ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: กอบโชค จูวงษ์, อัตถพงษ์ ถนิมพาสน์

ชื่อเรื่อง/Title: การทำร้ายผู้อื่นของวัยรุ่นในภาคใต้

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 5, พ.ศ. 2542

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบและสภาพทั่วไปของวัยรุ่นในภาคใต้ที่ทำร้ายผู้อื่น และสาเหตุการทำร้ายผู้อื่น โดยศึกษาจากกลุ่มวัยรุ่นอายุ 13-25 ปี ที่กระทำผิดกฎหมายและถูกศาลพิจารณาตัดสินคดีให้อยู่ในการดูแลและควบคุมของสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก และเยาวชน จังหวัดสุราษฎร์ธานีและสงขลา 96 ราย ใช้เครื่องมือทดสอบบุคลิกภาพประเภท SPM3 และแบบทดสอบสติปัญญาประเภท SPM วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมSPSS ผลที่ได้ ผลการศึกษาวัยรุ่นเพศชายอายุเฉลี่ย 18 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา อาศัยอยู่ในเขตชนบท สุขภาพอนามัยด้านร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ติดสิ่งเสพติด คือ บุหรี่ สุรา กัญชา เฮโรอีน กาวและยาบ้า สิ่งเสพติดที่นิยมมาก คือบุหรี่ รองลงมา คือสุรา โดยใช้บุหรี่เป็นประจำ ระยะเวลาใช้เฉลี่ย 2 ปี ส่วนสุราไม่บ่อยนัก ระยะเวลาใช้โดยเฉลี่ย 1 ปี สภาพครอบครัว มีบิดามารดาอยู่ด้วยกัน ร้อยละ 57.3 ที่เหลือร้อยละ 42.7 บิดา-มารดาแยกกันอยู่และเสียชีวิต จำนวนพี่น้องโดยเฉลี่ย 4 คน สมาชิกในครอบครัวโดยเฉลี่ย 6 คน ร้อยละ 30.2 เป็นลูกคนโตมีที่พักอาศัยเป็นของตนเอง สมาชิกในครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 53.1 รองลงไปค้าขายร้อยละ 82.3 มีรายได้พอใช้จ่าย ความเป็นอยู่ในครอบครัวมีความรักใคร่ห่วงใย ร้อยละ 86.4 มีบางครอบครัวมีการเลี้ยงดูแบบตำหนิ ดุด่า ลงโทษ ไม่สนใจ ปล่อยปละละเลย ไม่ว่ากล่าวตักเตือน ร้อยละ 17.7 แสดงความต้องการความรักความอบอุ่นจากบิดามารดา การดำเนินชีวิตของบิดามารดามักไม่มีเวลาให้ลูก เนื่องจากประกอบอาชีพมีการดำเนินชีวิตที่ช่วยพ่อแม่ทำงาน บางคนมีลักษณะชอบทะเลาะ ชกต่อย เที่ยวตามแหล่งต่าง ๆ สิ่งสำคัญที่พบร้อยละ 12.5 และร้อยละ 6.3 มีพี่และพ่อได้กระทำความผิดหรือต้องโทษในคดีพยายามฆ่า ร้อยละ 7.3 ทำร้ายร่างกาย เคยมีประวัติทำร้ายผู้อื่นโดยเฉลี่ย 3 ครั้ง (สูงสุด 20 ครั้ง) ลักษณะความผิดเป็นคดีฆ่าผู้อื่น โดยร้อยละ 53.1 ใช้อาวุธปืนหรือแทงด้วยมีด, ร้อยละ 51.1 กระทำร่วมกับเพื่อนหลายคน ผู้ถูกทำร้ายส่วนมากเสียชีวิตในขณะทำร้าย วัยรุ่นมีอารมณ์โกรธและไม่พอใจ ร้อยละ 63.5 ถูกยั่วยุมาแล้วหลายครั้ง ร้อยละ 44.8 มีสาเหตุมาจากคำพูดดูถูกเหยียดหยาม ด่าว่าให้เจ็บใจ และถูกข่มเหงทำร้าย ร้อย 31.3 คิดว่าเป็นการพลาดพลั้งไม่ได้ตั้งใจร้อยละ 26.1 เป็นการป้องกันตนเอง ลักษณะบุคลิกภาพ ร้อยละ 41.7 เป็นแบบมั่นคง เก็บตัว ร้อยละ 76 มีสติปัญญาอยู่ในระดับปกติ (IQ = 90 – 109) สรุปและข้อเสนอแนะ รัฐควรให้การสนับสนุนสถาบันครอบครัวให้ตระหนักถึงการมีเวลาใกล้ชิดลูก ความผูกพัน การอบรมเลี้ยงดู การมีเหตุผล การใช้ความสามารถทางสติปัญญาเผชิญกับสิ่งเร้าที่กระตุ้น รวมทั้งวัฒนธรรมท้องถิ่น

Keywords: การทำร้ายผู้อื่นของวัยรุ่นในภาคใต้, ความรุนแรง, ก้าวร้าว, ทำร้ายผู้อื่น, วัยรุ่น, จิตวิทยา, violence, adolescent, psychology

ปีที่เผยแพร่/Year: 2542

Address: โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 201420005172

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -