ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ทวี ตั้งเสรี

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาความถูกต้องของแบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 2 สุขภาพจิตกับยาเสพติด ปี 2546. หน้า 185. (วันที่ 19-21 สิงหาคม 2546 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร)

รายละเอียด / Details:

การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาความถูกต้องของแบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ขอบเขตการวิจัย ทำการศึกษาจากผู้รับบริการ ณ ตึกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ และผู้ที่อยู่อาศัย ณ ตำบลท่ากระเสริม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาความตรงตามเนื้อหา โดยการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ครั้ง พัฒนาแบบคัดกรองฉบับร่างและนำไปทดสอบภาษาที่ใช้โดยการทำ Focus group 10 กลุ่ม จาก 5 ภาค ของประเทศ ระยะที่ 2 เป็นการวิเคราะห์คำถาม อำนาจจำแนก การวิเคราะห์ปัจจัย และศึกษาความตรงตามสภาพ โดยเก็บข้อมูลจากผู้มารับบริการที่ตึกผู้ป่วยนอก จำนวน131 คน กลุ่มตัวอย่างแต่ละคนจะถูกสัมภาษณ์ด้วยแบบคัดกรอง 10 ข้อ และเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคว่าเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายหรือไม่โดยจิตแพทย์ใช้ MINI(MINI INTERNATIONAL NEUROPSYCHIATRIC INTERVIEW) ฉบับภาษาไทยช่วยในการวินิจฉัยโรค ระยะที่ 3 การหาค่าความสอดคล้องในการวินิจฉัยโรคของจิตแพทย์ 2 ท่าน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้มารับบริการที่ตึกผู้ป่วยนอก จำนวน 36 คน โดยพบจิตแพทยทั้ง 2 ท่าน ทีละคน แพทย์แต่ละท่านไม่ทราบประวัติเก่าของผู้ป่วย ระยะที่ 4 การศึกษาความถูกต้องของเครื่องมือโดยการเก็บข้อมูลจากประชาชนที่อยู่อาศัย ณ ตำบลท่ากระเสริม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 715 คน กลุ่มตัวอย่างแต่ละคนจะถูกสัมภาษณ์ด้วยแบบคัดกรอง และผู้ที่มีคะแนนตั้งแต่ 1 คะแนนขึ้นไปพบจิตแพทย์ทุกราย สำหรับคะแนน 0 คะแนน จะแบ่งตามกลุ่มอายุ และจะสุ่มเข้าพบแพทย์ เพียงร้อยละ 30 ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล พฤษภาคม 2545-มิถุรนายน 2546 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย Sensitivity, Specificity, PPV, NPV, Accuracy rate, Prevalence ฯลฯ สรุปผลการวิจัย 1) แบบคัดกรองมี 4 องค์ประกอบ คือ 1. Pessimistic 2. Suicidal Intention 3. Loss 4. Alcohol use มีคำถาม 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.76 มีอำนาจจำแนกระหว่างคนปกติและผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายแตกต่างกันที่ p‹0.001 และค่า cut off point ที่ใช้ในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อเข้าพบแพทย์ในการศึกษาในชุมชน คือ 1) คะแนนขึ้นไป (Sensitity 90.7%) 2) ความสอดคล้องในการวิจัยโรคตรงกันของจิตแพทย์ 2 ท่าน มีค่า Kappa statistic = 0.78 (p<0.001) 3) สำหรับ cut off point ที่เหมาะสมของแบบคัดกรองฉบับนี้รวมทั้งค่าความไว ความจำเพาะ คุณค่าการทำนายผลบวกและผลลบ ความถูกต้องของการทดสอบ และความชุกของโรคใน การศึกษา ณ ตำบลท่ากระเสริม จะนำเสนอในที่ประชุมต่อไป ข้อเสนอแนะ เป็นแบบคัดกรองที่ใช้ในการคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายที่สะดวกและง่ายต่อการนำไปใช้ช่วยคัดกรอง กลุ่มเสี่ยงตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้ ซึ่งจะช่วยป้องกันการสูญเสียชีวิตของผู้ที่อยู่ในกลุ่มเหล่านี้

Keywords: แบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย, แบบคัดกรอง, ฆ่าตัวตาย, ภาวะเสี่ยง, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต

Code: 00000077

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -