ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ดำรง แวอาลี

ชื่อเรื่อง/Title: ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพการบริการจิตเวชในโรงพยาบาลเครือข่าย พบส 12/2

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 2 สุขภาพจิตกับยาเสพติด ปี 2546. หน้า 217-218. (วันที่ 19-21 สิงหาคม 2546 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร)

รายละเอียด / Details:

เนื่องจากปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทุกๆ ที่นับวันยิ่งมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จากรายงานประจำปีของโรงพยาบาลยะลา มีผู้มารับบริการในแผนกจิตเวชเพิ่มมากขึ้นทุกปี จาก 3,180 ราย ในปี 2540 เพิ่มเป็น 8,235 ราย ในปี 2544 ซึ่งในจำนวนผู้มารับบริการนั้น ส่วนหนึ่งมาจากจังหวัดอื่นๆ ใกล้เคียง หลายรายที่ต้องเดินทางมากกว่า 200 กิโลเมตร เนื่องจากมีการให้บริการจิตเวชที่มีจิตแพทย์เฉพาะที่โรงพยาบาลยะลา 1 คน ดูแลจำนวนประชากร 1.7 ล้านคน ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นโรคหรือภาวะที่สามารถให้บริการได้โดยเฉพาะแพทย์ทั่วไป หรือแพทย์สาขาอื่นๆ รวมทั้งพยาบาลที่มีความรู้ในด้านการให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อสอดคล้องกับโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรับบริการจิตเวชพื้นฐานในโรงพยาบาลใกล้บ้าน ดังนั้นทางโรงพยาบาลยะลาโดยกลุ่มงานจิตเวช จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศัยภาพการบริการจิตเวชในโรงพยาบาลเครือข่าย พบส. 12/2 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาศัยภาพของรพท./รพช. ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเบื้องต้น 2. เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชสามารถไปรับบริการในโรงพยาบาลใกล้บ้าน 3. เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 4. เพื่อลดความแออัดของผู้ป่วยจิตเวชในโรงพยาบาลศูนย์ยะลา 5. เพื่อพัฒนาระบบส่งต่อทั้งไปและกลับในส่วนผู้ป่วยจิตเวช กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ 1. จัดประชุมสัมมนาหาแนวทางในการดำเนินงาน/การส่งต่อผู้ป่วย ณ ห้องประชุม สสจ. ยะลา ปัตตานี นราธิวาส วันที่ 24, 29 เมษายน 2545 และ 1 พฤษภาคม 2545 ตามลำดับ 2. จัดประชุมวิชาการของแพทย์และเภสัชกร ใน รพท./รพช. ในเขต พบส. 12/2 วันที่ 19 มิถุนายน 2545 วิทยากร นพ. ดำรง แวอาลี โรงพยาบาลศูนย์ยะลา โดยเน้นเรื่องการวินิจฉัยและรักษาโรคที่สำคัญ 3. จัดประชุมวิชาการสำหรับพยาบาล ใน รพท./รพช. ในเขต พบส 12/2 วันที่ 20 มิถุนายน 2545 วิทยากรจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 4. สำรวจยาของจิตเวชของโรงพยาบาลทั้ง 30 แห่ง ทำให้ได้บัญชียาของทุกโรงพยาบาล 5. ทำแบบฟอร์มการส่งกลับผู้ป่วยจิตเวชอย่างละเอียด รวมถึงแผนการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน 6. ดำเนินการส่งผู้ป่วยกลับ เริ่มตั้งแต่ มกราคม 2546 7. นิเทศติดตามและเยี่ยมเยียนในโรงพยาบาลต่างๆ ทั้ง 3 จังหวัด ผลที่ได้จากโครงการ 1. แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร ในรพท./รพช. มัศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้น 2. รพท./รพช. ใน 3 จังหวัดเป้าหมาย มียาจิตเวชเพิ่มมากขึ้น 3. มีคลินิกจิตเวชเกิดขึ้นใน รพท./รพช. จำนวน 14 แห่ง 4. ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลใกล้บ้าน 5. ลดภาระค่าใช้จ่ายทั้ง direct และ indirect cost ในการเดินทางมาโรงพยาบาลยะลา 6. เกิดเครือข่ายในการบริการจิตเวชใน รพศใ/รพท./รพช. ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส 7. มีการประสานงานและปรึกษาเรื่องผู้ป่วยทางโทรศัพท์ ระหว่างแพทย์ในเครือข่ายกับจิตแพทย์ 8. การ refer ผู้ป่วยจิตเวชมายังโรงพยาบาลยะลาลดลง สรุป จากการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพการบริการจิตเวชในโรงพยาบาลเครือข่าย พบส 12/2 ในปีงบประมาณ 2545-2546 โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนในเครือข่าย พบส. 12/2 สามารถเปิดให้บริการคลินิกจิตเวช 14 แห่ง จากจำนวนโรงพยาบาลชุมชน 30 แห่ง สามารถส่งผู้ป่วยกลับไปรับบริการจิตเวชในโรงพยาบาลใกล้บ้าน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงปัจจุบัน จำนวน 154 คน ซึ่งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาพบแพทย์ของผู้ป่วยและญาติ ทำให้ผู้ป่วยและญาติได้รับความสะดวกในการเดินทาง ไม่ต้องเดินทางไกล ไม่เสียรายได้จากการหยุดงาน เพราะโรงพยาบาลอยู่ใกล้บ้าน และได้รับการดูแลที่ครอบคลุมจากโรงพยาบาลใกล้บ้านลดความแออัดของผู้ป่วยจิตเวชในโรงพยาบาลศูนย์ยะลา จากจำนวนผู้ป่วยนัดเฉลี่ย 70 คนต่อวัน ปัจจุบันยอดผู้ป่วยเฉลี่ย 40 คนต่อวัน จำนวนผู้ป่วย refer มาโรงพยาบาลยะลาลดลง และมีการประสานงานระหว่าง รพศ./รพท./รพช. และ เกิดเครือข่ายในการบริการจิตเวชอย่างเป็นรูปแบบ

Keywords: โรคทางจิตเวช, บริการจิตเวช, ปัญหาสุขภาพจิต, แผนกจิตเวช, เครือข่าย, โรงพยาบาลยะลา,จิตเวช, จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลศูนย์ยะลา

Code: 00000088

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -