ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: บุษกร เล็กเลิศศิริวงศ์, พนิดา รัตนไพโรจน์, และคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาของการใช้ภาพสื่อสารเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการตรวจสุขภาพช่องปากในเด็กออทิสติกปฐมวัย จำนวน 5 ราย

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6, เรื่อง สุขภาพจิต : ชีวิตชาวเมือง วันที่ 1-3 สิงหาคม 2550 ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร หน้า 80.

รายละเอียด / Details:

ความสำคัญ การรักษาทางทันตกรรมในเด็กออทิสติก มักพบปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมขณะ รับการรักษา เช่น ต่อสู้ ขัดขืน ร้องไห้ส่งเสียงกรีดร้องโวยวาย วิ่งหนี ซึ่งมีผลต่อการจัดการพฤติกรรมทางทันตกรรมที่ยุ่งยากซับซ้อน การจัดการเด็กออทิสติกที่มีพฤติกรรมไม่ให้ความร่วมมือจะใช้วิธีการพูดออกคำสั่งสั้นๆ ชัดเจน จริงใจ รวมถึงการส่งเสริมในทางบวก และการกระทำซ้ำๆ การซักซ้อมความเข้าใจภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ให้คุ้นเคยกับสถานการณ์ที่จะต้องเผชิญในอนาคต การใช้ภาพเพื่อสื่อสารกับเด็ก ออทิสติกร่วมกับวิธีการดังกล่าวจะเป็นวิธีส่งเสริมให้เด็กออทิสติกสามารถให้ความร่วมมือในการรักษา ทางทันตกรรมมากขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลก่อนและหลัง การใช้ภาพสื่อสารต่อพฤติกรรมความร่วมมือในการเข้าร่วมการตรวจสุขภาพช่องปากของเด็กออทิสติกปฐมวัย การศึกษา คัดเลือกเด็กออทิสติกที่เข้ารับบริการผู้ป่วยในหอผู้ป่วยเด็กออทิสติก และผ่านการฝึกใช้โปรแกรมภาพเพื่อการสื่อสารเกี่ยวกับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน อย่างน้อย 8 สัปดาห์ และผู้ปกครองอนุญาตให้เด็กออทิสติกเข้าร่วมงานวิจัยในครั้งนี้ จากการสุ่มตัวอย่างโดยการจับฉลากแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม โดยมีวิธีการฝึกโปรแกรมภาพ เพื่อเตรียมผู้ป่วยก่อนการตรวจสุขภาพช่องปากทั้งสองกลุ่ม ดังนี้ กลุ่ม 1 ได้รับการฝึกโปรแกรมภาพสื่อสารโดยผู้ปกครอง พยาบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ และทันตแพทย์ ติดตามพฤติกรรม 4 สัปดาห์ ผลการศึกษา พบว่าเด็กออทิสติกเพศชาย จำนวน 5 ราย อายุเฉลี่ย 46 เดือน มีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับพฤติกรรมความร่วมมือของเด็กออทิสติกก่อนการใช้ภาพสื่อสาร กลุ่มที่หนึ่งเท่ากับ 0.62+-1.05 และกลุ่มที่สองเท่ากับ 1.81+-0.99 ค่าคะแนนเฉลี่ยระดับพฤติกรรมหลังการใช้ภาพสื่อสาร 4 สัปดาห์ กลุ่มที่หนึ่งเท่ากับ 3.83+-0.38 และกลุ่มที่สองเท่ากับ 4.00+-0.00 นอกจากนี้ค่าเฉลี่ยจำนวน Quardrant ของฟันในช่องปากเด็กออทิสติกที่ทันตแพทย์สามารถตรวจได้ก่อนการใช้ภาพสื่อสารกลุ่มที่หนึ่งและกลุ่มที่สองเท่ากับศูนย์และหลังการใช้ภาพสื่อสาร 4 สัปดาห์ กลุ่มที่หนึ่งเท่ากับ 3.5 และกลุ่มที่สองเท่ากับ 6 สรุปผลการศึกษา เด็กออทิสติกที่ได้รับการเตรียมความพร้อมโดยใช้ภาพสื่อสารมีพฤติกรรมให้ความร่วมมือในการรักษาทางทันตกรรมมากขึ้น และสามารถตรวจสุขภาพฟันได้อย่างน้อย 3 quardrants ขึ้นไป ข้อเสนอแนะ ควรเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่าง เพื่อผลการวิจัยน่าเชื่อถือ และพัฒนาโปรแกรมภาพสื่อสาร เพื่อใช้ในขั้นตอนของการรักษาทางทันตกรรมต่างๆ เช่น เคลือบฟลูออไรด์, เคลือบหลุมร่องฟัน นอกจากนี้ควรศึกษาเพิ่มเติมในเด็กกลุ่มอื่น เช่น Dowm Sydrome, Cerebral Palsy, Severe Mental Retardation.

Keywords: ออทิสติก, จิตเวชเด็ก, จิตเวชศาสตร์, เด็กออทิสติก, พัฒนาการเด็กออทิสติก, ทันตกรรม, สุขภาพช่องปาก, ภาพสื่อสาร, การจัดการพฤติกรรม, autism

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: สถาบันราชานุกูล

Code: 200700084

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6

Download: