ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ภัคนพิน กิตติรักษนนท์ และคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: ความเครียดและสุขภาพจิตของคนไทย ปี 2539

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 5, พ.ศ. 2542

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อหาความชุกของความเครียด ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนาชนิดตัดขวาง ณ จุดหนึ่งของเวลา ประชากรของเวลา ประชากรตัวอย่าง 10,775 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบตามจังหวัดต่าง ๆ รวม 76 จังหวัด เครื่องมือที่ใช้เป็น GHQ-24 ที่มีค่า Reliability ค่า K=0.88 และเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ผลที่ได้ ประชากรที่ศึกษาเป็นชาย 43.9% เป็นหญิง 56.1% อายุระหว่าง 12-60 ปี มีความเครียด 67.6 % หญิงเครียดมากกว่าชาย ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความเครียด คือ ผู้ที่มีอายุอยู่ในวัยทำงาน การศึกษาอยู่ในช่วงมัธยมศึกษาถึงปริญญาตรี ผู้ที่มีรายได้ไม่พอใช้ และรายได้ต่ำ เครียดมากกว่าผู้มีรายได้สูง สาเหตุที่ทำให้เครียดได้แก่ปัญหาการงานและอาชีพ ปัญหาการเรียนและการศึกษา และปัญหาการเงินและเศรษฐกิจ วิธีแก้ไขความเครียดส่วนใหญ่ใช้วิธีการหาความบันเทิง และครอบครัวตามลำดับ ผู้ที่ช่วยเหลือ คือ เพื่อน รองลงมา คือ พ่อ แม่ และคู่สมรส การมีน้ำใจช่วยเหลือกัน ให้กำลังใจกันและจริงใจต่อกัน จะช่วยลดความเครียดได้ ผู้ที่เครียดต้องการให้รัฐบาล แก้ปัญหาเศรษฐกิจ เป็นอันดับแรก รองลงไป คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาสังคม อาการของความเครียดที่แสดงออกมา ได้แก่ คิดมากเรื่องเงินทอง การเรียน การงาน ส่วนที่อาการทางกายที่พบมากได้แก่ ปวดศีรษะ ขี้ลืม นอนหลับยาก และไม่มีสมาธิ สรุปและข้อเสนอแนะ การศึกษานี้ได้ดำเนินการทั่วประเทศ และศึกษาก่อนประเทศไทยจะประสบภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ข้อมูลความเครียดที่เป็นฐานของการเฝ้าระวังความเครียดในปีต่อมา

Keywords: ความเครียด, สุขภาพจิตของคนไทย, ความชุก, ระบาดวิทยา, ภาวะเครียด, สุขภาพจิต, เครียด, stress, mental health, epidemiology, prevalence

ปีที่เผยแพร่/Year: 2542

Address: กองแผนงาน กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 201420005179

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -