ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: รัชนี ดังโพนทอง, จรีย์ สีต์วรานนท์, นิรมัย คุ้มรักษา

ชื่อเรื่อง/Title: ผลของโปรแกรมการให้การเสริมแรงทางสังคมและการเพิกเฉยที่มีผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าว และพฤติกรรมเหมาะสมของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน 2541

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมให้การเสริมแรงทางสังคมและการเพิกเฉยที่มีต่อพฤติกรรมก้าวร้าวและพฤติกรรมเหมาะสมของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง วิธีการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพศชายอายุระหว่าง 13-18 ปี ระดับเชาวน์ปัญญา 35-49 ไม่มีความพิการซ้ำซ้อน ตึกชาย 4 โรงพยาบาลราชานุกูลกรุงเทพมหานคร จำนวน 5 คน ซึ่งคัดเลือกมาจากการเปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย แบบแผนการทดลองของการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของซีดแมนซึ่งเป็นการศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล กระบวนการแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ขั้นพื้นฐาน เป็นระยะที่สังกัดเพื่อบันทึกข้อมูลที่เป็นจริงนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐาน ระยะที่ 2 ขั้นการใช้การเสริมแรงทางสังคม คือให้การเสริมแรงทางสังคมกับพฤติกรรมที่เหมาะสมและให้การเพิกเฉยต่อพฤติกรรมก้าวร้าว ระยะที่ 3 ขั้นหยุดยั้งคือไม่ให้การเสริมแรงต่อพฤติกรรมที่เหมาะสม ระยะที่ 4 ขั้นการนำการเสริมแรงทางสังคมในระยะที่ 2 กลับมาใช้อีกครั้ง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละของพฤติกรรมก้าวร้าวและพฤติกรรมเหมาะสมของผู้รับการทดลองแต่ละระยะ ผลการวิจัยครั้งนี้ปรากฎให้เห็นว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวลดลงและพฤติกรรมที่เหมาะสมเพิ่มขึ้นในระยะการให้การเสริมแรงทางสังคมต่อพฤติกรรมที่เหมะสมและเพิกเฉยต่อพฤติกรรมก้าวร้าว ผลที่ได้ 1. พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาทั้ง 5 คน มีความถี่ลดลงในระยะที่ 2 และระยะที่ 4 คือ ระยะให้การเสริมแรงทางสังคมต่อพฤติกรรมที่เหมาะสมและให้การเพิกเฉยต่อพฤติกรรมก้าวร้าว 2. พฤติกรรมที่เหมาะสมของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาทั้ง 5 คน มีความถี่เพิ่มขึ้นในระยะที่ 2 และระยะที่ 4 คือ ระยะให้การเสริมแรงทางสังคมต่อพฤติกรรมที่เหมาะสมและให้การเพิกเฉยต่อพฤติกรรมก้าวร้าว ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการนำหลักการปรับพฤติกรรมโดยการใช้การเสริมแรงทางสังคมมาใช้ลดพฤติกรรมก้าวร้าว และเพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมในกลุ่มฝึกทักษะดำรงชีวิตประจำวัน เพื่อเด็กจะได้รับการเรียนรู้เพิ่ม ู้ิ่่ขึ้น ไม่มีเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรบกวนกลุ่ม 2. ควรศึกษาเกี่ยวกับการเสริมแรงประเภทอื่น ๆ เพื่อเปรียบเทียบว่าจะได้ผลแตกต่างกับการเสริมแรงทางสังคมหรือไม่อย่างไร

Keywords: พฤติกรรม, ก้าวร้าว, จิตวิทยา, violence, violent behavior, psychology

ปีที่เผยแพร่/Year: 2541

Address: โรงพยาบาลราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 201410004102

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -