ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ศุภรัตน์ เวชสุวรรณ

ชื่อเรื่อง/Title: แอโรบิกด๊านซ์เพื่อสุขภาพ

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 2, สุขภาพจิตกับยาเสพติด ปี 2546, หน้า 172-173. (วันที่ 19-21 สิงหาคม 2546 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร)

รายละเอียด / Details:

จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันเป็นเหตุให้ประชาชน ต้องดิ้นรนในการประกอบอาชีพ ไม่มีเวลา เอาใจใส่ต่อสุขภาพของตนเองและครอบครัว รวมทั้งความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตประจำวัน จนขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ได้ เข่น โรคหัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง และทำสำคัญอาจก่อให้เกิดภาวะเครียด ซึ่งจะส่งให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมาได้ แอโรบิคดานซ์เป็นกิจกรรมการออกกำลังายที่สามารถปรับควาวหนักเบาได้ตามความเหมาะสมของแต่ละคน เป็นการบริหารร่างกายประกอบดนตรี เป็นกิจกรรมที่สนุกสนานผสมการเดินวิ่ง กระโดด เต้นรำ ต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 15 นาที สามารถเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจได้ ในระดับความเข้มที่ต้องการ และมีการใช้กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสามารถป้องกันโรคต่างๆ ได้ให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดให้มีการสร้างสุขภาพ เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ได้ออกกำลังกายอย่างถูกต้องเหมาะสมและต่อเนื่อง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมให้บุคลากร และประชาชนเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 2. เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชนทั่วไป 3. เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปและความคิดเห็นต่อกิจกรรมการออกกำลังกายของผู้มาออกกำลังกาย เป้าหมาย บุคลากร ผู้ป่วย และประชาชน จำนวน 50 คน วิธีการศึกษา 1. ทดสอบสมรรถภาพก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมแอโรบบิกด๊านซ์ 2. จัดกิจกรรมออกกำลังกายแบบแอโรบิกด๊านซ์ ทุกวันราชการ เวลา 17.00-18.00 น.ล 3. เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินผลโครงการออกกำลังกาย จากผู้ที่มาออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 วัน ระหว่างวันที่ 16 ตุลาคม 2545ถึง 31 มีนาคม 2546 4. วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ร้อยละ ผลการศึกษา จากการศึกษาพบว่า บุคลากรและประชาชนเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย จากจำนวนผู้ที่มาออกออกกำลังกายในเดือนตุลาคม เฉลี่ยวันละ 18 และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงเดือนมีนาคม เฉลี่ยวันละ 26 คน มีจำนวนผู้มาออกกำลังกายทั้งหมด 107 คน เป็นบุคลากร 81 คน ประชาชน 26 คน อายุสูงสุด 60 ปี อายุต่ำสุด 7 ปี จากจำนวนผู้มาออกกำลังกายทั้งหมด มีผู้ออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 วัน จำนวน 40 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 92.5 อายุอยู่ในช่วง 40-49 ปี ร้อยละ 45 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 55 การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 57.5 อาชีพรับราชการ ร้อยละ 50 ส่วนความคิดเห็นต่อกิจกรรมการออกกำลังกาย ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 80 ข้อคิดเห็นจากสมาชิกที่มีโรคประจำตัว มีอาการดีขึ้น ลดจำนวนการใช้ยาลง ร้อยละ 80 บอกว่าสุขภาพดีขึ้น ร่างกายกระชับขึ้น นอนหลับดี และคิดว่าการออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน แม้มีอุปสรรค เช่น ฝนตก แดดร้อน ที่มาออกกำลังกาย ผลการทดสอบสมรรถาภพ จำนวน 25 ราย พบว่า สมรรถาภพทางกายดีขึ้น ร้อยละ 70 ส่วนน้ำหนักตัวลดลงร้อยละ 50 ส่วนน้ำหนักไม่ลดบอกว่ารับประทานอาหารได้มากไม่ควบคุมอารมณ์ ข้อเสนอแนะ ผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำให้สุขภาพดีขึ้นทั้งกายและจิตใจ แต่ยังมีผู้มาออกกำลังกายน้อย เมื่อเทียบกับจำนวนบุคลากรทั้งหมด ควรจะมีการะชาสัมพันธ์ ปรับปรุงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบการออกกำลังกายให้มีความน่าสนใจมากขึ้น ควรมีการทดสอบสมรรถภาพทุก 3 เดือน ครอบทุกคน จัดให้มีการออกกำลังกายหลายรูปแบบอย่างสม่ำเสมอทุกหน่วยงาน หรือทุกชุมชนและจัดกิจกรรมออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องตลอดไป

Keywords: แอโรบิกด๊านซ์เพื่อสุขภาพ, ออกกำลังกาย, สุขภาพจิต

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต

Code: 00000066

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -