ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: มานิดา สิงหัษฐิต, อัญชลี ศิลาเกษ, ศักดา ขำคม, จิรังกูร ณัฐรังสี

ชื่อเรื่อง/Title: การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและช่วยเหลือผู้มีภาวะเสี่ยงและพยายามฆ่าตัวตาย

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 5, พ.ศ. 2542

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อการฆ่าตัวตาย ปัจจัยเกื้อหนุนและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและช่วยเหลือผู้มีภาวะเสี่ยง และพยายามฆ่าตัวตาย ผู้วิจัยได้ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างชุมชนปลอดจากการฆ่าตัวตายและชุมชนเสี่ยงหรือมีการฆ่าตัวตาย เมือปี พ.ศ. 2541 ในเขตพื้นที่จังหวัดหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเก็บข้อมูลได้จากการสำรวจพื้นที่และข้อมูลทั่วไปของชุมชน โดยการสนทนากลุ่ม การสังเกต การสัมภาษณ์ วิเคราะห์เอกสาร โดยใช้ระยะเวลาศึกษาในชุมชนทั้ง 2 เป็นเวลา 28 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกต แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ประเด็นคำถามทั้งที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างในการสนทนากลุ่มตามกรอบแนวคิดในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการบรรยายและตีความ ผลที่ได้ 1. ด้านองค์ประกอบทางกายภาพของชุมชนปลอดจากการฆ่าตัวตาย มีความพร้อมมากกว่าชุมชนเสี่ยงหรือมีการฆ่าตัวตาย อาทิ โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล การคมนาคมและการติดต่อสื่อสาร คุณภาพการศึกษา ในขณะที่ชุมชนเสี่ยงหรือมีการฆ่าตัวตาย มีความผันผวนในสถาบันการศึกษา และมีโครงสร้างที่ต้องพึ่งพาผลผลิตสาขาเกษตรกรรมมากกว่าชุมชนปลอดจากการฆ่าตัวตาย 2. ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย เกิดจากความขัดแย้งภายในครอบครัว ปัญหาเรื่องการเรียน ผิดหวังจากความรัก ปัญหาจากการติดเชื้อเอดส์ ยาเสพติด 3. ปัจจัยเกื้อหนุนที่ส่งผลในด้านการป้องกันช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะเสี่ยงและพยายามฆ่าตัวตาย คือ สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตที่สำคัญที่สุด คือ บุตร มารดา คู่สมรส ญาติพี่น้อง และเพื่อนตามลำดับ 4. ไม่มีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกัน และช่วยเหลือผู้มีภาวะเสี่ยงและพยายามฆ่าตัวตาย เนื่องจากเห็นว่าการฆ่าตัวตายเป็นเรื่องปัจเจกบุคคล และไม่สามารถประเมินภาวะเสี่ยงของบุคคลที่มีความคิดจะฆ่าตัวตายได้ สรุปและข้อเสนอแนะ 1. การมีส่วนร่วมในการป้องกันและช่วยเหลือผู้มีภาวะเสี่ยง และพยายามฆ่าตัวตายในชุมชน จะต้องมีองค์การที่รับผิดชอบงานด้านสุขภาพจิต เป็นผู้ประสานงาน รวมทั้งผลักดันให้คนในชุมชนได้ตระหนักในปัญหาการฆ่าตัวตายจนเกิดกระบวนการผลิด วางแผน เพื่อการป้องกันการฆ่าตัวตายในชุมชน โดยไม่ยึดติดรูปแบบหรือวิธีการแบบเดิม เช่น การสอน การแจกเอกสาร เป็นต้น 2. ควรมีการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อหารูปแบบการดูแลช่วยเหลือผู้มีภาวะเสี่ยงและพยายามฆ่าตัวตายในชุมชน โดยกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้ควรอยู่ในลักษณะผสมผสานกับการดำเนินชีวิตหรือกลุ่มต่าง ๆ ที่ชุมชนมีอยู่แล้ว

Keywords: ฆ่าตัวตาย, ชุมชน พยายามฆ่าตัวตาย, ชุมชนเสี่ยง, จิตวิทยา, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, suicide, psychiatry, attempt suicide, community, psychology

ปีที่เผยแพร่/Year: 2542

Address: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 201420005159

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -