ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: อรวรรณ ดวงมังกร, การุณย์ หงส์กา

ชื่อเรื่อง/Title: การเฝ้าระวังและให้การดูแลผู้ทำร้ายตนเองอย่างบูรณาการในโรงพยาบาลขอนแก่น.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 2, เรื่อง เรียนรู้เพื่อการบำบัดโรคซึมเศร้าและการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย, วันที่ 25-28 กรกฎาคม 2550 ณ. โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย, หน้า 43.

รายละเอียด / Details:

บทนำการทำร้ายตนเองเป็นปัญหาสังคมที่นำมาซึ่งความสูญเสียทั้งทางร่างกายและจิตใจสังคมและเศรษฐกิจแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมูลเหตุของการทำร้ายตนเองเป็นผลรวมจากหลายสาเหตุ เช่น ความวิตกกังวล, ความเครียด, ความทุกข์, ความคับข้องใจที่ซับซ้อน กดดันผู้ที่มีความเครียดทั้งในระดับที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว แนวทางการป้องกันปัญหาจึงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง กลุ่มงานจิตเวชโรงพยาบาลขอนแก่นได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาการทำร้ายตนเองของผ็มารับบริการ จึงได้จัดระบบในการเฝ้าระวังและให้การดูแลผู้ทำร้ายตนเองอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2545 จนถึงปัจจุบัน 1) พัฒนางานบริการให้มีคุณภาพตามมาตรฐานอย่างต่อเนื่องและเลือกเฟ้นรูปแบบบริการที่เป็นเลิศมาใช้ในการบำบัดช่วยเหลือ ตามกระบวนการจัดการองค์ความรู้ 2) เพื่อให้ผู้ทำร้ายตนเองและครอบครัวเข้าใจปัญหา สามารถเผชิญปัญหาและพิจารณาทางเลือกในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม การดำเนินการ รูปแบบการดำเนินการเฝ้าระวัง หลังจากผู้ทำร้ายตนเองทุกราย ได้รับการรักษาพยาบาลจนพ้นภาวะวิกฤต หอผู้ป่วยจะส่งปรึกษากลุ่มงานจิตเวช เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการประเมินภาวะซึมเศร้า และความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองซ้ำ และอาการของโรคจิต ให้การบำบัดทั้งแบบรายบุคคล และครอบครัวก่อนจำหน่าย และนัดมาติดตามผลการรักษาสองสัปดาห์ สำหรับผู้ที่มีคะแนนความซึมเศร้ามาก ยังมีความคิดอยากทำร้ายตนเอง และมีอาการทางจิต ได่ส่งพบแพทย์ และส่งรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น ราชนครินทร์ เพื่อลดอัตราการทำร้ายตนเองซ้ำ ตามตัวชี้วัด อัตราการทำร้ายตนเองซ้ำภายใน 90 วันเป็นศูนย์ ผลการดำเนินงาน จากการศึกษาข้อมูลการเฝ้าระวังพบว่า มีจำนวนผู้ทำร้ายตนเองตั้งแต่ปีงบประมาณ 2545 จนถึงปัจจุบัน เฉลี่ยปีละ 120 ราย ฆ่าตัวตายสำเร็จ เฉลี่ยปีละ 7 ราย อายุอยู่ในช่วง 20-30 ปีมากที่สุด วิธีการที่ใช้คือ กินยาฆ่าแมลง สารกำจัดวัชพืช มีความสัมพันธ์กับปริมาณที่ได้รับ และระยะเวลาที่ได้รับการช่วยเหลือรักษา ผลจากการเฝ้าระวังและให้การดูแลอย่างต่อเนื่องพบว่ามีผู้ทำร้ายตนเองซ้ำปีละ 2-3 ราย ด้วยสาเหตุที่ต่างจากเดิมและในจำนวนผู้ทำร้ายตนเองซ้ำ ฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 ราย นอกจากให้การดูแลผู้ทำร้ายตนเองแล้ว ผู้ป่วยโรคเรื้อรังก็ได้รับการประเมินคัดกรองโรคซึมเศร้า ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการในกลุ่มคลินิกผู้สูงอายุ ผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยา ทำให้สามารถคัดกรองและนำสู่การบำบัดรักษาได้ทันท่วงที ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น สรุป นับเป็นความสำเร็จที่ผู้ทำร้ายตนเอง และผู้มีภาวะซึมเศร้าได้นับการเฝ้าระวังและให้การบำบัดอย่างทันท่วงที และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ สามารถกลับไปดำเนินชีวิตในชุมชนได้อย่างปกติ

Keywords: วิตกกังวล, ความเครียด, ซึมเศร้า, การเฝ้าระวัง, การดูแล, การทำร้ายตนเอง, โรงพยาบาลขอนแก่น, พยายามฆ่าตัวตาย, อาการทางจิต, จิตเวช, เฝ้าระวังปัญหาผู้ทำร้ายตนเอง, ภาวะซึมเศร้า, จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: งานจิตเวช กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น

Code: 200700059

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 2

Download: