ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ทัศนีย์ ทัศนิยม, ทวีวรรณ บุปผาถา

ชื่อเรื่อง/Title: การพัฒนาแบบประเมินความสามารถต่อสู้คดีในผู้ป่วยนิติจิตเวช

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 5 , พ.ศ. 2542

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้แบบสัมภาษณ์การประเมินความสามารถต่อสู้คดีกับคัดกรองผู้ป่วยนิติจิตเวชไปต่อสู้คดี ซึ่งผู้วิจัยพัฒนามาจากแบบประเมินความสามารถต่อสู้คดี The McGarry Competence Assessment Instrument ซึ่งพิจารณาความสามารถต่อสู้คดีของจำเลย 13 ด้าน แบบสัมภาษณ์นี้พัฒนาโดยสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ กลุ่มผู้ป่วยนิติจิตเวชที่ศาลส่งรักษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 จำนวน 15 คน กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มผู้ต้องขังที่กระทำผิดคดีอาญาและนำเข้ากระบวนการพิจารณาคดี จำนวน 15 คน และนำแบบสัมภาษณ์มาหาค่าความเที่ยงตรง (Reliability) ความตรง (Validity) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักเกณฑ์แต่ละด้านกับความสามารถต่อสู้คดี และศึกษาตัวทำนายความสามารถต่อสู้คดีในผู้ป่วยนิติจิตเวช ผลที่ได้ ผลการวิจัยพบว่า แบบสัมภาษณ์การประเมินความสามารถต่อสู้คดีในผู้ป่วยนิติจิตเวชนี้ มีความเที่ยงตรงทั้งฉบับเท่ากับ .85 มีค่าความตรงของแบบสัมภาษณ์ตามคุณสมบัติของเครื่องมือใช้ในการวินิจฉัยหรือคัดกรอง โดยใช้วิธีทดสอบเชิงระบาดวิทยาได้แก่ ค่าความไวร้อยละ 79 ค่าความจำเพาะ 50 เปอร์เซ็นต์ หลักเกณฑ์ที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถต่อสู้คดีของผู้ป่วยนิติจิตเวช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .720) ได้แก่ความเข้าใจในกระบวนการศาล ความตระหนักรู้ในข้อกล่าวหาและลำดับเหตุการณ์ของคดี ความสามารถในการประเมินบทบาทของบุคคลต่าง ๆ ในห้องพิจารณาคดี กลุ่มตัวทำนายความสามารถต่อสู้คดีของผู้ป่วยนิติจิตเวชมีทั้งสิ้น 10 หลักเกณฑ์คือ ความเข้าใจในกระบวนการศาล ความสามารถในการประเมินบทบาทของบุคคลต่าง ๆ ในห้องพิจารณาคดี ความตระหนักรู้ความหนักเบาของโทษที่จะได้รับ ความตระหนักรู้ในข้อกล่าวหาและความสามารถในการลำดับเหตุการณ์ของคดี ความสามารถในการป้องกันตนเองตามกฎหมายและคุณภาพของการให้ปากคำกับทนาย ความสามารถในการเบิกความได้ตรงประเด็น ระดับของพฤติกรรมที่ไม่สามารถควบคุม ความสามารถในการประเมินผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้น ความสามารถในการโต้แย้งข้อกล่าวหาในการสืบพยานฝ่ายโจทก์ มีการแสดงให้เห็นถึงแรงจูงใจที่จะต่อสู้คดีหรือรับสารภาพ ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายความสามารถต่อสู้คดีของผู้ป่วยนิติจิตเวชได้ถึงร้อยละ 51.9

Keywords: child, child psychiatry, depress, depression, depressive, psychiatry, psychology, social, จิตวิทยา, จิตเวช, จิตเวชเด็ก, จิตเวชศาสตร์, ซึม, ซึมเศร้า, เด็ก, ภาวะซึมเศร้า, โรคซึมเศร้า, เศร้า, สังคม, อาการซึมเศร้า

ปีที่เผยแพร่/Year: 2542

Address: โรงพยาบาลนิติจิตเวช กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 201420005196

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -