ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ไพบูลย์ วงษ์ใหญ่, สุกัญญา กิจเครือ

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาความรู้ เจตคติ และแรงสนับสนุนทางครอบครัวของผู้ป่วยจิตเวช : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงพยาบาลนิติจิตเวช

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 18-20 กันยายน 2539

รายละเอียด / Details:

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความรู้ เจตคติ และแรงสนับสนุนทางครอบครัวผู้ป่วยจิตเวช โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของญาติผู้ป่วยนอกกับญาติผู้ป่วยใน ในเรื่องของความรู้ เจตคติ และแรงสนับสนุนทางครอบครัวผู้ป่วยจิตเวช ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ในเรื่องของความรู้ เจตคติ และแรงสนับสนุนทางครอบครัวผู้ป่วยจิตเวช ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ลักษณะทางครอบครัว ส่วนใหญ่มีโครงสร้างเป็นลักษณะของครอบครัวเดี่ยวการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของสมาชิกเป็นไปในด้านดี บุคคลที่ให้การดูแลความเป็นอยู่ภายในครอบครัว คือ แม่ และภรรยา อยู่ในระดับสูงสุด ร้อยละ 45.7 รองลงมาคือ ลุง ป้า ยาย ย่า ร้อยละ 18.5 ส่วนเรื่องความสัมพันธ์ของสมาชิกภายในครอบครัวไม่ดี มีเรื่องทะเลาะกันเป็นประจำ มากที่สุดถึงร้อยละ 64.1 รองลงมามีสมาชิกที่ชอบเจ้ากี้เจ้าการในเรื่องของคนอื่นร้อยละ 26.1 ส่วนเรื่องรายได้ของครอบครัวอยู่ในลักษณะพอมีพอใช้ การศึกษาของสมาชิกภายในครอบครัวส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี 2. ความรู้สุขภาพจิต ญาติผู้ป่วยจิตเวชมีความรู้สุขภาพจิตอยู่ในระดับดี สูงถึงร้อยละ 70 ในเรื่องที่ว่าผู้ป่วยควรงดดื่มสุราและใช้สารเสพติดทุกชนิด ในเรื่องควรมีการพูดคุยกับผู้ป่วยจะเป็นการเสริมกำลังใจและความมั่นใจให้เกิดกับผู้ป่วย รู้ว่าผู้ป่วยเมื่อขาดยานาน ๆ มักมีอาการกำเริบขึ้นอีก รู้เรื่องการฝึกควบคุมอารมณ์จะทำให้คนเรามีจิตใจเข้มแข็ง เรื่องผู้ป่วยต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่งทุกวัน อย่าหยุดยาเอง เรื่องการปรึกษาคนใกล้ชิดเพื่อระบายความอึดอัดใจเป็นสิ่งที่ควรกระทำ แต่ยังมีญาติผู้ป่วยจิตเวชที่ไม่รู้เรื่องเลยสูงถึงร้อยละ 90 เกี่ยวกับเรื่องที่ว่าถ้ามีเรื่องที่ไม่สบายใจไม่สามารถนำไปบอกผู้อื่นได้ เรื่องที่คิดว่าผู้ป่วยไม่สามารถนำไปบอกผู้อื่นได้ เรื่องที่คิดว่าผู้ป่วยไม่สามารถจะอยู่ร่วมกับสังคมได้ คิดว่าผู้ป่วยไม่ควรเข้าสังคมใด ๆ กับผู้อื่น เพราะจะทำให้เกิดความวุ่นวาย เรื่องที่คิดว่าที่รักษาจนสามารถกลับบ้านได้แล้วควรให้นอนอย่างเดียว อีกเรื่องคือคิดว่าผู้ป่วยสุขภาพจิตดีหมายถึงผู้ที่มีอารมณ์ขัน ยิ้มได้ตลอดเวลา ส่วนการเปรียบความแตกต่างของญาติผู้ป่วยนอกกับญาติผู้ป่วยในเรื่องความรู้ เจตคติ และแรงสนับสนุนทางครอบครัวของญาติผู้ป่วยจิตเวช พบว่าญาติผู้ป่วยนอกที่ดูแลผู้ป่วยหลังจำหน่ายกลับบ้านแล้วสามารถใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัวได้นานเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป โดยไม่ต้องพาผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำ มีความรู้ สุขภาพจิตดีกว่าญาติผู้ป่วยในที่ยังไม่จำหน่ายกลับบ้าน หรือจำหน่ายกลับบ้านแล้วแต่ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวได้ไม่ถึง 6 เดือนต้องกลับมารักษาซ้ำ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. เจตคติของญาติผู้ป่วยต่อผู้ป่วยจิตเวช พบว่าญาติผู้ป่วยจิตเวชมีเจตคติต่อผู้ป่วยจิตเวชอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย 2.23 จากคะแนนแต้ม 57 คิดเป็นร้อยละ 7.6 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของญาติผู้ป่วยนอกกับญาติผู้ป่วยใน ในเรื่องเจตคติที่มีต่อผู้ป่วย พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องของเจตคติ 4. แรงสนับสนุนทางครอบครัวของผู้ป่วยจิตเวชต่อผู้ป่วยจิตเวช พบว่าครอบครัวผู้ป่วยจิตเวชมีแรงสนับสนุนทางครอบครัวอยู่ในระดับต่ำ โดยมีค่าเฉลี่ย 1.29 จากคะแนนเต็ม 15 คิดเป็นร้อยละ 48.9 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างญาติผู้ป่วยนอกกับญาติผู้ป่วยในพบว่าไม่มีความแตกต่างกันในเรื่อง ของแรงสนับสนุนทางครอบครัว 5. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้สุขภาพจิต เจตคติต่อผู้ป่วยจิตเวช และแรงสนับสนุนทางครอบครัว โดยเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างญาติผู้ป่วยนอกที่ดูแลผู้ป่วยหลังจำหน่ายกลับบ้านแล้วสามารถใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัวได้นานเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป โดยไม่ต้องพาผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำ มีความรู้สุขภาพจิตดีกว่าญาติผู้ป่วยใน ซึ่งยังไม่จำหน่ายกลับบ้านหรือจำหน่ายกลับบ้านแล้วแต่ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวได้ไม่ถึง 6 เดือน ต้องกลับมารักษาซ้ำ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย

Keywords: เจตคติ, ครอบครัวของผู้ป่วยจิตเวช, ครอบครัว, ผู้ป่วยจิตเวช, สุขภาพจิต, จิตวิทยา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2539

Address: โรงพยาบาลนิติจิตเวช กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 201390002016

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -