผู้ป่วยอื่นๆ วิธีการศึกษา: กรณีศึกษาแบบไปข้างหน้าไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบใช้การลงเยี่ยมชุมชน การสัมภาษณ์ เพื่อประเมินผลความเปลี่ยนแปลงทั้งของผู้ป่วยและชุมชนในการติดตามความก้าวหน้า ผลการศึกษาผู้ป่วยหญิงไทย โสด อายุ 42 ปี อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี ถูกกำนันและเจ้าหน้าที่ตำรวจนำส่งเพราะมีพฤติกรรมก้าวร้าว ก่อความไม่สงบในชุมชน และมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม และชุมชนต้องการให้ออกจากชุมชน ภายหลังการรักษาผู้ป่วย ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภทแบบหวาดระแวง มาเป็นเวลานานกว่า 20 ปี ไร้บ้าน ไร้อาชีพ จากการเยี่ยมชุมชนและใช้นวัตกรรม หนังสือเพื่อสื่อสาร ทำให้ชุมชน ยอมรับการเจ็บป่วยและมองเห็นศักยภาพของผู้ป่วย โดยใช้ทรัพยากรที่ชุมชนมีเป็นตัวตั้ง ทำให้เกิดการฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ ในเรื่องการตัดเย็บ และการทอเสื่อขึ้น รวมทั้งชุมชนรวมตัวกันปกป้องสิทธิ์ เพื่อหาที่อยู่อาศัย จัดหาอาหารจากวัดมาให้ จัดเพื่อนบ้านมาดูแลเรื่องยา และจ้างงานตามการฟื้นฟูที่ชุมชนต้องการ ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับคืนสู่ชุมชนในสถานะสมาชิกได้อีกครั้ง สรุปผลการดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเภท เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากชุมชน อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องเกิดจากการรวมตัวของชุมชน เพื่อวิเคราะห์ทรัพยากร และสิ่งที่ชุมชนมี รวมทั้งต้องมีกระบวนการที่ทำให้ชุมชนเปิดรับผู้ป่วยในฐานะ สมาชิกที่มีเกียรติคนหนึ่งด้วย จึงจะทำให้การฟื้นฟูยั่งยืนและการยอมรับเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์

Keywords: ฟื้นฟูสรรมภาพทางจิตเวช, ผู้ป่วยจิตเภท, การฟื้นฟู, ทัศนคติ, การสื่อสาร, พฤติกรรมทางเพศ, ชุมชน, จิตเวชชุมชน, ฟื้นฟูอาชีพ, อาชีวบำบัด, โรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง, ผู้ป่วยจิตเวช, ไร้บ้าน ไร้อาชีพ, ชุมชนเพื่อชุมชน

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์.

Code: 2007000237

ISSN/ISBN: 978-974-8102-25-2

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2550

Download: