ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ธงชัย ทวิชาชาติ, นันทิกา ทวิชาชาติ, อรพรรณ เมฆสุภะ

ชื่อเรื่อง/Title: การสำรวจทางระบาดวิทยาของความผิดปกติทางจิตและความรู้ เจตคติ ทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิตของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน 2541

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของความผิดปกติทางจิต ต่าง ๆ ได้แก่ โรคจิต โรคซึมเศร้า วิตกกังวล การฆ่าตัวตาย ลมชัก ปัญญาอ่อน และการติดยาและสารเสพติดของประชาชนในกรุงเทพมหานคร และ KAP เกี่ยวกับสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางจิต วิธีการ ศึกษาในเชิง Descriptive Cross sectional, Community Survey, Multiple random sampling technic, Sample size 2,948 รายที่มีอายุระหว่าง 15-60 ปี โดยใช้แบบสัมภาษณ์ Screening and Diagnostic Test for Mental disorder 5 ชุด นำมาวิเคราะห์ความชุก (Prevalence) ของความผิดปกติทางจิตและวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) ของตัวแปร KAP ด้วย SPSS สถิติที่ใช้การพรรณนาพื้นฐาน จำนวน ร้อยละ X,S,D, Chi-square, Correlation coefficient และ Regression analysis ผลที่ได้ จากการศึกษาประชากร 2,948 ราย เป็นชาย 950 ราย, หญิง 1,988 ราย คิดเป็นร้อยละ 32.2 และ 67.8 ค่าเฉลี่ยของอายุ 34 ปี พบว่าในชุดคัดกรองมีผู้ที่คาดว่าจะมีความผิดปกติทางจิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ร้อยละ 21.3 ปัญญาอ่อน ร้อยละ 1.8 โรคประสาท ร้อยละ 15.4 โรคจิตต่าง ๆ ร้อยละ 9.6 มีอาการของอารมณ์ครื้นเครง ผิดปกติร้อยละ 14.3 อาการย้ำคิดย้ำทำร้อยละ 7.5 ความคิดและกระทำการฆ่าตัวตายร้อยละ 7.1 โรคลมชัก ร้อยละ 1.3 ใช้ยา/สารเสพติดชนิดต่าง ๆ ร้อยละ 19.2 (ใช้เกิน 5 ครั้ง) ดื่มสุรา ร้อยละ 37.9 ในชุดวินิจฉัยโรค พบความผิดปกติทางจิตที่วินิจฉัยได้คือ จิตเภท ร้อยละ 1.3 ความผิดปกติของอารมณ์ชนิดคลุ้มคลั่งร้อยละ 9.3 ซึมเศร้า ร้อยละ 1 โรควิตกกังวลร้อยละ 10.9 ติดยาและสารเสพติดชนิดต่าง ๆ (Absed and dependence) ร้อยละ 11.2 สาร ยา ที่นิยมใช้บ่อยได้แก่ บุหรี่ รองลงมาคือ กัญชา การติดสุราเป็น Abused ร้อยละ 10.2 และ dependence ร้อยละ 8.2 ส่วน KAP พบว่ามีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตดีมาก เจตคติ พบว่าอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี พฤติกรรมการปฏิบัติตน ยังมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการส่งเสริมป้องกัน ผลการสำรวจเชิงคุณภาพ พบว่าผลกระทบเด่นชัดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการคือ ปัญหาการดื่มสุราของพ่อ-แม่ และปัญหาด้านเศรษฐกิจ ข้อเสนอแนะ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาทางระบาดวิทยาที่ได้มาตรฐานโดยเครื่องมือที่ใช้ ได้ทดสอบและวินิจฉัยโรคหรือความผิดปกติเฉพาะอย่างได้ ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานวางแผนนโยบาย และการปฏิบัติงานเกี่ยวกับสุขภาพจิตได้ น่าจะมีการศึกษา ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อให้ได้ภาพรวมของการศึกษาทางระบาดวิทยาของปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนของประเทศไทย

Keywords: ระบาดวิทยา, ความชุก, ความผิดปกติทางจิต, จิตเวช, โรคซึมเศร้า, วิตกกังวล, การฆ่าตัวตาย, ลมชัก, ปัญญาอ่อน, เจตคติ, สุขภาพจิต, ประชาชน, ยาเสพติด, สารเสพติด, epidemiology, prevalence, psychiatry, depression, suicide, mental retard, epilepsy, drug abuse

ปีที่เผยแพร่/Year: 2541

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 201410004061

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -