ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สมชาย จักรพันธุ์ ม.ล. และคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: การพัฒนาแบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเองสำหรับประชาชนไทยด้วยคอมพิวเตอร์

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน2541

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง ในการประเมินระดับและความรุนแรงของความเครียด ลักษณะแนวโน้มบุคลิกภาพที่สัมพันธ์กับความเครียด รวมทั้งหาแนวทางในการจัดการกับความเครียดและบุคลิกภาพที่มีความสัมพันธ์กับความเครียด เพื่อจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของแบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเองสำหรับประชาชนไทย วิธีการ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้วิธี Known group technique คือ กลุ่มที่มีความเครียดจำนวน 427 คน (ระยะแรกจำนวน 99 คน ระยะที่ 2 จำนวน 328 คน) กลุ่มที่ไม่มีความเครียด จำนวน 362 คน ทั้งสองกลุ่มมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิง และมีการกระจายในทุกช่วงอายุ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชุด คือ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญสาขาจิตเวชศาสตร์และจิตวิทยา แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเองสำหรับประชาชนไทยฉบับที่ 1 และ 2 ผลที่ได้ แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเองสำหรับประชาชนไทยด้วยคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยส่วนที่วัดความเครียดและส่วนที่วัดแนวโน้มลักษณะบุคลิกภาพ รวมทั้งผลการประเมินพร้อมแนวทางในการจัดการกับความเครียดและลักษณะแนวโน้มบุคลิกภาพที่สัมพันธ์กับความเครียด ค่า ความเชื่อถือได้ในส่วนที่วัดความเครียดที่มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า = 0.86 ในส่วนที่วัดแนวโน้มบุคลิกภาพที่มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าระหว่าง 0.57-.79 ค่าจุดตัดของความเครียด = 17 คะแนนค่าความไวร้อยละ 70.4 ค่าความจำเพาะร้อยละ 64.6 ค่าจุดตัดของแนวโน้มลักษณะบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล = 8/9 คะแนน ค่าจุดตัดของแนวโน้มลักษณะบุคลิกภาพแบบซึมเศร้า = 8/9 คะแนน ค่าจุดตัดแนวโน้มลักษณะบุคลิกภาพหวาดกลัว = 7/8 คะแนน ค่าจุดตัดของแนวโน้มลักษณะบุคลิกภาพแบบย้ำคิดย้ำทำ = 10/11 คะแนน และค่าจุดตัดของแนวโน้มลักษณะบุคลิกภาพแบบเกิด อาการเจ็บป่วยทางกายเมื่อเกิดความเครียด = 8/9 คะแนน การแบ่งระดับความเครียดของแบบประเมินฯ นี้มี 5 ระดับ คือ ความเครียดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติอย่างมาก ความเครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อย ความเครียดสูงกว่าปกติปานกลาง และความเครียดสูงกว่าปกติมาก ด้านแนวโน้มลักษณะบุคลิกภาพในการวิจัยนี้พบว่าแนวโน้มลักษณะบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล แบบซึมเศร้า และแบบเกิดอาการเจ็บป่วยทางกายเมื่อมีความเครียด มีผลในเชิงบวกต่อความเครียด ส่วนข้อคำถามที่ใช้วัดแนวโน้มลักษณะบุคลิกภาพแบบหวาดกลัวและแบบย้ำคิดย้ำทำ แม้จากผลการวิเคราะห์จะพบว่าเป็นตัวแปรที่ไม่มีผลต่อความเครียด แต่คณะผู้วิจัยก็ยังคงข้อคำถามไว้ในแบบประเมินฯ เพื่อประโยชน์ในการวิจัยต่อไปสำหรับกลุ่มที่มีความเครียดกลุ่มอื่น ข้อเสนอแนะ แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเองสำหรับประชาชนไทยด้วยคอมพิวเตอร์ ควรนำไปใช้กับประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป และมีความสามารถในการอ่าน

Keywords: ความเครียด, เครียด, คอมพิวเตอร์, แบบประเมิน, บุคลิกภาพ, จิตวิทยา, stress

ปีที่เผยแพร่/Year: 2541

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 20141000492

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -