ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ช่อกิ่ง แววศักดิ์

ชื่อเรื่อง/Title: แนวทางการดำเนินงานดูแลผู้ป่วยซึมเศร้าและผู้พยายามฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 2, เรื่อง เรียนรู้เพื่อการบำบัดโรคซึมเศร้าและการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย, วันที่ 25-28 กรกฎาคม 2550 ณ. โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย, หน้า 35.

รายละเอียด / Details:

จังหวัดนครศรีธรรมราชประกอบด้วย 23 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ โรงพยาบาลชุมชน 18 แห่ง มีโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช เป็นโรงพยาบาลศูนย์ซึ่งเป็นแม่ข่ายระดับจังหวัดที่ให้บริการผู้ป่วยทั้งในจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง โดยมีกลุ่มงานจิตเวชเป็นหน่วยงานที่ให้บริการผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช โดยมีกลุ่มงานจิตเวชเป็นหน่วยงานที่ให้บริการผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช โดยทีมสหสาขาวิชาชีพประกอบด้วยจิตแพทย์ พยาบาลจิตเวชและนักจิตวิทยา ซึ่งให้การดูแลครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม มีการดำเนินงานดูแลผู้มีภาวะซึมเศร้าและพยายามฆ่าตัวตายภายในโรงพยาบาล โดยจัดทำ clinical practice gideline ในการดูแลผู้พยายามฆ่าตัวตายและแนวทางการส่งปรึกษาในโรงพยาบาล นอกจากนี้มีการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน โดยมีการส่งต่อสถานบริการใกล้บ้านและกลุ่มงานจิตเวชติดตามเยี่ยมบ้านเองหากผู้ป่วยอาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาล ซึ่งมียอดผู้พยายามฆ่าตัวตายที่มารับบริการที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ปีงบประมาณ 2548 จำนวน 224 ราย ปี 2549 จำนวน 164 ราย และตั้งแต่ ต.ค. 2549- พ.ค. 2550 จำนวน 123 ราย อัตราผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ ปี 2548 2.6 ต่อแสนประชากร ปี 2549 0.83 ต่อแสนประชากร ตั้งแต่ ต.ค. 2549-พ.ค. 2550 1.62 ต่อแสนประชากร การดูแลช่วยเหลือผู้มีภาวะซึมเศร้า กลุ่มงานจิตเวชได้ขยายการคัดกรองผู้มีภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคทางกาย โดยมีการคัดกรองผู้มีภาวะซึมเศร้าในผู่ปวยโรคหลอดเลือดสมองที่มารักษาตัวในโรงพยาบาลที่ตึกอายุรกรรม การคัดกรองในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม และมีการคัดกรองผู้ป่วย โรคเรื้อรังในชุมชน เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองที่มีความพิการทางร่างกาย โดยอาสาสมัครดูแลต่อเนื่องที่บ้านของสถานีอนามัยในเครือข่ายโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช การปฏิบัติงานในฐานะแม่ข่าย โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช มีบทบาทเป็นที่ปรึกษาให้กับโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัยทุกแห่งในในจังหวัดนครศรีธรรมราช และมีการประชุมเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชน ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุก 3 เดือน เพื่อให้ความรู้พัฒนาบุคลากรและวางแผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาร่วมกัน สรุปผลการดำเนินงานพบว่ายังขาดการติดตามการพยายามทำร้ายตนเองซ้ำอย่างเป็นรูปแบบที่ชัดเจน ซึ่งกำลังวางแผนการดำเนินการเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยซึมเศร้า และพยายามฆ่าตัวตายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Keywords: ซึมเศร้า, ฆ่าตัวตาย, สุขภาพจิต, จิตเวช, โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช, กลุ่มงานจิตเวช, ภาวะซึมเศร้า, เสี่ยงฆ่าตัวตาย, โรงพยาบาลชุมชน, พยายามฆ่าตัวตาย, จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช

Code: 200700057

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 2

Download: