ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: นิยดา ทรงสุคนธ์

ชื่อเรื่อง/Title: การป้องกันการแก้ปัญหาการฆ่าตัวตาย (การกระจายอำนาจสู่วัด ลดละ การฆ่าตัวตาย)

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 2, เรื่อง เรียนรู้เพื่อการบำบัดโรคซึมเศร้าและการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย, วันที่ 25-28 กรกฎาคม 2550 ณ. โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย, หน้า 36.

รายละเอียด / Details:

บทนำข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่พบในพื้นที่จากการรวบรวมข้อมูลการฆ่าตัวตายในเครือข่ายบริการของโรงพยาบาลอุทัยธานี ในปี 2547 อัตราการพยายามฆ่าตัวตาย 85.05 ต่อแสนประชากร อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ 11.7 ต่อแสนประชากร ในปี 2548 อัตราการพยายามฆ่าตัวตาย 56.70 ต่อแสนประชากร อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ 5.00 ต่อแสนประชากร ในปี 2549 พบดังนี้คือ อัตราการพยายามฆ่าตัวตาย 40 ราย คิดเป็น 68.95 ต่อแสนประชากร อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ 6 ราย คิดเป็น 10.34 ต่อแสนประชากร ซึ่งอัตราการพยามยามฆ่าตัวตายสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ข้อมูลผู้ทำร้ายตนเอง ปีงบประมาณ 2550 ตั้งแต่ ตุลาคม 2549-มิถุนายน 2550 ประชากรเครือข่ายปฐมภูมิโรงพยาบาลอุทัยธานีจำนวน 57,986 คน จำนวนผู้พยายามฆ่าตัวตาย 27 คน คิดเป็น 44.83 ต่อแสนประชากร ฆ่าตัวตายสำเร็จ (ชาย) 1 คน คิดเป็น 1.72 ต่อแสนประชากร ผู้พยายามฆ่าตัวตายแต่ไม่สำเร็จ 26 คน คิดเป็น 46.56 ต่อแสนประชากร วัตถุประสงค์ เพื่อให้วัดในเครือข่ายปฐมภูมิโรงพยาบาลอุทัยธานี มีบทบาทในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิต กลุ่มเป้าหมาย วัดในเขตเครือข่ายปฐมภูมิโรงพยาบาลอุทัยธานี จำนวน 49 แห่ง วิธีการศึกษา จากการรวบรวมข้อมูลการฆ่าตัวตายในเครือข่ายบริการของโรงพยาบาลอุทัยธานี ในปี 2549 พบดังนี้คือ อัตราการพยายามฆ่าตัวตาย 40 ราย คิดเป็น 68.95 ต่อแสนประชากรอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ 6 ราย คิดเป็น 10.34 ต่อแสนประชากร ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ดังยั้นกลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลอุทัยธานี ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการฆ่าตัวตาย ซึงจัดทำโครงการอบรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตจากวัดสู่ชุมชน โดยมุ่งหวังเพื่อการป้องกันปัญหาการพยายามฆ่าตัวตาย และลดอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จโดยการจัดเตรียมแบบฟอร์มต่างๆ และเอกสารความรู้เกี่ยวกับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิต เพื่อจัดส่งให้วัดใช้ประกอบการเผยแพร่ความรู้ประสานงานกับสำนักงานพระพุทธศาสนาและเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการฯ ส่งหนังสือราชการประสานงานกับวัดในเครือข่ายปฐมภูมิโรงพยาบาลอุทัยธานี จำนวน 49 แห่ง เพื่อขอความร่วมมือในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิต โดยให้โฆษกประจำวัด ประกาศให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนที่มาร่วมทำบุญตักบาตรในวันพระ ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ เดือนมกราคม-มิถุนายน 2550 ส่งหนังสือราชการขอความร่วมมือวัดในการตอบแบบประเมินความคิดเห็นโครงการฯ ให้บริการปรึกษาช่วยเหลือเบื้องต้น ส่งต่อ และติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องแก่ผู้ที่พบภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายที่ได้รับการส่งต่อจากชุมชน ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ งบประมาณ จากงบประมาณเงินบำรุงโรงพยาบาลอุทัยธานี เป็นจำนวน 598 บาท ผลการประเมินความคิดเห็นโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตจากวัดสู่ชุมชน ปีงบประมาณ 2550 ข้อมูลทั่วไป จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 39 คน 1.1 เพศ ชาย จำนวน 38 คน ร้อยละ 97.4 หญิง จำนวน 1 คน ร้อยละ 2.6 1.2 ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัด 32 คน ร้อยละ 82 พระภิกษุ จำนวน 5 คย ร้อยละ 12.8 ไม่ตอบ จำนวน 2 คน ร้อยละ 5.2 1.3 ทำหน้าที่เป็นผู้ประกาศข้อมูลข่าวสารต่างๆ ภายในวัด จำนวน 35 คน ร้อยละ 89.8 ไม่ได้ทำหน้าที่ผู้ประกาศข่าวสารฯ จำนวน 2 คน ร้อยละ 5.1 ไม่ตอบ จำนวน 2 คน ร้อยละ 5.1 1.4 วัดให้ความร่วมมือประกาศเสียงตามสาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ด่นสุขภาพจิต ทุกวันพระ จำนวน 10 แห่ง ร้อยละ 25.6 1 ครั้ง ต่อเดือน จำนวน 8 แห่ง ร้อยละ 20.5 3 ครั้ง ต่อเดือน จำนวน 3 แห่ง ร้อยละ 7.7 เพียงครั้งเดียว จำนวน 1 แห่ง ร้อยละ 2.6 ประชาสัมพันธ์ตามโอกาส 6 แห่ง ร้อยละ 15.4 เผยแพร่ญาติโยมที่มาปรึกษา 3 แห่ง ร้อยละ 7.7 ไม่สามารถปฏิบัติได้เนื่องจากขาดอุปกรณ์ 4 แห่ง ร้อยละ 10.2 และไม่มีข้อมูล 3 แห่ง ร้อยละ 7.7 ไม่ตอบ จำนวน 1 แห่ง ร้อยละ 2.6 ข้อเสนอแนะ -ควรมีโปสเตอร์ และคำแนะนำส่งให้วัดช่วยประชาสัมพันธ์ ทุกๆ วันพระ หรือวันสำคัญ -ข้อความยาวเกินไปไม่เหมาะสมกับการเผยแพร่ ควรใช้กระดาษแผ่นเดียว ใช้บทสรุปที่พอเข้าใจ และควรมีกิจกรรมร่วมกับวัดในวันพระหรือในพิธีกรรมต่างๆ เพื่อให้ความรู้และได้ช่วยเหลือขั้นพื้นฐาน -ต้องจัดการอบรมตามชุมชนต่างๆ ด้วยเพื่อให้เข้าถึงปัญหาที่แท้จริง ทางวัดพร้อมให้ใช้สถานที่ -ควรทำการประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้ เพราะบางท่านยังไม่เข้าใจ -ไม่เข้าใจข้อคำถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้สุขภาพจิตข้อที่ 4 และให้ส่งเป็นหนังสือหรือเอกสารเรื่องของสุขภาพจิตมาตามวัดเพื่อจะให้ญาติโยมอ่านดีกว่าบอกเขา เพราะเขาไม่ค่อยยอมรับว่าเป็นโรคจิต -ควรมีช่วงประเมินให้มากกว่านี้ และควรจะมาทำการประเมินด้วยตนเอง ท่านจะได้รู้ว่าประชาชนในชุมชนที่เขตโรงพยาบาลของท่านตั้งอยู่นั้น ผ่านการประเมินหรือเปล่า -เห็นตามสมควร -ให้เผยแพร่พระธรรมบทอานิสงส์เมตตา 11 ประการแก่คนทั่วไป -ส่วนใหญ่โรงพยาบาลก็ทำดีแล้ว แนวทางการพัฒนา -ขยายเครือข่ายการดำเนินงานให้ครบทุกชุมชน -มีแผนการจัดกิจกรรมที่ชัดเจน โดยเน้นการทำกิจกรรมร่วมกับทางวัด โดยการจัดหาบุคคลที่มีความชำนาญในเรื่องนั้นๆ ในท้องถิ้นมาร่วมถ่ายทอด จัดมหกรรมสุขภาพจิตในวัด ดำเนินกิจกรรมโดยยึดวัดเป็นศูนย์กลาง ประกวดบทความสุขภาพจิตผ่านวัด มีระบบเครือข่ายอย่างเป็นลายลักาณ์อักษร โดยการแต่งตั้งผู้ดำเนินงานจากวัดสู่ชุมชน มีความต่อเนื่องในการดำเนินงาน

Keywords: ฆ่าตัวตาย, สุขภาพ, การป้องกัน, ภูมิคุ้มกันทางจิต, วัด, โรงพยาบาลอุทัยธานี, อัตราการฆ่าตัวตาย, ทำร้ายตนเอง, พยายามฆ่าตัวตาย, จิตเวช, เครือข่าย, กลุ่มงานจิตเวช, พุทธศาสนา, จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลอุทัยธานี

Code: 200700058

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 2

Download: