ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: กานดา ผาวงค์, สรานุช จันทร์วันเพ็ญ

ชื่อเรื่อง/Title: ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความเห็นคุณค่าในตนเอง (self-esteem) ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษษปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยใช้ Satir Model เป็นพื้นฐาน

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6, เรื่อง สุขภาพจิต : ชีวิตชาวเมือง วันที่ 1-3 สิงหาคม 2550 ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร หน้า 84.

รายละเอียด / Details:

ความเห็นคุณค่าในตนเอง (self-esteem) เป็นปัจจัยพื้นฐานของการใช้ศักยภาพตนเองในการดำเนินชีวิตค่ากลุ่มงานจิตวิทยา โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ เห็นความสำคัญของการเสริมสร้างความเห็นคุณค่าในตนเอง จึงได้จัดทำโปรแกรมการเสริมสร้างความเห็นคุณค่าในตนเอง(self-esteem) โดยใช้ Satir Model เป็นพื้นฐาน วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความเห็นคุณค่าในตนเอง (self-esteem) วิธีการศึกษา กลุ่มประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster sample) หลังจากนั้นสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) เพื่อคัดเลือกเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ทำให้ได้กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับมํยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนสนามบิน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความเห็นคุณค่าในตนเองของคูเปอร์สมิท แปลเป็นไทยโดยนาตยา วงศ์หลีกภัย (2532) และโปรแกรมการเสริมสร้างความเห็นคุณค่าในตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) ในการเปรียบเทียบวัดก่อนและหลังในกลุ่มทดลอง รวมทั้งเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผลการศึกษา ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของระดับความเห็นคุณค่าในตนเองก่อนการทดลองไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่ได้เข้าร่วมโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของระดับความเห็นคุณค่าในตนเองไม่สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน รวมทั้งเมื่อเปรียบเทียบระดับความเห็นคุณค่าในตนเองกับกลุ่มควบคุม พบว่าคะแนนเฉลี่ยของระดับความเห็นคุณค่าในตนเองของกลุ่มไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่หลังจากนั้น 1 เดือน ในระยะติดตามผล พบว่าคะแนนเฉลี่ยของระดับความเห็นคุณค่าในตนเองของกลุ่มทดลองไม่แตกต่างจากหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าความเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนกลุ่มทดลองยังคงอยู่ และเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของระดับความเห็นคุณค่าในตนเอง พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยของระดับความเห็นคุณค่าในตนเองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่หลังจากนั้น 1 เดือน ในระยะติดตามผล พบว่าระดับความเห็นคุณค่าในตนเองของกลุ่มควบคุมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาในกลุ่มนักเรียนระดับต่างๆ เช่น มัธยมศึกษาตอนปลาย หรืออุดมศึกษา และทำการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

Keywords: โปรแกรมการเสริมสร้างคุณค่าในตนเอง, คุณค่าในตนเอง, นักเรียนมัธยม, จิตวิทยา, แบบวัด, สุขภาพจิต, self-esteem, satir model

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์

Code: 200700088

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6

Download: