ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สมัย ศิริทองถาวร, สินีนาฏ จิตต์ภักดี, จุฬาภรณ์ สมใจ

ชื่อเรื่อง/Title: ปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับการเกิดออทิซึมในเด็กที่มารับบริการ ณ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จังหวัดเชียงใหม่

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6, เรื่อง สุขภาพจิต : ชีวิตชาวเมือง วันที่ 1-3 สิงหาคม 2550 ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร หน้า 81.

รายละเอียด / Details:

ความสำคัญ นอกจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดภาวะออทิซึมแล้ว สาเหตุอื่นยังไม่ทราบชัดเจนในประเทศไทยมีการศึกษาเรื่องดังกล่าวกันน้อยมาก ต่างประเทศมีผู้ศึกษาปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะออทิซึมอยู่บ้าง เช่น ฤดูที่เด็กเกิด ความผิดปกติของสมอง เป็นต้น วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับการเกิดออทิซึมในเด็กที่มารับบริการ ณ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จังหวัดเชียงใหม่ วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาย้อนหลัง ประชากรที่ศึกษาเป็นผู้ป่วยเด็กรายใหม่ทุกราย ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็น Autistic disorder หรือ Austistic spectrum disorder หรือ Autism ระหว่างปี พ.ศ. 2546-2548 จำนวน 112 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบซักประวัติผู้ป่วย รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยศึกษาจากแบบซักประวัติผู้ป่วยในแฟ้มประวัติผู้ป่วย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ โดยหาความถี่ร้อยละและสัดส่วน ผลการศึกษา ส่วนที่ 1 เด็กชายป่วยเป็นออทิซึมร้อยละ 83.0 เด็กหญิงร้อยละ 17.0 เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วน เด็กชาย : เด็กหญิง เท่ากับ 4.9 : 1 อายุเด็กที่สังเกตได้ว่าเป็นออทิซึม พบว่า ปกครองร้อยละ 53.4 ตอบไม่ทราบว่าเด็กป่วยเป็นออทิซึม ร้อยละ 17.9 สังเหตได้ในช่วงเด็กอายุ 1 1/2 -2 ปี รองลงมาสังเกตได้ในช่วงอายุ 2-3 ปี ร้อยละ 12.6 ส่วนใหญ่พาเด็กมารับบริการครั้งแรกช่วงอายุมากกว่า 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 32.4 ผลการศึกษาส่วนที่ 2 ปัจจัยด้านเดือนที่เด็กเกิดพบส่วนใหญ่เกิดในเดือนกันยายน มิถุนายนและตุลาคม คิดเป็นร้อยละ 15.2, 12.5 และ 11.6 ตามลำดับ การเจ็บป่วยของมารดาเด็กพบว่ามีประวัติการเจ็บป่วยก่อนตั้งครรภ์ร้อยละ 4.5 และเจ็บป่วยระหว่างตั้งครรภ์ร้อยละ 15.2 ประวัติการแท้งบุตรของมารดาพบร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 ประวัติการคลอดเด็กร้อยละ 51.79 มีประวัติการคลอดปกติ ร้อยละ 44.64 คลอดโดยผ่าตัดออกทางหน้าท้องคลอด คลอดโดย Vacuum, Forceps ร้อยละ 2.68 และ 0.89 ตามลำดับ ด้านภาวะสุขภาพเด็ก พบว่าเด็กมีการเจ็บป่วยหลังคลอดร้อยละ 31.2 การเจ็บป่วยของญาติพี่น้องเด็กออทิสติกพบว่าพี่น้องท้องเดียวกันป่วยเป็นออทิสติกร้อยละ 5.4 และสมาชิกในครอบครัวมีประวัติการป่วยทางจิตร้อยละ 1.8 ข้อเสนอแนะ จากผลการศึกษา สามารถใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนรณรงค์ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้เกี่ยวข้องในการดูแลเด็กและประชาชนทั่วไป ให้ตระหนักถึงการส่งเสริม ป้องกัน รวมถึงดูแลสุขภาพมิให้เกิดการเจ็บป่วยทั้งระยะก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลด และเป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป

Keywords: ภาวะออทิซึม, ความผิดปกติของสมอง, ภาวะสุขภาพเด็ก, ออทิสติก, จิตเวชเด็ก, จิตเวชศาสตร์, autism

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์

Code: 200700085

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6

Download: