ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: เจษฎา จงไพบูลย์พัฒนะ, ทัปปณ สัมปทณรักษ์,บุญโชค วินทสิทธิ์.

ชื่อเรื่อง/Title: การเกิดอาการแพนิคกับประวัติการใช้สารเสพติดโดยเฉพาะกัญชาความสัมพันธ์ที่น่าสนใจ.

แหล่งที่มา/Source: บทคัดย่อผลงานวิชาการ กระทรวงสาธาณสุขประจำปี 2550, ณ.โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่, วันที่ 29-31 สิงหาคม 2550, หน้า 147.

รายละเอียด / Details:

ยาอัลพาโซแลม ที่ใช้ในการรักษาโรคแพนิค หรือมีการนำไปใช้ในการรักษาอาการนอนหลับอย่างผิดวิธีได้พวกมิจฉาชีพนำมาใช้มอมยา กับนายตำรวจท่านหนึ่งจนเสียชีวิตเมื่อร่วมกับสุราและอาจได้ในขนาดสูง นอกจากนั้นในอดีตมักเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้งถึงผู้ที่ฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะผู้ที่มีชื่อเสียงหลายท่านมีประวัติการซื้อยาเหล่านี้มารับประทานเองและร่วมกับการดื่มสุรา จนนำไปสู่การฆ่าตัวตายก็เป็นสิ่งที่น่าสังเกตเช่นกัน เป็นที่ทราบกันดีว่าสารเสพติดหลายชนิด สัมพันธ์กับการเกิดอาการทางจิต จากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยโดยการซักประวัติและตรวจสอบย้อนหลังของผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลด้วยอาการแพนิค พบว่ามีสัดส่วนเป็นจำนวนมากที่มีประวัติในอดีตเคยทดลองหรือใช้สารเสพติดประเภทกัญชา ซึ่งส่งผลต่ออาการทางจิตได้หลากหลาย และอาจพบร่วมกับการใช้สารเสพติดชนิดอื่นร่วมด้วย นอกจากนี้ยังสามารถมาโรงพยาบาล ด้วยอาการแพนิคกำเริบหรือเกิดอาการเป็นครั้งแรก การให้การรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น และจากการรักษาผู้ป่วยเหล่านี้ ยาอัลพาโซแลมอาจไม่จำเป็นต้องใช้เสมอไป ในการรักษาผู้ป่วยโรควิตกกังวลโดยเฉพาะอาการแพนิค และอาจให้การรักษาด้วย ยาต้านโรคจิตขนาดต่ำ ยาต้านเศร้าขนาดต่ำ โคลนิดีน วิตามิน ในผู้ป่วยแพนิคที่มีประวัติการใช้สารเสพติดประเภทกัญชามาก่อนในอดีต การศึกษานี้เพื่อหาความสัมพันธ์กันของอาการแพนิคกับประวัติสารเสพติดที่ใช้โดยเฉพาะกัญชา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยใหม่ที่มีอาการแพนิคครั้งแรกหรือครั้งที่สอง และผู้ป่วยที่มาปี พ.ศ. 2549 โดยมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน แต่สามารถทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นได้เช่นกัน จากผู้ป่วยเก่าที่มีอาการแพนิค มานานหลายครั้งและมารักษาก่อนปี พ.ศ. 2549 ทำแบบสำรวจจากประชาชนทั่วไปจำนวน 200 คน จากการศึกษาผู้ป่วยทั้งหมด 1,600 ราย ผู้ป่วยโรคแพนิค 101 ราย พบคิดเป็นร้อยละ 6.31 เป็นหญิง 42 ราย ชาย 59 ราย คิดเป็นอัตราส่วน 0.71:1 ผู้ป่วยใหม่พบใช้กัญชา 8 ราย ผู้ป่วยเก่าที่ชักเพิ่มได้ใช้กัญชา 7 ราย ศึกษาแบบสอบถาม 188 ราย พบว่า ผู้ที่มีประวัติเคยใช้กัญชามีโอกาสเกิดอาการแพนิคเป็น 6 เท่ามากกว่าคนปกติทั่วไป (OR=5.78,CI 95% 4.19-7.89) อาการทางจิตหลายชนิดที่ผลกระทบมาจากสารเสพติดเป็นเรื่องที่น่าทำการศึกษาเพิ่มเติมไม่ว่าจะในรูปแบบของอาการที่เกิดร่วม (Comorbidity) หรือเป็นอาการที่สอง (Second Diagnosis) หรือภาวะแทรกซ้อน (Complication) ตราบใดที่เรายังไม่รู้ อาการแพนิคสัมพันธ์กับประวัติการใช้หรือทดลองใช้สารเสพติดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเฉพาะกัญชา และเป็นเพศชายทั้งในกลุ่มผู้ป่วยและประชาชนทั่วไปรวมทั้งการให้การรักษาที่อาจไม่จำเป็นต้องใช้ยา อัลพาโซแลม ในผู้ป่วยเคยใช้สารเสพติด เพราะเสี่ยงต่อการติดยาตัวนี้ได้อีก และอาจเกิดปัญหาในการใช้ยาในทางที่ผิดได้ด้วย หากไม่ได้รับการรักษาโดยแพทย์หรือจิตแพทย์ (ผู้ป่วยมีแนวโน้มซื้อยากินเองพบในหลายราย) การซักประวัติเรื่องสารเสพติดนั้นแพทย์จะได้ให้ความสำคัญในทุกๆ อาการทางจิตที่มาโรงพยาบาลด้วย เพื่อประโยชน์ในการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมและเข้าใจ กลไกการเกิดอาการเหล่านี้มากขึ้น

Keywords: กัญชา, แพนิค, โรควิตกกังวล, สารเสพติด, ยาอัลพาโซแลม, ยาเสพติด, มิจฉาชีพ, โรคแพนิค, ฆ่าตัวตาย

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต.

Code: 2007000264

ISSN/ISBN: 978-974-8102-25-2

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2550

Download: