ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: เทพินทร์ บุญกระจ่าง, เจริญศรี โควินทร์, ยุพารัตน์ คุณุรัตน์

ชื่อเรื่อง/Title: การพยายามฆ่าตัวตายของผู้ป่วยจิตเวชที่รับรักษาไว้ในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 1 10-11 สิงหาคม 2538

รายละเอียด / Details:

การวิจัย การพยายามฆ่าตัวตายของผู้ป่วยจิตเวชที่รับรักษาไว้ในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไป ลักษณะทางสังคมจิตวิทยาและปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการพยายามฆ่าตัวตายของผู้ป่วยจิตเวชที่รับไว้รักษาพยาบาลในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ที่มีประวัติหรือพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตาย จำนวน 36 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาเอง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน ธันวาคม 2536 - พฤษภาคม 2537 โดยศึกษาจากแฟ้มประวัติของกลุ่มตัวอย่างโดยตรง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติ อัตราส่วนร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นชายร้อยละ 52.8 เป็นหญิงร้อยละ 47.2 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20 - 29 ปี คิดเป็นร้อยละ 38.9 สถานภาพการสมรสส่วนใหญ่เป็นโสดคิดเป็นร้อยละ 68.8 เกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธคือร้อยละ 94.0 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 58.3 อาชีพ ทำนา ทำสวน ทำไร่ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 58.3 และร้อยละ 63.9 มีรายได้น้อยกว่า 1,500 บาทต่อเดือน การวินิจฉัยโรคพบว่าส่วนใหญ่เป็นโรคจิตเภท ร้อยละ 58.3 ลักษณะทางสังคมจิตวิทยา พบว่า ส่วนใหญ่เป็นบุตรคนกลาง มาจากครอบครัวขนาดใหญ่ที่มีลูกมากกว่า 5 คน สัมพันธภาพของบุคคลภายในครอบครัวไม่ดี คือต่างคนต่างอยู่ และมีการทะเลาะเบาะแว้งกันในครอบครัว ร้อยละ 91.7 ไม่มีประวัติการพยายามฆ่าตัวตาย ของบุคคลในครอบครัว แรงจูงใจที่ทำให้ผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตาย คือ มีความรู้สึกว่าตนไร้ค่ามากที่สุด ร้อยละ 31.1 แต่เหตุผลที่ตัดสินใจลงมือกระทำการพยายามฆ่าตัวตายในครั้งนื้ คือ เพื่อประท้วงเพื่อหนีปัญหาและเพื่อสนองความต้องการของตนเอง ในจำนวนที่ใกล้เคียงกันปัญหาที่ทำให้ผู้ป่วยกลุ้มใจก่อนพยายามฆ่าตัวตาย ส่วนใหญ่เป็นปัญหาเรื่องความรัก คิดเป็นร้อยละ 55.5 ใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งวันก่อนตัดสินใจพยายามฆ่าตัวตาย โดยร้อยละ 91.7 ไม่มีการวางแผนล่วงหน้า ร้อยละ 58.3 เคยแสดงเจตนาให้ผู้อื่นทราบล่วงหน้า ร้อยละ 33.3 เคยมีความคิดพยายามฆ่าตัวตายมาแล้วหนึ่งครั้งส่วนใหญ่จะกระทำการฆ่าตัวตายในเวลากลางวันระหว่างเวลา 07.00 - 15.00 น. คิดเป็นร้อยละ 83.3 ร้อยละ 64.0 ของผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตายที่บ้านจะกระทำในห้องนอน และร้อยละ 63.6 ของผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตายในโรงพยาบาล จะกระทำในห้องน้ำบนหอผู้ป่วย ทั้งนี้ส่วนใหญ่จะพยายามฆ่าตัวตาย โดยใช้เชือกหรือผ้ารัดคอ คิดเป็นร้อยละ 61.1 หลังการพยายามฆ่าตัวตาย ร้อยละ 58.3 มีความรู้สึกเฉย ๆ ร้อยละ 69.4 ได้รับการประคับประคองทางจิตใจ ปัจจุบันไม่มีความคิดอยากฆ่าตัวตายร้อยละ 75.0 และร้อยละ 25.0 ยังมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย

Keywords: พยายามฆ่าตัวตาย, ฆ่าตัวตาย, ผู้ป่วยจิตเวช, โรคจิต, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, suicide, psychiatry

ปีที่เผยแพร่/Year: 2538

Address: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 201380001030

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -