ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ธรณินทร์ กองสุข

ชื่อเรื่อง/Title: ลักษณะทางจิตสังคมในผู้ป่วยโรคจิตจากเมทแอมเฟตามีน Psychosocial Features in Methamphetamine Psychosis Patient

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 2, สุขภาพจิตกับยาเสพติด ปี 2546, หน้า 83. (วันที่ 19-21 สิงหาคม 2546 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร)

รายละเอียด / Details:

ผู้ที่เสพสารเมทแอมเฟตามีน ในขนาดสูงๆ ทำให้เกิดอาการทางจิตชนิดเฉียบพลัน และบางรายมีอาการทางจิตเรื้อรังซึ่งมีผู้ป่วยโรคจิตจาการเสพเมทแอมเฟตามีนเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย ดังนั้นเพื่อเป็นการหาแนวทางในการป้องกันการเกิดอาการทางจิต และให้การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคจิตจากการเสพสารเมทแอมเฟตามีน กรมสุขภาพจิต จึงได้ทำการศึกษาวิจัยในระดับภาพรวมของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางจิตสังคมในผู้ป่วยโรคจิตจากเมทแอมเฟตามีน เป็นการวิจัยแบบ Cross-sectional Descripitive Study กลุ่มประชากรที่ศึกษาคือ ผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยเป็น Amphetamine induced psychotic disorder ไม่จำกัดเพศ อายุ 15-45 ปี จำนวน 180 คน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจิตเวช 8 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสวนปรุง โรงพยาบาลศรีธัญญา โรงพยาบาลสมเด็จเจ้ารพะยา โรงพยาบาลนิติจิตเวช โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น และโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2544-31 พฤษภาคม 2545 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ โดยคณะวิจัยในแต่ละโรงพยาบาล เป็นผู้รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าสถิติ ร้อยละ Means S.D. สรุปผลการวิจัย ผู้ป่วยโรคจิตจาก เมทแอมเฟตามีน ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว (ร้อยละ 68.1) มีแม่เป็นผู้เลี้ยงดู (ร้อยละ 39.4) และมีความอบอุ่น (ร้อยละ 79.2) บิดามารดาอยู่ด้วยกันอย่างราบรื่น (ร้อยละ 44.7) และมีความคาดหวังต่อผู้ป่วยอย่างเหมาะสม (ร้อยละ 46.7) รู้สึกในครอบครัวเดิมมีความสุขดี (ร้อยละ 87.3) ไม่มีผู้ขายในครอบครัว (ร้อยละ 91.8) จาการเสพทำให้มีผลต่อการด่าทอ และรังเกียจในครอบครัว (ร้อยละ 65.2) เป็นภาระ (ร้อยละ62.8) และทำให้บรรยากาศไม่น่าอยู่ (ร้อยละ53.4) ส่วนใหญ่เริ่มเสพเพราะอยากทดลอง (ร้อยละ 55.2) มีความคิดอยากจะเลิกเสพ (ร้อยละ 91.7) สาเหตุที่กลับไปเสพซ้ำเพราะสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 47.8) หาแหล่งซื้อขายได้ง่าย (ร้อยละ 22.2) เมื่อเสพแล้วมีผลกระทบต่อสุขภาพ (ร้อยะล 71.3) ทำให้เรียนไม่ดี ขาดเรียน (ร้อยละ 76.5) และมีผลกระทบต่อตนเองด้านเศรษฐกิจ (ร้อยละ 56.6) ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อให้หายเหงา (ร้อยละ 66.3) ไม่ได้ใช้เพราะว่าทำให้ไม่ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งใด (ร้อยละ 81.1) ส่วนใหญ่พบว่ามีปัญหาในการสร้างสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน (ร้อยละ 64.3) มีเพื่อนที่ใกล้ชิดเสพ (ร้อยละ 68.0) ในชุมชนมีการเสพ และการขาย (ร้อยะล 74.8) และ (ร้อยละ 78.2) ตามลำดับ แต่ผู้ป่วยไม่ได้ขายเอง (ร้อยละ 80.1) และคิดว่าสื่อบุคคลมีผลต่อการเสพมากที่สุด (ร้อยละ 44.8) ไม่พบว่ามีการจับกุมกันอย่างจริงจัง (ร้อยละ 56.4) ได้รับความสุข สนุก คลายเครียดจากการเสพ (ร้อยละ 31.9) และไม่ได้รับประโยชน์ (ร้อยละ 41.5)

Keywords: เมทแอมเฟตามีน, จิตสังคม, ยาบ้า, ยาเสพติด, สารเสพติด, อาการทางจิต, โรคจิต, จิตเวช, amphetamine, psychiatry, psychosis

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: โรงพยาบาลจิตเวชเลย กรมสุขภาพจิต

Code: 0000006

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -