ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: เรือนแก้ว กนกพงศ์ศักดิ์, ช่อทิพย์ วามะนะบุตร, จันทิมา จินตโกวิท, อรอนงค์ กิตติกัลยาวงศ์, รัตนาภรณ์ มีล่อง

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาผลการบริการบุคคลปัญญาอ่อนรับไว้ในโรงพยาบาลราชานุกูล ระยะสั้นเดือนมีนาคม 2539 ถึง เดือนพฤษภาคม 2539

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 18-20 กันยายน 2539

รายละเอียด / Details:

โรงพยาบาลราชานุกูลจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่บุคคลปัญญาอ่อน ที่ไม่เคยรับมาก่อน โดยรับไว้ในแผนกผู้ป่วยใน ครั้งละ 50 คน ช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ของทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านการดูแลตนเอง และแบ่งเบาภาระแก่ครอบครัว การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการจัดบริการ โดยเปรียบเทียบความสามารถด้านการดูแลตนเองของบุคคลปัญญาอ่อน ความคาดหวังและความพึงพอใจของบิดามารดา เมื่อเริ่มต้นและหลังสิ้นสุดการรับบริการ 2. ศึกษาความสามารถและความคิดเห็นของบุคลากรด้านการรักษาพยาบาลต่อการจัดบริการ โดยมีรูปแบบการวิจัยไปข้างหน้า ชนิดพรรณนา (Descriptive Prospective design) ผลการวิจัย บุคคลปัญญาอ่อนได้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพจำนวน 40 คน มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถด้านการช่วยเหลือตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความคาดหวังของบิดา มารดา เมื่อเริ่มต้นการบริการ จำนวน 38 คน ได้แก่ ช่วยลดภาระในการดูแลเด็ก และฝึกให้เด็กดูแลตนเองได้ดีขึ้น ร้อยละ 36.8 และ 97.4 ตามลำดับความคิดเห็นบิดา มารดา จำนวน 29 คน หลังสิ้นสุดการบริการได้แก่ ช่วยลดภาระในการดูแลเด็กและฝึกให้เด็กดูแลตนเองได้ดีขึ้น ร้อยละ 100 และ 96.6 ตามลำดับ ศึกษาบุคลากรด้านการรักษาพยาบาลจำนวน 132 คน ประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ, พยาบาลเทคนิค, ผู้ช่วยเหลือคนไข้ โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ปฏิบัติงาน (จำนวน 102 คน) และกลุ่มที่ไม่ได้ปฏิบัติงาน (จำนวน 30 คน) แต่ละกลุ่มมีความคิดเห็น คือ ช่วยลดภาระของครอบครัว ร้อยละ 72.5 และ 66.7 ตามลำดับและทำให้เด็กมีพฤติกรรมด้านการช่วยเหลือตนเองดีขึ้นร้อยละ 74.5 และ 66.7 ตามลำดับและทำให้เด็กมีพฤติกรรมด้านการช่วยเหลือตนเองดีขึ้นร้อยละ 74.5 และ 60.0 ตามลำดับ และข้อเสนอแนะคือ ไม่ควรจัดบริการร้อยละ 6.9 และ 3.3 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ทาง สถิติไม่มีความแตกต่างกัน พยาบาลวิชาชีพ, พยาบาลเทคนิค และผู้ช่วยเหลือคนไข้ มีความสามารถในการจัดบริการแก่บุคคลปัญญาอ่อนอย่างต่อเนื่องในชุมชน ร้อยละ 37.7 , 4.9 และ 4.0 ตามลำดับ ซึ่งจากการวิเคราะห์ทางสถิติแบบ Chi-square มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P‹0.001) การศึกษาครั้งนี้จะสามารถช่วยเป็นแนวทางการจัดบริการบุคคลปัญญาอ่อนเพิ่มขึ้น และเป็นประโยชน์ในโครงการค้นหาผู้ป่วยในชุมชนของกรมสุขภาพจิตต่อไป

Keywords: mental retardation, rehabilitation, service, MR, การฟื้นฟูสมรรถภาพ, บริการ, ปัญญาอ่อน, ฟื้นฟูสมรรถภาพ, ภาวะปัญญาอ่อน, โรคปัญญาอ่อน

ปีที่เผยแพร่/Year: 2539

Address: โรงพยาบาลราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 201390002013

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -