ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สมัย ศิริทองถาวร, อัมพร หัสศิริ, ณัจฐาพร เครือฝั้น, สมนึก อนันตวรวงศ์, จินดา รัตนอังกูร, รัชนี สมบุตร, พริ้งพงศ์ ไชยซาววงศ์, ประภาศรี รองกาศ

ชื่อเรื่อง/Title: การประเมินผลโครงการค้นหาเพื่อให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้แก่เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในเขตบริการโรงเรียนในสังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดลำพูน

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน 2541

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อทราบว่า 1) การดำเนินงานตามโครงการบรรลุวัตถุประสงค์อย่างไร 2) มีผลกระทบเกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามโครงการอย่างไร วิธีการ ใช้วิธีการศึกษาดังนี้ 1) ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการ 2) จากการสัมภาษณ์แบบพลั้งลึกในกลุ่มที่ดำเนินงาน (Group Indepth Interview Discussion) 3) จากแบบสอบถามประเมินความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูการศึกษาพิเศษ ครูที่ได้รับการอบรม 4) จากโครงการช่วยเหลือทางการศึกษาเด็กอย่างต่อเนื่องของสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดลำพูน ผลที่ได้ (1) ปี พ.ศ. 2537 ครูที่ได้รับการชี้แจงเรื่องการค้นหาเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญาสามารถค้นพบเด็กฯ จำนวน 132 คน คิดเป็นร้อยละ 0.15 ของประชากรวัยแรกเกิด - 14 ปี ของจังหวัดลำพูน (2) พ.ศ. 2537 - 2538 ครูในสังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดที่ได้รับการอบรมจำนวน 165 คน ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการมีโครงการฯ นี้ทั้งเรื่องระยะเวลาการจัดอบรมและเนื้อหาที่เป็นทฤษฎีและปฏิบัติ (3) พ.ศ. 2538 ครูสามารถใช้คู่มือประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญาเด็กอายุ 2-15 ปีได้ โดยศึกษาเปรียบเทียบการใช้คู่มือระหว่างครูและทีมงานของศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่ให้การอบรม พบว่าที่ความเชื่อมั่นที่ 95 ไม่มีความแตกต่างกัน (4) พ.ศ. 2537-2540 พบว่า (4.1) ประชากรร้อยละ 85.7 เห็นด้วยกับการใช้คู่มือประเมินความสามารถทางเชาว์ปัญญา มีเพียง .2 % ที่ไม่เห็นด้วย 14.7 ยังไม่แน่ใจ (4.2) ร้อยละ 90.7 เห็นว่าโครงการนี้มีประโยชน์ต่อโรงเรียนร้อยละ 69.8 เห็นว่าเด็กได้รับการดูแลเอาใจใส่มากขึ้น (4.3) ร้อยละ 60.5 เห็นด้วยที่เด็กได้เรียนร่วมในชั้นเรียนปกติ (4.4) สิ่งที่ต้องการสนับสนุน คือ ต้องการคู่มือการจัดการเรียนการสอน ร้อยละ 53.7 ต้องการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นร้อยละ 42.9 ต้องการแนวทางการประเมินผลให้ชัดเจน ร้อยละ 26 สรุปและข้อเสนอแนะ โครงการควรจะดำเนินงานในพื้นที่อื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลว่า (1) เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญาได้รับการดูแลในเรื่องการศึกษามากขึ้น (2) มีความสอดคล้องกับนโยบาย และเป้าหมายของการศึกษาและงานส่งเสริมสุขภาพจิตและการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (3) ควรจัดระบบการติดตามโครงการฯ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่องสุขภาพจิตและพัฒนาการเด็กร่วมด้วย โดยอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายในชุมชน

Keywords: เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา, การค้นหาเพื่อให้ความช่วยเหลือ, ภาวะปัญญาอ่อน, ปัญญาอ่อน, MR, mental retardation, IQ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2541

Address: ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กภาคเหนือ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 201410004093

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -