ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุดสวาท จันทร์เกษม, ถนอมนาฎ เพชรโชติ, กนกพร สุจิพงศ์

ชื่อเรื่อง/Title: อาการแทรกซ้อนทางกายของผู้ป่วยทางจิตเวชในขณะที่รับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 18-20 กันยายน 2539

รายละเอียด / Details:

การวิจัยเรื่องการแทรกซ้อนทางกายของผู้ป่วยทางจิตเวชในขณะที่รับรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบแนวโน้มการป่วยทางจิตเวชที่มีอาการแทรกซ้อนทางกาย เพื่อเป็นพื้นฐานและแนวทางเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการให้บริการการหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและใช้ในการปรับปรุงดูแลผู้ป่วยทางจิตเวช โดยศึกษาผู้ป่วยทางจิตเวชที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2534 - 30 มิถุนายน 2535 เป็นการวิจัยแบบสำรวจและศึกษาข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วย จำนวน 637 ราย หรือร้อยละ 10 ของจำนวนผู้ป่วยในกลุ่มทั้งหมด (6,328 ราย) การสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบเป็นชั้นพวก ผลการวิจัย ผู้ป่วยจิตเวชทั่วไปมีจำนวนมากที่สุดร้อยละ 59.81 รองลงมาเป็นผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุร้อยละ 34.69 ผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่นร้อยละ 5.49 อายุโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยจิตเวชทั่วไป 35.16 ปี ผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุ 69.42 ปี ผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่นอายุ 17.58 ปี สถานภาพสมรสคู่และโสดมีจำนวนใกล้เคียงกันร้อยละ 42.85 และร้อยละ 42.54 ระดับการศึกษาอยู่ในระดับต่ำถึงร้อยละ 67.97 มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยมีระยะเวลาในการรักษาอยู่ในโรงพยาบาลช่วง 1-31 วัน สูงถึงร้อยละ 58.88 และผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่นใช้เวลาในการรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยจิตเวชทั่วไปและจิตเวชสูงอายุ กลุ่มโรคส่วนใหญ่ที่พบมากที่สุดแยกตาม ICD-9 อันดับที่ 1 Schizophrenia Psychosis (295) พบร้อยละ 46.93 ของผู้ป่วยทั้งหมด อันดับที่ 2 Affective Psychosis (296) พบร้อยละ 30.61 ของผู้ป่วยทั้งหมด พบในผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุร้อยละ 41.17 และผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่นร้อยละ 40.00 อาการแทรกซ้อนทางกายพบมากที่สุดในกลุ่มร้อยละ 30.62 โดยมีกลุ่มที่พบ 100% มี Major depressive disorder จำนวน 14 ราย ทุกรายมีอาการแทรกซ้อนทางกาย คือมีอาการ Somiphagia, Hypertension, Asthma, Constipation, Hypertension with Fever with Pneumonitis, Hypertension with High cholesterol with Diabetes Mellitus, Pulmonary Tuberculosis, Upper Respiratory infection, Catatact, Chronic Ulcer - Senile dementia ผู้ป่วย 4 ราย มีอาการ Hypertension, Conjunctivitis, Chronic Ulcer - Paraphegia พบอาการของ Rheumatitis, Hypertension - Epilepsy with Psychosis พบอาการ Epilepsy - Acute Confusion State พบอาการ Hypertension - Alcoholic Psychosis พบอาการ Heart Disease - Headache พบอาการ Headache พบอาการแทรกซ้อนทางกายร้อยละ 50.00 ได้แก่ โรค Psychosis Depressive พบว่ามีอาการ Anorexia e weak พบอาการแทรกซ้อนทางกายน้อยกว่า 50.00 ดังนี้ - Dirilium Tremen พบอาการ Hypertension, Pulmonary Tuberculosis, Hypertension with Bronchitis, Heart disease with Hypertension, Hypertension with Heart disease with Weak, Pneumonitis, Cerebral Vascular Accident พบว่ามีร้อยละ 46.15 - Mania พบร้อยละ 44.00 มีอาการ Hypertension, diarrhea, Heart disease, Fracture of Femur, Cataract, Conjunctivitis - Depressive พบร้อยละ 35.29 มีอาการ Constipation, Peptic Ulcer, Jaundice, pneumonitis - Alcoholic Dependence พบร้อยละ 33.33 มีอาการของ Peptic Ulcer - Dementia พบร้อยละ 33.33 มีอาการ Hypertension, Fever, Dermatitis, Cataract - Psychosis Nature พบอาการแทรกซ้อนร้อยละ 28.57 โดยพบอาการ Anorexia with weak, Incontinence Urine, Heart Disease - Schizophrenia พบร้อยละ 26.42 มีอาการ Upper Respiratory Infection, VDRL Positive, Chronic Ulcer - Delusion disorder พบร้อยละ 25.00 มีอาการของ Constipation - Bipolar disorder พบร้อยละ 25.00 มีอาการของ Otitis Media - Bipolar Disorder พบร้อยละ 25.00 มีอาการของ Peptic Ulcer, Pulmonary Tuberculosis -Alcoholic พบร้อยละ 21.43 มีอาการของ Cancer ในช่องปาก Peptic Ulcer, Heart disease with weak - Organic brain Syndrome พบร้อยละ 20.00 มีอาการของ Equilibrium disturbances - Paranoid พบอาการแทรกซ้อนทางกายร้อยละ 18.18 มีอาการ Asthma with Hypertension with Heart disease ส่วนกลุ่มโรคที่ไม่พบอาการแทรกซ้อนทางกาย ดังนี้ Mental with Aggressive, Suicide Attempt, Drug lnduce Psychiatric, Effective disorder, Neurotic, Manic Depresive Psychosis, Acute Psychosis, mental disorder, E.P.S. Symptom, Involutional Meluncholia, Dementia with Psychosis, Mental with Psychosis, Mental Retardation, Alcoholic Hallucination ระบบที่พบมากที่สุด Circulatory System ร้อยละ 21.04 รองลงมาเป็น Respiratory System, Digestive System มีร้อยละ 18.46, 16.92 ตามลำดับ และเมื่อแยกตามกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชพบว่า กลุ่มผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่น พบอาการแทรกซ้อนทางกายของ Endocrine glands System, Nutrition and Metabolism ร้อยละ 2.86 กลุ่มผู้ป่วยจิตเวชทั่วไป พบว่าเป็นโรค Respiratory System ร้อยละ 22.91 รองลงมาเป็นโรค Digestive System, Dermatitis, The Circulatory System, Infection and Parasite มีร้อยละ 17.70, 12.50, 12.50 ตามลำดับ กลุ่มจิตเวชผู้สูงอายุ พบว่ามีโรค Circulatory System กับ Respiratory System มีจำนวนเท่ากันร้อยละ 14.28, Digestive System ร้อยละ 12.24 ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าลักษณะกลุ่มผู้ป่วยมีผลกระทบที่เกิดอาการแทรกซ้อนทางกายต่อกัน โดยที่กลุ่มผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่นมีอาการแทรกซ้อนทางกายเกิดน้อยกว่ากลุ่มผู้ป่วยจิตเวชทั่วไป และจิตเวชสูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P‹0.05) โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชทั่วไปและกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุเมื่อมีอาการแทรกซ้อนทางกายจะต้อง Consult มากที่สุดร้อยละ 94.08 และต้อง Refer ไปโรงพยาบาลฝ่ายกายร้อยละ 5.92 ส่วนผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่นไม่มีการ Consult, Refer

Keywords: psychiatry, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, โรคแทรกซ้อน, อาการแทรกซ้อน

ปีที่เผยแพร่/Year: 2539

Address: โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 201390002002

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -