ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: บุญวดี เพชรรัตน์, พิไลรัตน์ ทองอุไร

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาปัญหาความวิตกกังวลของญาติต่อผู้ป่วยทางจิต.

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัยเรื่อง การศึกษาปัญหาความวิตกกังวลของญาติต่อผู้ป่วยทางจิต, พ.ศ. 2529

รายละเอียด / Details:

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาความวิตกกังวลของญาติต่อผู้ป่วยทางจิต เน้นการศึกษาเฉพาะปัญหาความวิตกกังวลของญาติต่อผู้ป่วยทางจิตในด้านอาการและการดูแลผู้ป่วย กับด้านสังคม และเศรษฐกิจของผู้ป่วยและญาติ โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของปัญหาความวิตกกังวลของญาติโดยรวม และเฉพาะปัญหาความวิตกกังวลด้านอาการและการดูแลผู้ป่วย ด้านสังคมและเศรษฐกิจของผู้ป่วย และญาติในกลุ่มตัวแปรต่างๆ ได้แก่ เพศช่วงอายุ ศาสนา ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส สถานภาพภายในครอบครัว ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย อาชีพ และระดับฐานะทางเศรษฐกิจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นญาติของผู้ป่วยทางจิตซึ่งรับไว้ในหอผู้ป่วยจิตเวชของโรงพยาบาลประสาทสงขลาอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2529 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2530 ซึ่งผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเก็บรวบรวมกลุ่มตัวอย่างแบบอุบัติการณ์ (Accidental Sampling) จำนวนทั้งสิ้น 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสำรวจปัญหาความวิตกกังวลของญาติต่อผู้ป่วยทางจิต ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 32 ข้อ เป็นปัญหาความวิตกกังวลของญาติในด้านอาการและการดูแลผู้ป่วย จำนวน 15 ข้อ และด้านสังคมและเศรษฐกิจของผู้ป่วยและญาติจำนวน 17 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.7347 และ 0.7970 ตามลำดับ และค่าความเชื่อมั่นของแบบสำรวจดังกล่าวทั้งฉบับเท่ากับ 0.8873 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อของแบบสำรวจ ตั้งแต่ 1.75 ขึ้นไป ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากญาติผู้ป่วยทางจิตโดยวิธีสัมภาษณ์ กรณีที่ญาติผู้ป่วยทางจิตไม่สามารถอ่านหนังสือได้ และให้ญาติตอบแบบสำรวจด้วยตนเอง ในกรณีที่ญาติผู้ป่วยทางจิตสามารถอ่านหนังสือได้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ประมวลข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือกลโปรแกรม SPSS สูตรทางสถิติใช้ในการเปรียบเทียบความ เมื่อเปรียบเทียบปัญหาความวิตกกังวลของญาติต่อผู้ป่วยทางจิตระหว่างด้านอาการและการดูแลผู้ป่วย กับด้านสังคมและเศรษฐกิจของผู้ป่วยและญาติในกลุ่มตัวอย่างเดียวกันแล้ว พบว่า ญาติผู้ป่วยทั้งเพศชาย และเพศหญิง ต่างมีปัญหาความวิตกกังวลต่อผู้ป่วยทางจิตระหว่างด้านอาการและการดูแลผู้ป่วย กับด้านสังคมและเศรษฐกิจของผู้ป่วยและญาติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในด้านช่วงอายุพบว่า ญาติผู้ป่วยทางจิตทุกช่วงอายุ มีปัญหาความวิตกกังวลต่อผู้ป่วยทางจิตระหว่างสองด้านดังกล่าว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ยกเว้นญาติผู้ป่วยทางจิตที่มีช่วงอายุ 19.25 ปี จะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านศาสนาพบว่า ญาติผู้ป่วยทางจิตที่นับถือศาสนาพุทธ และอิสลาม ต่างมีปัญหาความวิตกกังวลต่อผู้ป่วยทางจิต ระหว่างปัญหาความวิตกกังวลต่อผู้ป่วยทางจิต ระหว่างปัญหาความวิตกกังวลสองด้านนี้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เช่นเดียวกับญาติผู้ป่วยทางจิตทุกระดับการศึกษา และทุกสถานภาพสมรส ซึ่งมีปัญหาความวิตกกังวลต่อผู้ป่วยทางจิตระหว่างสองด้านนี้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ยกเว้นญาติผู้ป่วยทางจิตที่มีสถานภาพสมรสคือ สมรสแต่แยกกันอยู่ จะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัญหาความวิตกกังวลของญาติต่อผู้ป่วยทางจิตระหว่างด้านอาการและการดูแลผู้ป่วย กับด้านสังคมและเศรษฐกิจของผู้ป่วยและญาติ จำแนกตามสถานภาพภายในครอบครัวจะพบว่า ญาติผู้ป่วยทางจิตทุกสถานภาพต่างก็มีปัญหาความวิตกกังวลต่อผู้ป่วยทางจิตระหว่างความวิตกกังวลสองด้านนี้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในด้านความสัมพันธ์กับผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยที่เป็นบิดามารดา สามีภรรยา พี่ หรือน้อง จะมีปัญหาความวิตกกังวลต่อผู้ป่วยทางจิตระหว่างความวิตกกังวลสองด้านนี้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ญาติสนิทจะมีปัญหาความวิตกกังวลต่อผู้ป่วยทางจิต ระหว่างความวิตกกังวลสองด้านนี้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนบุตรจะไม่มีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านอาชีพ พบว่า ญาติผู้ป่วยทางจิตอาชีพค้าขาย รับราชการ และเกษตรกร ต่างมีปัญหาความวิตกกังวลต่อผู้ป่วยทางจิตระหว่างด้านอาการและการดูแลผู้ป่วยกับด้านสังคมและเศรษฐกิจของผู้ป่วยและญาติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อาชีพนอกจากนี้จะไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนในด้านระดับฐานะทางเศรษฐกิจนั้น พบว่า ญาติผู้ป่วยทางจิตที่มีระดับฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง และยากจนต่างมีปัญหาความวิตกกังวลระหว่างด้านดังกล่าว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ยกเว้นญาติผู้ป่วยทางจิตที่มีระดับฐานะทางเศรษฐกิจ ดีมาก จะไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แตกต่างของปัญหาความวิตกกังวลของญาติได้แก่ Mann-Whktney u-test, Kruskall Wallis และ Wilcoxon ผลการศึกษาวิจัย ผลการศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ญาติผู้ป่วยร้อยละ 52.1 เป็นเพศชาย และการร้อยละ 47.9 เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 36-55 ปี นับถือศาสนาพุทธ มีระดับการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 6 ลงมา สถานภาพสมรส คือ สมรสและอยู่ด้วยกันสถานภาพภายในครอบครัวคือ เป็นสมาชิกซึ่งหารายได้ให้ครอบครัว มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยโดยเป็นมารดา อาชีพเกษตรกรรม และมีระดับฐานะทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง และเมื่อเปรียบเทียบปัญหาความวิตกกังวลของญาติต่อผู้ป่วยทางจิตโดยรวม และเฉพาะปัญหาความวิตกกังวลของญาติต่อผู้ป่วยทางในจิตด้านอาการและการดูแลผู้ป่วย กับด้านสังคมและเศรษฐกิจของผู้ป่วย และญาติในกลุ่มตัวแปรต่าง ๆ พบว่า 1. ญาติผู้ป่วยทางจิตที่มีเพศ ช่วงอายุ ศาสนา สถานภาพสมรส สถานภาพภายในครอบครัว ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย อาชีพ และระดับฐานะทางเศรษฐกิจ ที่แตกต่างกัน มีปัญหาความวิตกกังวลต่อผู้ป่วยทางจิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นญาติผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน จะมีปัญหาความวิตกกังวลต่อผู้ป่วยทางจิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2. ญาติผู้ป่วยทางจิตที่มีเพศ ช่วงอายุ ศาสนา สถานภาพสมรส สถานภาพภายในครอบครัว ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย อาชีพ และระดับฐานะทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันมีปัญหาความวิตกกังวลต่อผู้ป่วยทางจิตในด้านอาการและการดูแลผู้ป่วยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ญาติผู้ป่วยทางจิตที่มีเพศ ช่วงอายุ ศาสนา สถานภาพสมรส สถานภาพ ภายในครอบครัว ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย และระดับฐานะทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน มีปัญหาความวิตกกังวลต่อผู้ป่วยทางจิตในด้านสังคมและเศรษฐกิจของผู้ป่วยและญาติ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นญาติผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกัน จะมีปัญหาความวิตกกังวลต่อผู้ป่วยทางจิตในด้านสังคมและเศรษฐกิจของผู้ป่วยและญาติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ

Keywords: ความวิตกกังวล, วิตกกังวล, ญาติผู้ป่วย, ผู้ป่วยจิตเวช, จิตเวช, anxiety, family, psychotic patient, psychiatry

ปีที่เผยแพร่/Year: 2529

Address: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Code: 379290000002

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -