ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: นางอัจฉราภรณ์ ละเอียดดี

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียนต่อการบำบัดรักษายาเสพติดแอมเฟตามีน (The Study and Development Participating for Matrix Program in School.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 2, สุขภาพจิตกับยาเสพติด ปี 2546, หน้า 84 (วันที่ 19-21 สิงหาคม 2546 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร)

รายละเอียด / Details:

การศึกษาการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียนต่อการบำบัดรักษายาเสพติดแอมเฟตามีน มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์และประเมินศักยภาพการมีส่วนร่วมของโรงเรียนในด้านการเฝ้าระวังและสนับสนุนการบำบัดรักษานักเรียนที่เสพ/ติดสารเสพติดแอมเฟตามีน สนับสนุนให้ผู้เสพเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนการให้กำลังใจ ติดตามระยะฟื้นฟูสรรถภาพหลังการบำบัดรักษา เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research Development) ในลักษณะการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างโรงเรียนที่มีรายงานผลการตรวจปัสสาวะในนักเรียนเป็นบวกมากกว่า ร้อยละ 1 และกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพในอัตราสูง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณฺ์คณะกรรมการต้านยาเสพติดในโรงเรียน โดยการสัมภาษณ์ เจาะลึกบุคคลที่สำคัญและเกี่ยวข้อง ข้อมูลจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามในคณะกรรมการ ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสานฝันวัยสดใสห่างไกลยาเสพติดของโรงเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน อยู่ในเกฑณ์สูงคิดเป็นร้อยละ 88.3 ด้านการประชาสัมพันธ์โครงการให้แก่ผู้ปกครองและชุมชน คิดเป็นร้อยละ 68.3 ส่วนด้านการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ การค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพ คณะกรรมการได้มีส่วนร่วมดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 78.3 การประสานงานระหว่างโรงเรียน ชุมชน ผู้ปกครอง อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 80.0 ด้านการบำบัดรักษา คิดเป็นร้อยละ 50.0 การทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพในโรงเรียน โดยแนะนำชักชวนให้เข้าสู่การบำบัดรักษา คิดเป็นร้อยละ 55.0 การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน โดยการค้นหา คัดกรองผู้ติดยา/ผู้เสพ มีการดำเนินการอย่างรอบคอบมากขึ้น พร้อมทั้งเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของนักเรียน และผู้ปกครองมาร่วมในกิจกรรม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่นักเรียน การประสานงานด้านยาเสพติดกับผู้ปกครองควรใช้สื่อบุคคล ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการบำบัดรักษาควรจัดกิจกรรมกลุ่มในผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจในขั้นตอนการบำบัดรักษา การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกระดับในโรงเรียนจะช่วยลดแรงกดดัน และผลกระทบโดยตรงต่อทีมงานของครูในโรงเรียน รวมทั้งเป็นแรงสนับสนุนทางสังคมให้คณะทำงานคลายความกังวลจากภาวะคุกคามของผู้เสพและผู้ค้ายาเสพติด ข้อเสนอแนะ ภาคส่วนต่างๆควรได้รับการพัฒนาแนวคิดและทักษะในการทำงานร่วมกัน โดยปรับลักษณะงานเป็นรูปแบบของการวิจัยและพัฒนาในพื้นที่รับผิดชอบ เรยนรู้ร่วมกันของชุมชน และสร้างเสริมประสบการณ์การทำงานในชุมชน

Keywords: ยาเสพติด, ยาบ้า, แอมเฟตามีน, โรงเรียน, matrix program, amphetamine

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย

Code: 0000008

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -