ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: จินตนา แสงจันทร์, อรไท พิพิธพัฒน์ไพสิฐ, จินตนา ไชยวิโน, มณีวรรณ สาริวาท

ชื่อเรื่อง/Title: โครงการลดการตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 2, เรื่อง เรียนรู้เพื่อการบำบัดโรคซึมเศร้าและการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย, วันที่ 25-28 กรกฎาคม 2550 ณ. โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย, หน้า 84.

รายละเอียด / Details:

จากการสนทนากลุ่มผู้ปกครองเด็กนักเรียน และข้อมูลจากครูโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ในอำเภอเชียงกลางในปี 2546-2547 พบปัญหาสุขภาพจิตในครอบครัวมีมาก โดยพบข้อมูลเด็กและเยาวชนในปัจจุบันขาดความรับผิดชอบ ไม่รู้หน้าที่ตนเองเช่น ไม่ตั้งใจเรียน ไม่ช่วยเหลืองานทางบ้าน งานของพ่อ-แม่ บางคนแม้แต่เสื้อผ้าของตนเองยังให้ผู้ปกครองซักให้ ชอบเที่ยวนอกบ้านหลังเลิกเรียน เที่ยววันเสาร์-อาทิตย์ และกลับบ้านดึกไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อ-แม่ไม่ชอบพูดคุยกับผู้ปกครองของตนเอง เด็กบางคนลักขโมยสิ่งของ บางกลุ่มมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ และปัญหาใหญ่มากคือการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน การตั้งครรภ์ในวัยเรียน ปัญหาเด็กสูบหรี่ ดื่มสุรา ติดสารเสพติด จนผู้ปกครองมีภาวะเครียดจากปัญหาเด็กและเยาวชน จนไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ส่งผลให้เกิดการทำร้ายตัวเองในที่สุด อำเภอเชียงกลางโดยการประสานงานของโรงพยาบาลเชียงกลาง จึงมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งอบอุ่นในครอบครัว เริ่มจากปี 2546-2547 ที่หมู่บ้านน้ำคา ในปี 2548 ที่บ้านเจดีย์ 1-2 และปี 2549 ที่บ้านสบกอนหมู่ที่ 11 และมีอีกหลายหมู่บ้านที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ แต่เมื่อมาทบทวนข้อมูลการตั้งครรภ์ในวัยเรียน ยังพบว่าอำเภอเชียงกลางมีข้อมูลเด็กนักเรียนอายุไม่เกิน 18 ปีมาฝากครรภ์มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปี 2547-2550 มีฝากครรภ์ 3,6,7,10 ตามลำดับ และทราบข่างการตั้งครรภ์จากครูและการรับปรึกษาทางโทรศัพท์ของคลินิกปรึกษาปัญหาสุขภาพจำนวน 8 ราย ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่รับทราบ แต่ยังมีข้อสงสัยว่าข้อมูลที่ไม่ทราบ เหมือนคลื่นไต้น้ำมีอีกมากเท่าใด และจากข้อมูลมารับบริการปรึกษาจากการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ พบว่า ร้อยละ 90 มีความคิดทำร้ายตัวเอง และในปี 2550 มีวัยรุ่นพยายามทำร้ายตัวเอง จำนวน 1 ราย จากปัญหาเรื่องคู่รักในวัยเรียน อำเภอเชียงกลางในปัจจุบัน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือปัญหามีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน การมีค่านิยม ที่ไม่เหมาะสมเรื่องเพศ และการตั้งครรภ์ในวัยเรียน สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบกับสังคมในวงกว้าง สิ่งเหล่านี้แสดงถึงความล้มเหลวในการให้ความรู้ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือครู เพราะการให้ความรู้ที่ผ่านมาอาจยังเข้าไม่ถึงใจเด็กวัยรุ่นเหล่านี้ ตามข้อมูลตามหลักวิชาการแนวทางการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา นอกจากการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงสรีระร่างกายและจิตใจจากวัยเด็กถึงวัยหนุ่มสาว วัยเจริญพันธ์แล้ว ต้องเป็นการศึกษาเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เตรียมพร้อมที่จะแก้ปัญหาชีวิตซึ่งเป็นเรื่องเพศเป็นส่วนประกอบ เป็นการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจปัญหามากมาย ตั้งแต่ปัญหาส่วนตัวของบุคคลนั้น ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและศีลธรรม ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในชีวิตครอบครัว รวมถึงสัมพันธภาพที่ดีของสมาชิกในครอบครัว (Kilander ; 1970) การสอนเพศศึกษาจึงเป็นการปลูกฝัง ความเชื่อ เจตคติ ที่เหมาะสม มากกว่าการสอนเรื่องสรีระวิทยาและอนามัยวัยเจริญพันธุ์ การสอนต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็กเล็กๆ ในครอบครัว โรงเรียน และสังคมระดับชาติต่อไป สิ่งสำคัญ เห็นว่าจำเป็นมากคือการสร้างเด็กวัยรุ่น-วัยเรียน ให้มีการพัฒนาทักษะชีวิต พัฒนาภาวะผู้นำ และมีควงามรู้ในการให้คำปรึกษาเพื่อนเรื่องเพศศึกษาที่ถูกต้อง ถึงแม้ว่าอำเภอเชียงกลางจะมีอัตราฆ่าตัวตายไม่อยู่ในขั้นวิกฤติ อัตราฆ่าตัวต่ายไม่เกิน 7 ต่อประชากร (ศูนย์ข้อมูลข่างสารโรงพยาบาลเชียงกลาง 2550) แต่ปัญหาการตังครรภ์ในวัยเรียนได้ส่งผลกระทบต่อตนเอง พ่อแม่ ครอบครัวและชื่อเสียงทางสังคมก่อให้เกิดความอับอาย มีผลต่อสภาพจิตใจและทำให้เกิดทำร้ายตนเองตามมา ดังนั้นทางโรงพยาบาลเชียงกลาง จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการลดการตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายในวัยรุ่นขึ้น เพื่อการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายในเชิงป้องกัน เป้าหมาย เพื่อลดการตั้งครรภ์ในวัยเรียนและป้องกันปัญหาฆ่าตัวตายในวัยรุ่น อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ทั่วไป 1.พัฒนาทักษะชีวิตและภาวะผู้นำแก่เด็กวัยเรียนเพื่อสามารถนำข้อมูลความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและไปให้คำปรึกษาเพื่อนได้อย่างเหมาะสม 2.เพื่อสร้างสัมพันธ์ภาพเชิงลึกระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับกลุ่มแกนนำนักเรียนที่ผ่านกระบวนการ 3.เพื่อสร้างแกนนำที่มีความรู้เรื่องเพศศึกษาและการป้องกันการตั้งครรภ์ไว้ในโรงเรียน 4.เพื่อสร้างกระแสค่านิยมที่เหมาะสมเรื่องเพศ ในกลุ่มวัยรุ่น วัตถุประสงค์เฉพาะ 1.เพื่อสร้างองค์ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น เพื่อให้แกนนำสามารถคัดกรอง เป็นที่ปรึกษา และส่งต่อผู้ที่มีปัญหาได้ถูกต้อง 2.ผู้ที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะชีวิตและภาวะผู้นำด้านสุขภาพ สามารถดูอลตนเองและเพื่อน อย่างน้อย 1 คน :20 คน ได้อย่างเหมาะสม ผู้หญิง ดูแลตนเองไม่ตั้งท้องระหว่างเรียน ผู้ชาย ดูแลตนเองไม่ให้ทำผู้หญิงตั้งท้องระหว่างเรียน เพื่อที่เราดูแล ผู้หญิงไม่ตั้งท้องระหว่างเรียน ผู้ชายไม่ให้มำผู้หญิงตั้งท้องระหว่างเรียนหนังสือ ขั้นตอนการดำเนินการ 1.ศึกษาและทบทวนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และจัดทำโครงการ 2.กำหนดลักษณะกิจกรรมของกระบวนการ 3.จัดทำคู่มือผู้เข้ารับการอบรม 4.จัดเตรียมทีมงานวิทยากรกระบวนการ 5.ติดตามประเมินผล ลักษณะกิจกรรม 1.ใช้กระบวนการกลุ่ม (Group Process) และเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) การอยู่คนเดียวเพื่อทบทวนตังเอง (Retreat) อยู่ในกระบวนการเปิดใจ การเข้าใจในความหลายหลายเห็นคุณค่าของทุกคน แนวคิดนี้ไม่เน้นการพร่ำสอน หรือ ดุด่า เน้นการเรียนรู้ที่จะเข้าใจด้วยตนเอง การ Retewat คือการมาครุ่นคำนึงกับตนเอง ตัดขาดจากสิ่งอื่นใด มาอยู่กับตนเองมองตนเอง ค้นหาตนเอง จะเป็นการเรียนรู้การเข้าถึงตนเอง-ผู้อื่น หากคนเข้าใจตนเองแล้วจะตัดสินใจอะไรบางอย่างได้ การ Retreat ตัววิทยากรต้องเลือกสถานที่ที่ตัดขาดจากภายนอก ให้อยู่กับตนเองมองตนเอง มาอยู่กับกลุ่มเพื่อนที่มีแนวทางเดียวกัน เพื่อเป็นกระจกเงาสะท้อนซึ่งกันและกัน 2.บทบาทวิทยากรกระบวนการ การจัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียน แสงพอเหมาะสลัวไปบรรยากาศจะซึมง่วง สีโทนเหลืองส้มจะกระตุ้นให้กระปรี้กระเปร่า อากาศเย็นสบาย ที่นั่งสามารถปรับได้ตามอริยบทจะนั่ง-นอน-พิงฝา ไม่ว่ากัน เสียง บางครั้งต้องมีความเงียบเพื่อไตร่ตรอง บางที่ต้องเปิดเพลงเบาๆแต่ต้องไม่รบกวน กลิ่นดี อโรมาเทอราปิจะดีมากทีเดียว ให้คนที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นตัวเองให้มากที่สุด (เมื่อฉันสบายใจ เมื่อฉันอยู่กับตนแปลกหน้า ฉันไม่ต้องมีมาดอะไร ฉันคือตัวฉัน) ทำอะไรที่ทำให้จิตนิ่ง มีสมาธิ ให้ผ่อนคลายมากที่สุด สมองจะเปิดกว้างการเรียนรู่จะสูงขึ้นเมื่อมีกระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้ (KM) จะเกิด 3.กำหนดหลักเกณฑ์ผู้ที่จะเข้าร่วมอบรม คุณลักษณะผู้สมัคร หรือผู้ควรคัดเลือกเขาร่วมกิจกรรมนี้ เป็นผู้ที่มีเพื่อนฝูงมาก มีคนยอมรับ นอยมชมชอบ และเพื่อนๆเชื่อถือ เช่น เรียนเก่งเป็นนักกีฬา,นักดนตรี,เป็นหัวหน้าแก๊ง หัวหน้ากลุ่มตามธรรมชาติ สนใจเรื่องการพัฒนาบุคลิกภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจในตนเอง สนใจพัฒนาทักษะ เรื่องการสื่อสารเบื้องต้น (Basic communication)และการนำเสนอ (presentation) 4.การเตรียมตัวผู้ร่วมกระบวนการ เตรียมกาย เตรียมกายให้สวนใส่เสื้อผ้าสบายๆน่าจะเป็นกางเกง-เสื้อผ้ารัดกุมใส่แล้วมั่นใจ มีความเป็นตัวของตัวเองให้มากที่สุด เตรียมใจ เตรียมใจให้พร้อมต่อการเรียนรู้ ที่อบอุ่นและเป็นกันเอง วิธีการดำเนินงาน 1.มีคู่มือการให้คำแนะนำ (Teen-age Cormer)ทุกคน 2.ทุกคนไปหาเพื่อนที่รับผิดชอบอย่างน้อย 1:20 3.เปิดสายตรง (มือถือพี่เลี้ยงไว้คอยรับคำปรึกษา 4.นัดพบเพื่อติดตามผลการปฏิบัติงานเดือนละ 2 ครั้ง มีเบี้ยเลี้ยงตอบแทน 200 บาท/เดือน 5.สิ้นปีมีโบนัสคนที่ผลงานเด่น (หญิงไม่ท้อง ชายไม่ทำใครท้อง เพื่อนที่ดูแลไม่ท้อง ผลการดำเนินงาน 1.เด็กมีความไว้วางใจ และโทรศัพท์ปรึกษาเรื่องเพศมากขึ้น จำนวน 10 ครั้ง/เดือนทำให้ทราบข้อมูล ของกลุ่มวัยรุ่นมากขึ้น 2.เด็กมีความรู้เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์เด็กที่ผ่านการอบรม พบการตั้งครรภ์ และคู่มือการคัดกรองเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย 3.ไม่พบข้อมูลการทำร้ายตัวตายในกลุ่มที่ผ่านการอบรม 4.มีการดำเนินงานศูนย์พึ่งได้ สายด่วนสุขภาพจิต เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเป็นช่องทางให้วัยรุ่นและผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิตรับคำปรึกษา เพื่อลดปัญหาการฆ่าตัวตาย สรุปและข้อเสนอแนะ เป็นจุดต้นการเปิดพื้นที่ และเปิดช่องทางให้ผู้รับบริการได้เข้าถึงบริการ และใช้สัมพันธภาพส่วนบุคคลเพื่อสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นในกลุ่มวัยรุ่น และมีช่องทางการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่กับวัยรุ่น ซึ่งก็ทำให้รับทราบถึงความเคลื่อนไหวของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้การช่วยเหลือและป้องกันภาวะวิกฤติสุขภาพจิตที่จะเกิดขึ้นได้ และควรดำเนินการให้ครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะเสี่ยงต่อการทำร้างตัวเอง ได้แก่กลุ่มผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยโรคจิต กลุ่มผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยอัมพาตโรคเรื้อรัง และปัจจุบันได้เปิดช่องทางสายด่วนสุขภาพจิต ผู้มีภาวะเครียดคิดมาก มีความคิดทำร้ายตัวเอง ผู้ป่วยจิตเวชมีอาการกำเริบในชุมชน เด็กและสตรีถูกทารุณกรรมและถูกล่วงละเมิดทางเพศ มีช่องทางการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ONE STOP SERVICE CRISIS CENTER (OSCC) การดำเนินงานต่อไป 1.มีการดำเนินงานต่อเนื่อง ในกลุ่มวัยรุ่นกว้างขึ้น 2.ขยายเครือข่ายการดำเนินงานให้กว้างขึ้น ในกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและจิตอาสา กลุ่มญาติผู้ป่วยโรคจิต 3.พัฒนากิจกรรมของสมัชชาเยาวชนเชียงกลางให้เข้มแข็ง 4.ดำเนินงานวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่องการสื่อสารเรื่องเพศศึกษาในวัยรุ่น

Keywords: การป้องกันการฆ่าตัวตาย, ลดการตั้งครรภ์, สุขภาพจิตในครอบครัว, พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ, ภาวะเครียด, การติดสารเสพติด, วัยรุ่น, เชียงกลาง, น่าน, นักเรียน, เพศศึกษา, สุขภาพจิต, สนทนากลุ่ม

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: โรงพยาบาลเชียงกลาง

Code: 200700067

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 2

Download: