ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: วนิดา สินไชย และคณะ.

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กวัยเรียนและเยาวชนด้วยกระบวนการค่ายพ่อแม่ร่วมใจพัฒนาเด็กไทยเป็นอัจฉริยะปี 2549.

แหล่งที่มา/Source: บทคัดย่อผลงานวิชาการ กระทรวงสาธาณสุขประจำปี 2550, ณ.โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่, วันที่ 29-31 สิงหาคม 2550, หน้า 115.

รายละเอียด / Details:

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการส่งเสริมสุขภา วะเด็กนักเรียนและเยาวชนด้วยกระบวนการค่ายพ่อแม่ร่วมใจพัฒนาเด็กไทยเป็นอัจฉริยะ และศึกษาผลของกระบวนการค่าย ต่อการเปลี่ยนแปลงของเด็กในด้านความฉลาดทางอารมณ์ (IQ) ความฉลาดทางสังคม (SQ) ประชากรกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้น ป.4-ม.2 จำนวน 48 คน ผู้ปกครอง 48 คน ครู 6 คน เครื่องมือวิจัยคือ หลักสูตรการเข้าค่ายแทนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม ไปรษณียบัตร เครื่องบันทึกภาพและเสียง วิธีดำเนินการวิจัย ขั้นวางแผนมีการประชุมครู ทีมนักวิจัยและเพื่อสร้างความเข้าใจในแผนการเรียนรู้ทั้งหมด 1 วัน ดำเนินการเข้าค่าย 5 วัน 4 คืน ณ. เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น โดยให้ผู้ปกครองร่วมเข้าค่ายกับลูกในวันแรก และวันสุดท้ายของการเข้าค่าย หลังการเข้าค่าย ปล่อยให้เด็กและผู้ปกครองกลับไปดำเนินชีวิตในบริบทที่เป็นจริงโดยไม่มีการควบคุมตัวแปรใดๆ มีการประเมินผลระหว่างเข้าค่ายและหลังเข้าค่าย 3 เดือน ด้วยการสังเกต สัมภาษณ์ สอบถาม ที่บ้าน โรงเรียน และที่ทำงานของบิดามารดา ส่งไปรษณียบัตรและแบบสอบถามให้ตอบกลับ ประชุมประเมินผลหลังเข้าค่าย เสาวนากลุ่มย่อย และให้เขียนประสบการณ์ในค่าย วิเคราะห์ข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการค่ายพ่อแม่ร่วมใจพัฒนาเด็กไทยอัจฉริยะ เป็นหลักสูตรการอบรมที่มีวัตถุประสงค์และกิจกรรมการเรียนรู้ที่บรรลุวัตถุประสงค์สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กจิตสำนึกอันเป็นบ่อเกิดแห่งพฤติกรรม 6 บ่อ ตามทฤษฎีไวโคโชว์ สามารถทำให้เด็กพัฒนาระบบการคิดทำให้มีความรับปิดชอบมากขึ้น และมีความกล้าคิดกล้าแสดงออก ตามความคิดของตน ร้อยละ 100 รองลงคือมีการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์โดยมีการควบคุมความโกรธเพื่อน เพิ่มความมีคุณธรรมจริยธรรม รักพ่อแม่มากขึ้น กระบวนการเรียนรู้ที่เด็กชอบมากที่สุดคือ Spiderman เพราะในขณะที่กำลังรู้สึกทุกข์ใจเป็นที่สุดได้มีเพื่อนเข้ามาช่วยจึงรู้สึกร่วมประทับใจมาก จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณพบว่า ด้านความฉลาดคิด รู้จักควบคุมตนเอง ความเห็นใจและเข้าใจผู้อื่น แรงจูงใจตนเอง ความฉลาดคิดตัดสินใจและฉลาดแก้ไขปัญหา ความมีมนุษย์สัมพันธ์ และมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น ความภาคภูมิใจในตนเอง ความมีคุณธรรมจริยธรรม และพอใจในชีวิตตนเอง ความรู้สึกมีสุขและสงบทางจิต เหล่านี้มีการเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น หลังอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งที่เด็กประเมินตนเองและผู้ปกครองประเมินเด็ก ข้อเสนอแนะ ควรมีการเผยแพร่กระบวนการค่ายพ่อแม่ร่วมใจพัฒนาเด็กไทยเป็นอัจฉริยะให้มีการอบรมเด็กทุกคน เพื่อปรับจิตสำนึกของเด็กป้องกันปัญหาที่จะเกิดกับเด็กและเยาวชนต่อไป

Keywords: ค่าย, ค่ายพ่อแม่, สุขภาพจิต, เด็กวัยเรียน, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, ค่ายพ่อแม่ร่วมใจ, ความฉลาดทางอารมณ์, ความฉลาดทางสังคม IQ, SQ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: ศูนย์อนามัยที่ 6 จังหวัดขอนแก่น.

Code: 2007000253

ISSN/ISBN: 978-974-8102-25-2

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2550

Download: