ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุพิน พิมพ์เสน, วรางรัตน์ ทะมังกลาง, เพ็ญจิต เลียวลิขิต, สกาวรัตน์ ภูผา, จิตรประสงค์ สิงห์นาง

ชื่อเรื่อง/Title: การจัดการทางการพยาบาลกับผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมรุนแรงของเจ้าหน้าที่พยาบาลโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัยเรื่องการจัดการทางการพยาบาลกับผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมรุนแรงของเจ้าหน้าที่พยาบาลโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น,พ.ศ. 2537

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจการจัดการทางการพยาบาลกับผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมรุนแรงของเจ้าหน้าที่พยาบาลโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น ตัวอย่างประชากรคือ เจ้าหน้าที่พยาบาลโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น ในช่วงระยะเวลาที่ศึกษา 2 สัปดาห์ และยินดีให้ความร่วมมือในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 40 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถามการจัดการทางการพยาบาลกับผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมรุนแรง ซึ่งครอบคลุมกระบวนการทั้ง 4 ขั้นตอน คือแบบสอบถามการจัดการทางการพยาบาลกับผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมรุนแรง ซึ่งครอบคลุมกระบวนการทั้ง 4 ขั้นตอน คือการประเมินปัญหาการพยาบาล การวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาล และการประเมินผลการพยาบาล ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง จากนั้นนำไปหาตามตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรง คุณวุฒิ 5 ท่าน และหาความเที่ยงของเครื่องมือได้เท่ากับ 0.79 ผลการวิจัยพบว่า 1. เจ้าหน้าที่พยาบาลโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วงผู้ใหญ่ตอนต้น สถานภาพสมรสแต่งงานอยู่ด้วยกัน ระดับการศึกษาปริญญาตรี และต่ำกว่าปริญญาตรีเท่ากัน 2. การจัดการทางการพยาบาลกับผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมรุนแรงของเจ้าหน้าที่พยาบาลโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นที่มีอายุต่างกัน มีการจัดการทางการพยาบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. การจัดการทางการพยาบาลกับผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมรุนแรงของเจ้าหน้าที่พยาบาลโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน พบว่ามีการจัดการทางการพยาบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. การจัดการทางการพยาบาลกับผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมรุนแรงของเจ้าหน้าที่พยาบาลโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน พบว่ามีการจัดการทางการพยาบาลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 5. การนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ในการจัดการทางการพยาบาลกับผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมรุนแรง ส่วนใหญ่มีระดับความเหมาะสมต่ำ 6. การนำกระบวนการพยาบาลแต่ละขั้นตอนมาใช้ในการจัดการทางการพยาบาลกับผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมรุนแรงพบว่า ขั้นประเมินปัญหาการพยาบาลมีระดับความเหมาะสมพอใช้ ส่วนขั้นวางแผนการพยาบาล ขั้นปฏิบัติการพยาบาล และขั้นประเมินผลการพยาบาลมีระดับความเหมาะสมต่ำ

Keywords: nurse, psychiatric nursing violence behavior, การพยาบาลจิตเวช ผู้ป่วยพฤติกรรมรุนแรง, ปฏิบัติการพยาบาล, ผู้ป่วยจิตเวช

ปีที่เผยแพร่/Year: 2537

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 300370000009

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -